การเปรียบเทียบความสามารถการอ่านและเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างที่เรียนด้วยวิธีการสอนแบบ Picture Word Inductive Model (PWIM) กับวิธีการสอนปกติ

ผู้แต่ง

  • ณริณฐ์พัชร คงแสงจันทร์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ประเทศไทย
  • เด่นดาว ชลวิทย์ ภาควิชาการสอนภาษาไทย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ประเทศไทย

คำสำคัญ:

อ่านสะกดคำ, เขียนสะกดคำ, สอนจากภาพ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบความสามารถอ่านสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างที่เรียนด้วยวิธีการสอนแบบ PWIM กับการสอนปกติ (2) เปรียบเทียบความสามารถเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างสอนแบบ PWIM กับการสอนปกติ (3) เปรียบเทียบความสามารถอ่านสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการสอนแบบ PWIM ระหว่างก่อนและหลังเรียน 4) เปรียบเทียบความสามารถด้านการเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการสอนแบบ PWIM ระหว่างก่อนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดไทร จำนวน 60 คน โดยเลือกแบบเจาะจง แบ่งออกเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม จำนวนกลุ่มละ 30 คน เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูล คือ 1) แผนการสอนแบบ PWIM และการสอนปกติอย่างละ 8 แผน 2) แบบประเมินความสามารถสะกดคำ 3) แบบประเมินความสามารถเขียนสะกดคำ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบค่าทีแบบ Dependent Samples t-test และ Independent Samples t-test ผลการศึกษา พบว่า ความสามารถอ่านสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนแบบ PWIM สูงกว่านักเรียนที่เรียนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ความสามารถเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนแบบ PWIM สูงกว่านักเรียนที่เรียนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ความสามารถอ่านสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนแบบ PWIM หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ความสามารถเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนแบบ PWIM หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กนกพร จันทะกล. (2563). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านและการเขียน ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการอ่านและการเขียนจากภาพ. (การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).

ณัฐพงศ์ เชื้อเพชร และ ยุรวัฒน์ คล้ายมงคล. (2561). สภาพและแนวทางแก้ไขปัญหาการอ่านสะกดคำและเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 13(3), 82-95.

ทัศนีย์ ศุภเมธี. (2542). การสอนภาษาไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันราชภัฏธนบุรี.

พิริยา หาญบำรุงธรรม. (2565). การพัฒนาหนังสือการ์ตูนโดยใช้ Picture Word Inductive Model เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนต้น. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 5(14), 22-35.

สุนิสา มามีสุข. (2564). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษโดยใช้การจัดการเรียนรู้ แบบ PICTURE WORD INDUCTIVE MODEL ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. Journal of Modern Learning Development, 6(5), 12-26.

สุพัตรา ศรีธรรมมา และ อุบลวรรณ ส่งเสริม. (2563). การพัฒนาความสามารถในการอ่านและการเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยการ จัดการเรียนรู้แบบ PWIM ร่วมกับแผนผังความคิด. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 12(1), 266-280.

อิศเรศ พิพัฒน์มงคลพร และ วิไล พิพัฒน์มงคลพร. (2558). การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ พิคเจอร์เวิร์ด Picture Word Inductive Model. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร, 13(1), 17-22.

Calhoun, E. F. (1999). Teaching beginning reading and writing with the picture word inductive model. Virginia: ASCD.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-05