ผลของการใช้เทคนิคการสอน KWL Plus ที่มีต่อความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

ผู้แต่ง

  • ณัฏฐนิช เยี่ยงมานิต ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ประเทศไทย
  • เพชร วิจิตรนาวิน ภาควิชาการสอนภาษาไทย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ประเทศไทย

คำสำคัญ:

เทคนิคการสอน KWL Plus, ความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ, นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลของการใช้เทคนิคการสอน KWL Plus ที่มีต่อความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค KWL Plus และเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างกลุ่มที่เรียนรู้ด้วยเทคนิคการสอน KWL Plus กับกลุ่มที่เรียนรู้ด้วยวิธีการเรียนการสอนแบบดั้งเดิม ประชากรกลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนรัตนศึกษา (นามสมมุติ) จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 2 ห้อง ห้องละ 40 คน รวมทั้งสิ้น 80 คน ที่ศึกษาในปีการศึกษา 2565 โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (purposive sampling) ผู้วิจัยกำหนดให้นักเรียนห้องที่ 1 เป็นกลุ่มทดลอง และนักเรียนห้องที่ 2 เป็นกลุ่มควบคุม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบวัดความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณซึ่งเป็นแบบทดสอบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค KWL Plus จำนวน 6 แผน แผนละ 1 คาบ คาบละ 50 นาที ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล จำนวน 2 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 คาบ รวมทั้งสิ้น 6 คาบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่านัยสำคัญของความแตกต่างโดยใช้สถิติทดสอบ t-test ผลการศึกษา พบว่า นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการสอน KWL Plus มีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค KWL Plus มีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณสูงกว่านักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบดังเดิมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรการพิมพ์แห่งประเทศไทย.

ณัฐนันท์ โม้พิมพ์. (2565). การจัดการเรียนรู้แบบ KWL-Plus ที่มีต่อความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. (การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).

ณัฐภัทร ปันปิน. (2564). ผลของการจัดกิจกรรมการสอนอ่านจับใจความโดยใช้เทคนิค KWL Plus ร่วมกับวิธีการอ่านแบบจับคู่ ที่มีต่อทักษะการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

ทิฆัมพร เด่นโยธา. (2565). ผลการใช้เทคนิค KWL Plus เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญวิชาภาษาไทยและเจตคติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 1(1), 32-40.

บุญเลี้ยง ทุมทอง. (2559). ทฤษฎีและการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: บริษัท ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น จำกัด.

วิจารณ์ พานิช. (2556) การเรียนรู้เกิดขึ้นอย่างไร. กรุงเทพฯ: บริษัท เอส.อาร์.พริ้นติ้งแมสโปรดักส์ จำกัด.

Cohen, L., Manion, L., & Morrison, K. (2018). Research Methods in Education. (8th ed). London: Routledge

Creswell, J. W. & Guetterman, T. C. (2019). Educational Research: Planning, Conducting, and Evaluating Quantitative and Qualitative Research. (6th ed.). New York: Pearson Education.

Denscombe, M. (2017). The Good Research for Small-Scale Social Research Projects. (6th ed.). London: Open University Press, McGraw-Hill Education.

Woolfolk, A. (2018). Educational Psychology. (14th ed.). Essex: Pearson Education.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-04