การอนุรักษ์ป่าชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของบ้านหนองบั่ว อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • พระปภาวิน ฐานุตฺตโร (สุขประเสริฐ) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ร้อยเอ็ด ประเทศไทย
  • สุกานดา จันทวารีย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ร้อยเอ็ด ประเทศไทย
  • พระครูสุตวรธรรมกิจ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ร้อยเอ็ด ประเทศไทย
  • พระพลากร สุมงฺคโล (อนุพันธ์) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ร้อยเอ็ด ประเทศไทย

คำสำคัญ:

การอนุรักษ์, ป่าชุมชน, หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการอนุรักษ์ป่าชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของบ้านหนองบั่ว (2) เปรียบเทียบการอนุรักษ์ป่าชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของบ้านหนองบั่ว จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ (3) เสนอแนวทางการประยุกต์หลักสัมมัปปธาน 4 การพัฒนาการอนุรักษ์ป่าชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของบ้านหนองบั่ว ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนที่อาศัยในพื้นที่บ้านหนองบั่ว จำนวน 283 ตัวอย่าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงปริมาณทดสอบทดสอบสมมติฐาน คือ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) และการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 11 รูป/คน ใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า การอนุรักษ์ป่าชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยรวมอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านการอนุรักษ์ป่าชุมชน ด้านนโยบายสาธารณะ ด้านจิตสาธารณะ ด้านเศรษฐกิจพอเพียง และการอนุรักษ์ป่าชุมชน ส่วนการอนุรักษ์ป่าชุมชนตามหลักสัมมัปปธาน 4 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านสังวรปธาน ด้านปหานปธาน ด้านภาวนาปธาน และด้านอนุรักขนาปธาน ผลการทดสอบสมมติฐานการอนุรักษ์ป่าชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของบ้านหนองบั่ว โดยภาพรวมแตกต่างกัน คือ ประชาชนที่มีเพศ อายุ มีการอนุรักษ์ป่าชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนประชาชนที่มีระดับการศึกษา สถานภาพ และอาชีพ มีการอนุรักษ์ป่าชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไม่แตกต่างกัน แนวทางในการอนุรักษ์ป่าชุมชน ดังนี้ 1) สร้างจิตสำนึกและเห็นคุณค่าของป่าชุมชน 2) คำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวมเป็นหลัก 3) จัดให้มีกิจกรรมสร้างองค์ความรู้ด้านการจัดการทรัพยากรให้แก่ประชาชน และ 4) จัดสรรการใช้พื้นที่จัดตั้งโครงการภายในชุมชน ได้แก่ อยู่อาศัย พื้นที่ทำกิน ที่เพาะปลูก อย่างเป็นสัดส่วน

References

กรมชลประทาน. (2561). การขออนุญาตเข้าทำประโยชน์ในเขตพื้นที่ป่าไม้. สืบค้น 5 มกราคม 2565. จาก http://person.rid.go.th/recheck6062/uploadfolder/1567764419376_NEW_WORKMANUAL.pdf.

ฐิติมา ปาลคะเชนทร์. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับความรู้ความเข้าใจในการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลพนม อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี. (รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสยาม).

บ้านเมืองปกป้อง. (2563). ป่าชุมชนดงทำเลดอนใหญ่ ป่าผืนสุดท้ายของร้อยเอ็ด. สืบค้น 2 สิงหาคม 2565. จาก https://www.banmuang.co.th/news/region/205746.

พระครูพิจิตรวรเวท (มานัส มารยาท) และ พระมหาสุเมฆ สมาหิโต. (2565). การประยุกต์ใช้หลักสัมมัปปธานเพื่อการอนุรักษ์วัฒนธรรมของชาติ. วารสารวิจัยวิชาการ, 5(1). 13-27.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต). (2537). คนไทยกับป่า. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สหธรรมมิก.

พิสมัย วงศ์จำปา และ พระมหาศิวกร ปญฺญาวชิโร. (2561). การเสริมสร้างสมรรถนะในการอนุรักษ์ การใช้ประโยชน์ และการแบ่งปันผลประโยชน์จากป่าชุมชนในลุ่มน้ำอิง จังหวัดพะเยา-เชียงราย (รายงานการวิจัย). พระนครศรีอยุธยา: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

แพรวพรรณ เจริญวัย. (2560). การส่งเสริมวิถีชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของเทศบาลบ้านแม อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่. (พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).

วราภรณ์ ปันสุรัตน์. (2560). การพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพนักงานเทศบาลตำบลอุโมงค์ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน. (พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).

สำนักงานสถิติจังหวัดร้อยเอ็ด. (2565). สถิติประชากรจังหวัดร้อยเอ็ด. สืบค้น 19 เมษายน 2565. จาก https://www.roiet.go.th/upload/file/20210621140741File.pdf.

Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rdEd.). New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-04