ผลกระทบของการใช้บัญชีบริหารต่อความสำเร็จในการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย
คำสำคัญ:
บัญชีบริหาร, ความสำเร็จในการดำเนินงาน, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของการใช้บัญชีบริหารต่อความสำเร็จในการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย จำนวน 367 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย สถิติพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานวิเคราะห์ผลกระทบของการใช้บัญชีบริหารต่อความสำเร็จในการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย ด้วยสถิติการวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบพหุคูณ และการวิเคราะห์ความถดถอยแบบพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า ด้านการวางแผน ด้านการสั่งการและแรงจูงใจ ด้านการควบคุม และด้านการตัดสินใจ มีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อความสำเร็จในการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ 0.715, 0.714, 0.866 และ 0.815 ตามลำดับ นอกจากนี้ตัวแปรที่ส่งผลกระทบต่อความสำเร็จในการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย คือ ด้านการวางแผน ด้านการสั่งการและแรงจูงใจ ด้านการควบคุม และด้านการตัดสินใจ มีระดับนัยสำคัญทางสถิติ
References
กชกร เฉลิมกาญจนา. (2557). การบัญชีบริหาร (การบัญชีต้นทุน 2). (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2565). ซักซ้อมแนวทางในการปฏิบัติในการบันทึกบัญชีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. สืบค้น 2 มกราคม 2566 จาก https://www.nakhonmaesotcity.go.th/web/images/agencies_file_document/F00078.pdf.
กัญฐณา ดิษฐ์แก้ว. (2558). คุณภาพของข้อมูลทางบัญชีบริหาร นวัตกรรมทางการบริหาร การเพิ่มผลผลิตและ ความได้เปรียบทางการแข่งขันของผู้ประกอบการโรงสีข้าวในเขตภาคเหนือของประเทศไทย. วารสารวิทยาการการจัดการสมัยใหม่สาขาการบัญชี, 8(1), 47-66.
คมกฤช ภาวศุทธินนท์ และ สุภาภรณ์ คงสวัสดิ์. (2554). การบัญชีบริหาร : บทบาทสำคัญในฐานะ เครื่องมือสำหรับผู้นําองค์กรยุคใหม่. วารสารนักบริหาร, 31(3), 125-129.
ชูศักดิ์ เที่ยงตรง. (2560). การบริหารการปกครองท้องถิ่นไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ดวงกมล จิตภักดี. (2560). ผลกระทบของการใช้บัญชีบริหารต่อผลการดำเนินงานทางการเงินของบริษัทในอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเลภาคใต้. (บัญชีมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์).
บุญชม ศรีสะอาด. (2555). หลักการวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวิริยาสาส์น.
ผกามาศ มนต์ไธสง, อัครวิชช์ รอบคอบ และ ณรัฐวรรณ มุสิก. (2564). ผลกระทบของประสิทธิผลของระบบสารสนเทศทางการบริหารส่วน. ท้องถิ่นอิเล็กทรอนิกส์ e-LAAS ที่มีต่อคุณภาพรายงานทางการเงินของเทศบาลในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 13(1), 28-48
ศิราพร แซ่ตั้ง. (2562). ผลกระทบของการประยุกต์ใช้การบัญชีบริหารสมัยใหม่ต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานของธุรกิจ SME จังหวัดนครราชสีมา. (บัญชีมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน).
ศุภลักษณ์ สมโภชน์. (2557). ความต้องการของผู้ประกอบการโรงสีข้าวในเขตภาคเหนือต่อการใช้ ข้อมูลทางการบัญชีบริหาร. (บัญชีมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร).
สิรินพร คำเป็ง. (2557). ความต้องการของผู้ประกอบการส่งออกลำไยในเขตภาคเหนือต่อการใช้ข้อมูลทางการบัญชีบริหาร. (บัญชีมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).
หยาดพิรุฬห์ สิงหาด และ ประเวศ เพ็ญวุฒิกุล. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างการประยุกต์ใช้ข้อมูลการบัญชีบริหารกับความสำเร็จในการดำเนินงานของธุรกิจ SMEs ในเขตภาคใต้. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 11(2), 373-383.
อรสา มั่นสกุล. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้ข้อมูลทางบัญชีและประสิทธิภาพการดำเนินงาน กรณีศึกษาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในภาคใต้. (บัญชีมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์).
Aaker, D. A., Kumar, V., & Day, G. S. (2008). Marketing research. (9th edition). Delhi: John Wiley & Sons.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.