ผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรมครูผู้สอนในการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มสำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ศูนย์การศึกษาพิเศษ ส่วนกลาง กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • วุฒิชัย ใจนะภา สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษาและการให้คำปรึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประเทศไทย
  • ณัฐพล มีแก้ว สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษาและการให้คำปรึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประเทศไทย
  • สมพร หวานเสร็จ สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษาและการให้คำปรึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประเทศไทย

คำสำคัญ:

การศึกษาพิเศษ, การให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม, ครู, เด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ, หลักสูตรฝึกอบรม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรมครูผู้สอนในการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มสำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ และ (2) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของครูผู้สอนที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรมการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มสำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ใช้รูปแบบการวิจัยแบบแผนการทดลองแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนและหลังอบรม (The One-Group Pretest-Posttest Design) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจงครูผู้สอนที่ปฏิบัติงานช่วยเหลือระยะแรกเริ่มในศูนย์การศึกษาพิเศษ ส่วนกลาง ซึ่งเป็นบุคลากรใหม่หรือเป็นบุคลากรที่ย้ายมาดำรงตำแหน่งใหม่ไม่เกิน 3 เดือน จำนวน 30 คน ระยะเวลาในการฝึกอบรม จำนวน 30 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจในการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มฯ แบบวัดเจตคติของครูผู้สอนต่อเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ และแบบประเมินความพึงพอใจของครูที่มีต่อการฝึกอบรม ภายหลังจากการฝึกอบรมเสร็จสิ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการศึกษาพบว่า ผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรมครูผู้สอนในการช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ภายหลังการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีทักษะการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มอยู่ในเกณฑ์ดีมาก มีเจตคติหลังการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ระดับความพึงพอใจที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรมการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มของครูผู้สอนอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านที่มีความพึงพอใจเฉลี่ยสูงสุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ ด้านเนื้อหาของหลักสูตร ด้านกระบวนการเรียนรู้ในการอบรม และด้านการประยุกต์ความรู้ไปใช้ในการทำงาน

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). กำหนดประเภทและหลักเกณฑ์ของคนพิการทางการศึกษา พุทธศักราช 2552. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

เกียรติภูมิ มะแสงสม. (2561). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูด้านการจัดการเรียนรู้แบบคละชั้นในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร).

คมสรรค์ ภูทอง. (2565). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครู สถานศึกษาอาชีวศึกษาในการพัฒนาบทเรียนบนอุปกรณ์พกพาตามรูปแบบระบบนิพนธ์บทเรียน. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรมพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 13(3), 86-95.

คุณาพร วรรณศิลป์. (2564). รูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 21(4), 195–212

จารุวรรณ ประดา, ณิราวรรณ กุลวงศ์, ปรารถนา พรมวัง และ เบญจวรรณ ภูชัน. (2553). ผลการใช้โปรแกรมครอบครัวต่อการรับรู้สมรรถนะพฤติกรรมการดูแลของครอบครัวและพัฒนาการของผู้มีความบกพร่องทางพัฒนาการและสติปัญญา (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สถาบันราชานุกูล, กรมสุขภาพจิต, กระทรวงสาธารณสุข.

ชูชัย สมิทธิไกร. (2554). การฝึกอบรมบุคลากรในองค์กร Personnel Training in Organizations. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ดนยา อินจำปา, วิชิต สุรัตน์เรืองชัย และ ปริญญา ทองสอน. (2561). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการดูแลเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาสำหรับผู้ดูแลเด็ก ศูนย์การศึกษาพิเศษ. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 14(3), 195-208.

เนาว์มณี สุนทรโชติ. (2563). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูเพื่อใช้หลักสูตรเสริมรายวิชาประยุกต์ศิลป์ เสริมสร้างทักษะชีวิตและการทำงาน สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา ในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 10(2), 2556-267

ปราณี นามวิชัย, ณัฐฉณ ฟูเต็มวงศ์,ปริญญา ทองสอน และ วิชิต สุรัตน์เรืองชัย. (2564). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตในด้านการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน ชุมชนมัสยิดบ้านสมเด็จ กรุงเทพมหานคร. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 10(2), 458-472.

พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551. (17 พฤษภาคม 2556). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 130 ตอนที่ 42 ก. หน้า 1-4.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. (19 ธันวาคม 2545). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 119 ตอนที่ 123 ก. หน้า 16-21.

เพ็ชรี รูปะวิเชตร์. (2554). เทคนิคการจัดฝึกอบรมและการประชุม (Training and meeting techniques). กรุงเทพฯ: ดวงกมลพับลิชชิ่ง.

วีรภัทร ไม้ไหว. (2560). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนระดับประถมศึกษา โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 4(2), 1-9.

สมคิด บางโม. (2551). เทคนิคการฝึกอบรมและการประชุม. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.

สมชาย สังข์สี. (2550). หลักสูตรฝึกอบรมการพัฒนามาตรฐานการศึกษาด้านผู้เรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. (การศึกษาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

สมพร หวานเสร็จ. (2547). การพัฒนารูปแบบการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาโดยบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมของศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 9 จังหวัดขอนแก่น. (รายงานการวิจัย). ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 9, ขอนแก่น.

สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. (2551). คู่มือการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มเด็กพิการสำหรับโรงเรียนเฉพาะความพิการและศูนย์การศึกษาพิเศษ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. (2555). คู่มือการปฏิบัติงานของศูนย์การศึกษาพิเศษ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

สุภาภรณ์ บัณฑิต. (2559). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูปฐมวัยเพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์. (ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม).

สุรัญจิต วรรณนวล. (2564). การพัฒนาหลักสูตรเพื่อเสริมสร้างทักษะการดำรงชีวิตอิสระในบ้าน สำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา. (การศึกษาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

Canadas, L., Santos-Pastor, M. L. & Castejon, F. J. (2020). Physical education teachers’ competencies and assessment in professional practice. Apunts educacion fisica y deportes, 36(139), 33-41.

Cepeda, L. F. (2009). Effects of Participation in Inquiry Science Workshops and Follow-up Activities on Middle School Science Teachers Content Knowledge, Teacher-held Misconceptions and Classroom Practices. Denver: The Faculty of Natural Sciences and Mathematics University of Denver.

Hallahan D. P. & Kaufman J. M. (1999). Exceptional Children: Introduction to Special Education. Boston: Allyn and Bacon.

Heward William L. (2000). Exceptional Children: An Introduction for Special Education. USA: Prentice-Hall, Inc.

Krohn, A. (1999). An ethno cultural training model for graduate level school psychology students working with families of children with development disabilities: A pilot study. (Doctoral Dissertation, Psychology, The State University of New Jersey).

Ruiz, Y., Matos, S., Kapadia, S., Islam, N., Cusack, A., Kwong, S., & Trinh-Shevrin, C. (2012). Lessons learned from a community–academic initiative: The development of a core competency–based training for community–academic initiative community health workers. American journal of public health, 102(12), 2372-2379.

Shao, X. (2004). Teacher training and curriculum reform in Chinese agricultural schools. (Doctoral Dissertation, The Pennsylvania State University).

Viciana, J., & Mayorga-Vega, D. (2013). Effect of Internships on Pre-Service Teachers’conceptions of Planning İn Physical Education. European Scientific Journal, 9(19), 253-261.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-09-19