อิทธิพลของการรับรู้วัฒนธรรมองค์การ คุณภาพชีวิตในการทำงานและความไว้วางใจ ในผู้บังคับบัญชา ต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานระดับปฏิบัติการในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของนิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง จังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • สุรัสวดี ไพลดำ สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาอุตสาหกรรม คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย
  • ถิตรัตน์ พิมพาภรณ์ สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาอุตสาหกรรม คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย

คำสำคัญ:

การรับรู้วัฒนธรรมองค์การ, คุณภาพชีวิตในการทำงาน, ความไว้วางใจในผู้บังคับบัญชา, ผลการปฏิบัติงาน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาอิทธิพลของการรับรู้วัฒนธรรมองค์การที่มีต่อคุณภาพชีวิตในการทำงาน (2) เพื่อศึกษาอิทธิพลการรับรู้วัฒนธรรมองค์การที่มีต่อความไว้วางใจในผู้บังคับบัญชา (3) เพื่อศึกษาอิทธิพลของคุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีต่อผลการปฏิบัติงาน (4) เพื่อศึกษาอิทธิพลของความไว้วางใจในผู้บังคับบัญชาที่มีต่อผลการปฏิบัติงาน และ (5) เพื่อศึกษาอิทธิพลการรับรู้วัฒนธรรมองค์การที่มีต่อผลการปฏิบัติงาน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานระดับปฏิบัติการในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของนิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง จังหวัดชลบุรี จำนวน 305 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า การรับรู้วัฒนธรรมองค์การ ด้านการมุ่งบุคคล-การให้กำลังใจ ด้านการมุ่งความสำเร็จ ด้านการมุ่งไมตรีสัมพันธ์ มีอิทธิพลเชิงบวกต่อคุณภาพชีวิตในการทำงาน การรับรู้วัฒนธรรมองค์การด้านการมุ่งไมตรีสัมพันธ์มีอิทธิพลเชิงบวกต่อความไว้วางใจในผู้บังคับบัญชา คุณภาพชีวิตในการทำงานด้านโอกาสในความก้าวหน้าและความมั่นคงในงาน ด้านการบูรณาการทางสังคมในองค์การ ด้านการทำงานกับชีวิตส่วนตัว ด้านสภาพการทำงานที่มีความปลอดภัยและส่งเสริมสุขภาพมีอิทธิพลเชิงบวกต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงาน ส่วนด้านโอกาสในการพัฒนาศักยภาพของพนักงานและด้านค่าตอบแทนที่เพียงพอและเป็นธรรมมีอิทธิพลเชิงลบต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงาน ความไว้วางใจในผู้บังคับบัญชาด้านความเชื่อถือมีอิทธิพลเชิงบวกต่อผลการปฏิบัติงาน การรับรู้วัฒนธรรมองค์การด้านการมุ่งความสำเร็จ ด้านการมุ่งไมตรีสัมพันธ์ และด้านการมุ่งทำให้เป็นจริง มีอิทธิพลเชิงบวกต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงาน ซึ่งผลการศึกษาทั้ง 5 ประเด็นข้างต้นมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

กรมโรงงานอุตสาหกรรม. (2562). ข้อมูลโรงงาน. สืบค้น 9 เมษายน 2563. จาก https://www.diw.go.th/webdiw/s-data-fac.

ธนัญฉัตร เอี่ยมเพ็ชร์. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์การแรงจูงใจในการปฏิบัติงานกับคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา, 27(54), 320-342.

ปริมใจ โพธิ์รักษา และ ทิพทินนา สมุทรานนท์. (2561). ความไว้วางใจในหัวหน้างาน ความยึดมั่นผูกพันในงานพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การและผลการปฏิบัติงาน ของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลเอกชน. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 44(2), 249-273.

มณฑิกานต์ สุขขวัญและคณะ. (2560). อิทธิพลของการรับรู้วัฒนธรรมองค์การ ความพึงพอใจในการทำงานความผูกพันกับองค์การ ที่มีผลต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงาน: กรณีศึกษาโรงแรมในจังหวัดภูเก็ต. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์, 7(3), 109-121.

ศิริชัย ศรีประทุมวงศ์. (2554). ภาวะผู้นำ พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ องค์การแห่งการเรียนรู้ ความไว้วางใจในหัวหน้างาน และผลการปฏิบัติงาน ของพนักงานระดับปฏิบัติการในโรงงานอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์. (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).

สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (สฟอ.). (2563). ศูนย์ข้อมูลเชิงลึกอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์. สืบค้น 21 มิถุนายน 2563. จาก https://www.thaieei.com.

