อิทธิพลของความร่วมมือในโซ่อุปทานต่อผลการดำเนินงานด้านโลจิสติกส์ของผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในเขตพื้นที่ นิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด จังหวัดระยอง โดยมีความยืดหยุ่นด้านโลจิสติกส์เป็นตัวแปรส่งผ่าน

ผู้แต่ง

  • ขัตติยา นพเก้า สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาอุตสาหกรรม คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย
  • วราภรณ์ ตั้งจิตรเจริญ สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาอุตสาหกรรม คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย

คำสำคัญ:

ความร่วมมือในโซ่อุปทาน, ความยืดหยุ่นด้านโลจิสติกส์, ผลการดำเนินงานด้านโลจิสติกส์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาอิทธิพลของความร่วมมือในโซ่อุปทานระหว่างผู้ผลิตและผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์ภายนอกที่มีผลต่อผลการดำเนินงานด้านโลจิสติกส์ของบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ (2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของความร่วมมือในโซ่อุปทาน ระหว่างผู้ผลิตและผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์ภายนอกที่มีผลต่อความยืดหยุ่นด้านโลจิสติกส์ (3) เพื่อศึกษาอิทธิพลของความยืดหยุ่นด้านโลจิสติกส์ที่มีผลต่อผลการดำเนินงานด้านโลจิสติกส์ของบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ และ (4) เพื่อศึกษาอิทธิพลของความยืดหยุ่นด้านโลจิสติกส์ในฐานะตัวแปรส่งผ่านระหว่างความร่วมมือในโซ่อุปทานกับผลการดำเนินงานด้านโลจิสติกส์ของบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ในเขตพื้นที่ นิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด จังหวัด ระยอง การเก็บรวบรวมข้อมูลได้ใช้แบบสอบถาม กับกลุ่มตัวอย่างซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวข้องในส่วนของการจัดซื้อ การวางแผน การกระจายสินค้าในส่วนงานของโลจิสติกส์และโซ่อุปทานร่วมกับผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์ภายนอก รวม 308 ฉบับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง ผลการศึกษาพบว่า ความร่วมมือในโซ่อุปทานมีอิทธิพลทางบวกต่อผลการดำเนินงานด้านโลจิสติกส์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (β1 = 0.58, p < 0.01) ความร่วมมือในโซ่อุปทานมีอิทธิพลทางบวกต่อความยืดหยุ่นด้านโลจิสติกส์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (β2 = 0.68, p < 0.01) ความยืดหยุ่นด้านโลจิสติกส์ มีอิทธิพลทางบวกต่อผลการดำเนินงานด้านโลจิสติกส์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (β3 = 0.27, p < 0.01) และผลการดำเนินงานด้านโลจิสติกส์ได้รับอิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้อมจากตัวแปรความร่วมมือในโซ่อุปทาน โดยมีความยืดหยุ่นเป็นตัวแปรส่งผ่านเพียงบางส่วน ผลการวิจัยจึงยืนยันถึงความจำเป็นในการสร้างความร่วมมือในโซ่อุปทาน มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความสามารถทางการแข่งขันซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ขับเคลื่อนองค์กรสู่ความสำเร็จ

References

การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย. (2565). ข้อมูลนิคมอุตสาหกรรมในประเทศไทย. สืบค้น 9 พฤษภาคม 2565. จาก https://www.ieat.go.th/th/estates.

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย. (2565). สถิติการผลิตการจำหน่ายและการส่งออกของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย. สืบค้น 9 พฤษภาคม 2565. จาก https://fti.or.th.

Al-Doori, J. A. (2019). The impact of supply chain collaboration on performance in automotive industry: empirical evidence. Journal of Industrial Engineering and Management, 12(2), 241-253.

Aunyawong, W., Wararatchai, P., & Hotrawaisaya, C. (2019). The mediating roles of supply chain collaboration and logistics flexibility on supply chain performance of auto parts manufacturing firms in Thailand. In The 2019 International Academic Multidisciplines Research Conference in Hokkaido (pp. 374-390). Hokkaido: ICBTS.

Chopra, S., & Meindl, P. (2001). Supply chain management: strategy. Planning and Operation, 15(5), 71-85.

Hair, J.F., Sarstedt, M., Ringle, C.M. & Mena, J.A. (2012). An assessment of the use of partial least squares structural equation modeling in marketing research. Journal of The Academy of Marketing Science, 40(3), 414-433.

Hardcopf, R., Liu, G. J., & Shah, R. (2021). Lean production and operational performance: The influence of organizational culture. International Journal of Production Economics, 235, 108060.

Huang, Y., Han, W. & Macbeth, D.K. (2020). The complexity of collaboration in supply chain networks. Supply Chain Management, 25(3), 393-410.

Kale, Kiran S. (2021). The impact of 3pl services on tqm in automobile industry with special reference to state of maharashtra. PalArch's Journal of Archaeology of Egypt/Egyptology, 18, 2316-2324.

Kinai, M. & Were, S. (2017). Role of supplier collaboration on organization performance: a case of kenya urban roads authority. International Journal of Social Science and Information Technology, 3(10), 2572-2592.

Lapide, L. (1999). Collaborating in the e-commerce age. Supply Chain Management Review, 54(7), 15-17.

Nagarajan, V., Savitskie, K., Ranganathan, S., Sen, S., & Alexandrov, A. (2013). The effect of environmental uncertainty, information quality, and collaborative logistics on supply chain flexibility of small manufacturing firms in India. Asia Pacific Journal of Marketing and Logistics, 25(5), 784-802.

Zainudin, A. (2012). A handbook on SEM: Structural equation modelling using amos graphics. Kelantan: Universiiy Technology MARA Press.

Zhang, H., & Okoroafo, S. C. (2015). Third-party logistics (3PL) and supply chain performance in the Chinese market: a conceptual framework. Engineering Management Research, 4(1), 38.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-28