ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของระบบบริการจัดทำและนำส่งข้อมูลใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (E-Tax Invoice & E-Receipt) ของกรมสรรพากร

ผู้แต่ง

  • กฤติน หนุเจริญกุล เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ประเทศไทย
  • ปริณภา จิตราภัณฑ์ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ประเทศไทย

คำสำคัญ:

ปัจจัยความสำเร็จ, ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์, ตัวแบบสมการโครงสร้าง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของระบบบริการจัดทำและนำส่งข้อมูลใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (E-Tax Invoice & E-Receipt) ของกรมสรรพากร ด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณจากกลุ่มตัวอย่างผู้ใช้บริการระบบบริการจัดทำและนำส่งข้อมูลใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (E-Tax Invoice & E-Receipt) ของกรมสรรพากร จำนวน 313 ราย และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยตัวแบบสมการโครงสร้าง (Structural Equation Model: SEM) ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยด้านคุณภาพของระบบ ปัจจัยด้านการรับรู้ประโยชน์ และปัจจัยด้านการรับรู้ความง่ายในการใช้งาน เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงต่อความสำเร็จของระบบบริการจัดทำและนำส่งข้อมูลใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (E-Tax Invoice & E-Receipt) ของกรมสรรพากร โดยปัจจัยด้านคุณภาพของข้อมูลไม่มีอิทธิพลทางตรง แต่จะมีอิทธิผลทางอ้อมผ่านปัจจัยด้านการรับรู้ประโยชน์และปัจจัยด้านการรับรู้ความง่ายในการใช้งาน

References

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2564). ข้อมูลการจดทะเบียนนิติบุคคล 2564. สืบค้น 31 มกราคม 2565. จาก https://www.dbd.go.th/download/document_file/Statisic/2564/H26/H26_2021.pdf.

กรมสรรพากร. (2564). รายงานประจำปี 2563. สืบค้น 28 มกราคม 2565. จาก https://www.rd.go.th/fileadmin/download/annual_report/annual_report63.pdf.

กองบริหารการเสียภาษีอิเล็กทรอนิกส์, กรมสรรพากร. (2562). ภาพรวมการจัดทำและนำส่งข้อมูลใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์. สืบค้น 1 สิงหาคม 2564. จาก https://etax.rd.go.th/etax_staticpage/app/#/index/support/manual#top.

ภานุกร เตชะชุณหกิจ และ ศุภชาต เอี่ยมรัตนกูล. (2562). อิทธิพลการยอมรับเทคโนโลยีและคุณภาพบริการอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งผลต่อการใช้งานระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์. วารสารสมาคมนักวิจัย, 24(3), 306-321.

วัชรา โสรส. (2558). การประเมินผลความพึงพอใจของประชาชนต่อบริการอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ: กรณีศึกษา การใช้บริการยื่นแบบและชำระภาษีออนไลน์ของกรมสรรพากร. วารสารเศรษฐศาสตร์รามคำแหง, 1(1), 1-14.

สุธีกานต์ สุขโกมล. (2562). การยอมรับเทคโนโลยีที่มีผลต่อการใช้ระบบบริการจัดทำ และนำส่งข้อมูลใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์. (บัญชีมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต).

Bahari, A., Mus, A. R., & Mursalim, M. (2020). Perceived Ease, Benefits and Perceived Enjoyment of E-Invoice User Interests. Point of View Research Accounting and Auditing, 1(3), 33-42.

Bentler, P. M., & Chou, C. P. (1987). Practical issues in structural modeling. Sociological methods & research, 16(1), 78-117.

Punitha, A., & Chandra, P. (2017). Continuance intention of e-government service: a study of tax e-filing system in malaysia. (Doctoral dissertation, Universiti Utara Malaysia).

Puthur, J. K., Mahadevan, L., & George, A. P. (2016). Tax payer Satisfaction and Intention to Re-use Government site for E-filing. Indore Management Journal, 8(1), 46-59.

Ramdhony, D., Liébana‐Cabanillas, F., Gunesh‐Ramlugun, V. D., & Mowlabocus, F. (2022). Modelling the determinants of electronic tax filing services’ continuance usage intention. Retrieved 2 January 2023. from https://onlinelibrary.wiley.com/doi/pdf/10.1111/1467-8500.12559.

Sondakh, J. J. (2017). Behavioral intention to use e-tax service system: An application of technology acceptance model. European Research Studies Journal, 20(2A), 48-64.

Taro Yamane. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-19