ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการสาธารณะของเทศบาลตำบลท่าสีดา อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • พชรอรรคพล พรรคพล มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ร้อยเอ็ด ประเทศไทย
  • สยามพร พันธไชย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ร้อยเอ็ด ประเทศไทย
  • พระครูสุตวรธรรมกิจ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ร้อยเอ็ด ประเทศไทย
  • พระพลากร สุมงฺคโล (อนุพันธ์) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ร้อยเอ็ด ประเทศไทย

คำสำคัญ:

ความพึงพอใจ, ประชาชน, การให้บริการสาธารณะ, เทศบาลตำบล, สังคหวัตถุธรรม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการบริการสาธารณะของเทศบาลตำบลท่าสีดา อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด (2) เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของประชาชนในการบริการการสาธารณะของเทศบาลท่าสีดา จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ (3) เพื่อเสนอแนวทางในการพัฒนาด้านการบริการสาธารณะของเทศบาลตำบลท่าสีดา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม ศึกษากลุ่มตัวอย่างจากประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลท่าสีดา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ ใช้วิธีสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 คน ผลการศึกษาพบว่า ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการสาธารณะของเทศบาลเทศบาลตำบลท่าสีดาอำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด โดยรวมอยู่ในระดับมาก ได้แก่ การให้บริการอย่างเสมอภาค การให้บริการอย่างทันเวลา การให้บริการอย่างพอเพียง การให้บริการอย่างต่อเนื่อง และการให้บริการอย่างก้าวหน้า การให้บริการสาธารณะ ตามหลักสังคหวัตถุธรรม โดยรวมอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ทาน ปิยวาจา อัตถจริยา และสมานัตตตา การเปรียบเทียบความพึงพอใจของประชาชน พบว่า โดยภาพรวมแตกต่างกัน ได้แก่ ประชาชนที่มีเพศ อายุ และอาชีพ มีความพึงพอใจแตกต่างกัน ส่วนระดับการศึกษาและรายได้ต่อเดือน มีความพึงพอใจไม่แตกต่างกัน แนวทางพัฒนาการบริการสาธารณะของเทศบาลตำบลท่าสีดา และความพึงพอใจของประชาชนตามหลักธรรมสังคหวัตถุธรรม ได้แก่ (1) อำนวยความสะดวก แนะนำให้คำปรึกษา เอาใจใส่ (2) การพูดจาไพเราะน่าฟัง สุภาพ มีความจริงใจ (3) มีน้ำใจ เอาใจใส่ ให้ความช่วยเหลืออย่างเท่าเทียมกัน และ (4) วางตัวอย่างเหมาะสม สุภาพเรียบร้อย

Author Biography

พชรอรรคพล พรรคพล, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ร้อยเอ็ด ประเทศไทย

ประธานหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ร้อยเอ็ด

References

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2546). แนวคิดคู่มือปฏิบัติงานสภาตำบล และ อบต.. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย.

กรีฑา คงพยัคฆ์ กันตภณ หนูทองแก้ว, เดชชาติ ตรีทรัพย์, พระณัฐพงษ์ ญาณเมธี และ พระครูวิรัตธรรมโชติ. (2563). การประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุธรรมในการให้บริการสาธารณะของเทศบาลตำบลจันดี อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(1), 29-41.

จรัส สุวรรณมาลา และคณะ. (2547). โครงการวิจัยเรื่องวิถีใหม่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: โครงการวิจัยสถาบันวิถีใหม่ท้องถิ่น คณะรัฐศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เทพนรินทร์ ทองสัมฤทธิ์. (2562). ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการให้บริการงานทะเบียนราษฎรของเทศบาลตำบลไม้เรียง อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารพุทธสังคมวิทยาปริทรรศน์, 4(2), 1-15.

เทศบาลตำบลท่าสีดา. (2565). ฐานข้อมูลประชากรตำบลท่าสีดา อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด. สืบค้น 25 มิถุนายน 2566. จาก http://www.taseeda.go.th/index.php?op=homecontent.

ธนวัฒน์ กิดา, สมยศ ปัญญามาก และ สหัทยา วิเศษ (2565). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการของเทศบาลตำบลเวียงพร้าว อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิจยวิชาการ, 5(3), 193-204.

นพดณ ปัญญาวีรทัต. (2563). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการของสำนักงานเทศบาลดอยสะเก็ด อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสังคมศาสตร์และศาสตร์รวมสมัย, 1(1), 20-28.

บัณฑิต เหมือนมี และ พิชิต รัชตพิบุลภพ. (2562). การให้บริการสาธารณะของเทศบาลนครนนบุรี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 5(1), 200-213.

พระธวัชชัย สนฺติธมฺโม (วรรณนาวิน). (2561). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนในเขตเทศบาลเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว. (รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. (2560). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 134 (ตอนที่ 40 ก) หน้า 74.

วรยุทธ์ สถาปนศุภกุล. (2564). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการบริการของเทศบาลตำบลสันปูเลย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสันติสุขปริทรรศน์, 2(2), 1-9.

สฤณี อาชวานันทกุล. (2560). คู่มือประเมินผลด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านของธุรกิจโรงแรม. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579). สืบค้น 25 มิถุนายน 2566. จาก http://www.nesdb.go.th/download/document/SAC/NS_Draftplan-Aug2021.pdf.

Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rdEd.). New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-22