สราวรรณ์ เรืองกัลป์ปวงศ์, สมเดช รุ่งศรีสวัสดิ์, บัณฑิต ผังนิรันดร์ และ เกษมสันต์ พิพัฒน์ศิริศักดิ์. (2559). อิทธิพลของวัฒนธรรมขององค์การ รูปแบบการตัดสินใจ ความไว้วางใจและการถ่ายโอนความรู้ที่มีต่อการปฏิบัติงานของพนักงานระดับปฏิบัติการธนาคารพาณิชย์ไทย. สุทธิปริทัศน์, 30(พิเศษ), 292-305.

สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.). (2563). รายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม. สืบค้น 21 มิถุนายน 2563. จาก https://www.oie.go.th.

สิรินันท์ เกษมธาดาศักดิ์ และ วิโรจน์ เจษฎาลักษณ์. (2560). อิทธิพลของคุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ผ่านความผูกพันต่อองค์กรด้านจิตใจของพนักงานบริษัท ส. ขอนแก่นฟู้ดส์ จำกัด (มหาชน) อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ, 8(2), 65-80.

สุทธนา สุนทรสถิตย์. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบภาวะผู้นำ วัฒนธรรมองค์การ ความไว้วางใจในผู้บังคับบัญชา และความไว้วางใจในองค์การของบุคลากรเทศบาลนครนครปฐม. (รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).

อัครกิติต์ พัฒนสัมพันธ์. (2560). วัฒนธรรมองค์การที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานในกลุ่มบริษัทญี่ปุ่นในจังหวัดปราจีนบุรี. วารสารรังสิตบัณฑิตศึกษาในกลุ่มธุรกิจและสังคมศาสตร์, 2(2), 75-89.

Anwar, M., Chandrarin, G., Darsono, J. T., & Respati, H. (2017). Lecturer job performance study: Motivation, emotional intelligence, organizational culture and transformational leadership as antecedents with job satisfaction as an intervening. IOSR Journal of Business and Management, 19(6), 1-9.

Cooke, R. A., & Lafferty, J. C. (1989). Organizational culture inventory. Plymouth, MI: Human Synergistics.

Fitria, H. (2018). The Influence of Organizational Culture and Trust Through the Teacher Performance In ThePrivate Secondary School in Palembang. International Journal of Scientific & Technology Research, 7(7), 82-86.

Goodman, S. A., & Svyantek, D. J. (1999). Person–organization fit and contextual performance: Do shared values matter. Journal of vocational behavior, 55(2), 254-275.

Hamidi, Y., Mohammadi, A., Soltanian, A. R., & Mohammad Fam, I. (2016). Organizational culture and its relation with quality of work life in university staff. Iranian Journal of Ergonomics, 3(4), 30-38.

Juarsah, M. A., & Masdupi, E. (2019, September). Effect of Organizational Justice, Trust in Bosses and Job Satisfaction on Employee Performance at PT. PLN (Persero) Main Unit of West Sumatra Region. In Third Padang International Conference On Economics Education, Economics, Business and Management, Accounting and Entrepreneurship (PICEEBA 2019) (pp. 352-363). Atlantis Press.

Kawiana, I. G. P., Dewi, L. K. C., Martini, L. K. B., & Suardana, I. B. R. (2018). The influence of organizational culture, employee satisfaction, personality, and organizational commitment towards employee performance. International research journal of management, IT and social sciences, 5(3), 35-45.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30, 607-610.

Mishra, A.K. (1996). Organizational responses to crisis: The centrality of trust. In R.M. Kramer and T. Tyler. (eds.) Trust in Organizations. California: Sage Publications

Nir, A.-S. (2012). Inter-organizational culture, trust, knowledge sharing, collaboration and performance in supply chain of maritime industries: Examining the linkages. African Journal of Business Management, 6(19), 5927-5938.

Parven, A. & Awan, A. G. (2018). Effect of organizational justice, job satisfaction and trust on managers on employee performance. Global Journal of Management, Social Sciences and Humanities, 4(2), 259-279.

Putra, I. N. T. D., Ardika, I. W., Antara, M., Idrus, S., & Hulfa, I. (2021). The Effects of Quality of Work Life on Job Performance, Work Motivation, Work Ethics, Job Satisfaction, and Self-efficacy of Hotel Employees in Lombok. Asia-Pacific Journal of Innovation in Hospitality and Tourism, 10(3), 19-37.

Rai, R. (2015). Does Quality of Work Life Have Effect on Job Performance?-A Study on Indian IT Professionals. SAMVAD, 10, 93-99.

Walton, R. E. (1973). Quality of working life: what is it. Sloan management review, 15(1), 11-21.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-09-18