ความสัมพันธ์ระหว่างการทำงานเป็นทีม การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ ความผูกพันต่อองค์การของพนักงาน และประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงาน ระดับปฏิบัติการ บริษัทขนส่งและโลจิสติกส์ ในเขตท่าเทียบเรือแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี กรณีศึกษา บริษัท ABC จำกัด

ผู้แต่ง

  • ภัทราพร มูลสถาน สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาอุตสาหกรรม คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย
  • ฐิติมา ไชยะกุล สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาอุตสาหกรรม คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย

คำสำคัญ:

การทำงานเป็นทีม, การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ, ความผูกพันต่อองค์การ, ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับการทำงานเป็นทีม การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ ความผูกพันต่อองค์การของพนักงาน และประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ (2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการทำงานเป็นทีม ที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงานระดับปฏิบัติการ (3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ ที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงานระดับปฏิบัติการ และ (4) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของความผูกพันต่อองค์การที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจโดยใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นพนักงานระดับปฏิบัติการบริษัทขนส่งและโลจิสติกส์ ในเขตท่าเทียบเรือแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี บริษัท ABC จำกัด จำนวน 218 คน โดยแบ่งตามหน่วยงานให้บริการทั้งหมด 6 หน่วยงาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์การวิเคราะห์ถดถอยแบบพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า การทำงานเป็นทีม (ด้านการติดต่อสื่อสาร) ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ (ด้านความมั่นคงในการทำงาน ด้านสภาพการทำงาน และด้านการปฏิบัติงาน) ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ความผูกพันต่อองค์การของพนักงาน (ความผูกพันด้านจิตใจ ความผูกพันด้านบรรทัดฐาน) ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

ณัฐปคัลป์ ยุทธารักษ์ และ รุจิกาญจน์ สานนท์. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมของพนักงานระบบผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ในเขตกรุงเทพมหานคร. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง).

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา. (2565). แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรมปี 2565-2567: ธุรกิจบริการขนส่งสินค้าทางถนน. สืบค้น 3 มกราคม 2565. จาก https://www.krungsri.com/th/research/industry/industry-outlook/logistics/road-freight-transportation/io/road-freight-transportation-2022-2024.

ปรียาพร สันติวานิช และ จุฑามาศ ทวีไพบูลย์วงษ์. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การสนับสนุนองค์การและความยุติธรรมในองค์การของพนักงานระดับปฏิบัติการโรงงานผลิตอาหาร ในจังหวัดชลบุรี ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาลัยนครราชสีมา ครั้งที่ 7” (น. 228-232). นครราชสีมา: วิทยาลัยนครราชสีมา.

พิชชาภา เกาะเต้น. (2563). ผลกระทบของการทำงานเป็นทีม ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง และ การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การที่ส่งผลต่อความผูกพัน และประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัท โตโยต้านครธน จำกัด. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).

วาสนา เภอแสละ, ประพันธ์ ชัยกิจอุราใจ และ สุรี พฤกษ์ทวีศักดิ์ (2561). การทำงานเป็นทีมที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์การและประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 29(3), 132-142.

สมพงษ์ เพชรี. (2561). การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของพนักงานระดับปฏิบัติการ บริษัท ไทยโอบายาชิ จำกัด. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี).

สุภาพร โทบุตร. (2563). ปัจจัยการทำงานเป็นทีมที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรภาครัฐในจังหวัดปราจีนบุรี. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง).

อมรัตน์ แสงสาย. (2558). ปัจจัยด้านองค์กรและการรับรู้การสนับสนุนจากองค์กร ที่มีผลต่อความผูกพันองค์กรของพนักงานเจนเนอเรชั่นวาย: กรณีศึกษา บริษัท เอเชียน สแตนเลย์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี).

Allen, N. J., & Meyer, J. P. (1990). The measurement and antecedents of affective, continuance and normative commitment to the organization. Journal of occupational psychology, 63(1), 1-18.

Eisenberger, R., Huntington, R., Hutchison, S., & Sowa, D. (1986). Perceived organizational support. Journal of Applied Psychology, 71, 500–507.

Plowman, G. E., & Peterson, E. (1960). Business organization and management. Queensland: Irwin.

Woodcock, M., & Francis, D. (1994). Teambuilding Strategy. Hampshire: Gower Publishing.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-09-13