การศึกษาคุณลักษณะของควินัวที่ผู้บริโภคต้องการในกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ภัทราทิพย์ อยู่ฉัตร สาขาวิชาธุรกิจการเกษตร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย
  • กุลภา กุลดิลก สาขาวิชาธุรกิจการเกษตร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย
  • หม่อมหลวงกุณฑลรัตน์ ทวีวงศ์ สาขาวิชาธุรกิจการเกษตร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย

คำสำคัญ:

ควินัว, คุณลักษณะของผลิตภัณฑ์, การตัดสินใจของผู้บริโภค

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อวิเคราะห์คุณลักษณะและปัจจัยต่างๆ ของควินัวที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้บริโภค และ (2) เพื่อศึกษาองค์ประกอบร่วมของคุณลักษณะควินัวพร้อมทานที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้บริโภค การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ การเก็บข้อมูลด้วยการทำ Focus group จำนวน 10 รายและการสัมภาษณ์โดยใช้แบบสอบถาม โดยการเก็บข้อมูลในจังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 ราย ระหว่างเดือนมกราคม 2563 ถึง เดือนกุมภาพันธ์ 2563 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ หลักเกณฑ์วัดค่าตามมาตรวัดลิเคิร์ท (Likert Scale) และใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบร่วม (Conjoint Analysis) เพื่อหาการตัดสินใจของผู้บริโภค โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบร่วมเป็นการวิเคราะห์ภาพรวมหลายๆ ปัจจัยใกล้เคียงกับธรรมชาติของการตัดสินใจของผู้บริโภค ทำให้ทราบถึงคุณลักษณะที่หลากหลายในสินค้าตามแนวคิดของ Lancaster ผลการศึกษาพบว่า ผู้บริโภคให้คะแนนความสำคัญเฉลี่ยในด้านการติดฉลากแสดงข้อมูลคุณประโยชน์มีความสำคัญมากที่สุด มีค่า 4.34 คะแนน และมีค่าน้ำหนักความสำคัญมากที่สุดร้อยละ 43.002 คุณลักษณะของผลิตภัณฑ์ควินัวพร้อมทานที่พฤติกรรมผู้บริโภคทั่วไปให้ความสำคัญมากที่สุดคือ การติดฉลากแสดงคุณประโยชน์ และรองลงมาคือ ราคา และ บรรจุภัณฑ์ โดยผลิตภัณฑ์ที่ผู้บริโภคพึงพอใจมากที่สุดมีลักษณะ แบบถ้วยพร้อมทาน ติดฉลากแสดงคุณประโยชน์ และมีราคาขายที่ 45 บาท ทั้งนี้ คุณลักษณะและปัจจัยที่ผู้บริโภคให้คะแนนความสำคัญที่สุด 5 อันดับ ได้แก่ แสดงวันหมดอายุที่บรรจุภัณฑ์ แสดงวันผลิตที่บรรจุภัณฑ์ สินค้าสามารถเก็บระยะเวลานาน ราคา และฉลากแสดงข้อมูลคุณประโยชน์ นอกจากนี้ ผู้บริโภคส่วนใหญ่ให้ความสำคัญต่อการติดฉลากแสดงคุณประโยชน์มากกว่าราคาของผลิตภัณฑ์ควินัว ผู้ผลิตหรือผู้สนใจในธุรกิจผลิตภัณฑ์ควินัวพร้อมทานสามารถนำไปเป็นแนวทางในการผลิตสินค้าควินัวพร้อมทานให้ตรงความต้องการของผู้บริโภคได้

References

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์. (2561). เทรนด์รักสุขภาพไทย ‘บูม…หนักมาก’ กรมพัฒน์ฯ เช็คสถานการณ์ลงทุน ใน ข่าวสารเดือนมกราคม 2561. สืบค้น 11 ตุลาคม 2562. จาก http://www.dbd.go.th.

ชณัญญา ลำเจียก. (2562). พฤติกรรมของผู้บริโภคและปัจจัยส่วนผสมทางการตลาดที่มีผลต่อการซื้อข้าวอินทรีย์บรรจุถุงในกรุงเทพมหานคร. (เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).

ชุดา วรวัฒนธรรม และ เปรมฤดี จิตรเกื้อกูล. (2565). การวิเคราะห์องค์ประกอบร่วมของคุณลักษณะข้าวสารบรรจุถุงที่ส่งผลต่อความพึงพอใจ และพฤติกรรมการเลือกข้าวสารบรรจุถุง กรณีศึกษา จังหวัดนครพนม. วารสารศิลปะศาสตร์และวิทยาการจัดการ, 9(1), 31-49.

ณภัทร วงศ์รจิต. (2563). คุณลักษณะที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อข้าวโภชนาการสูงของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).

ธนัท ธำรงพิรุณ. (2559). คุณลักษณะที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อแคปหมูของผู้บริโภค. (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).

ธีรารัตน์ จันพุ่ม. (2555). การวิเคราะห์ปัจจัยคุณลักษณะที่ส่งผลต่อราคาข้าวหอมมะลิบรรจุถุง. (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).

ปกป้อง ป้อมฤทธิ์. (2559). มหัศจรรย์ธัญพืช (เทียม) คุณค่าทางโภชนาการสูง. วารสารเคหการเกษตร, 40(7), 204-208.

พรรณิภา ปักโคทานัง. (2551). คุณลักษณะของข้าวที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อและพฤติกรรมการบริโภคข้าวสารของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).

ศุภัสรัตน์ อินพิลา. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อข้าวหอมมะลิอินทรีย์ : การวิเคราะห์องค์ประกอบร่วม. (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).

สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์. (2566). การนำเข้าของไทยตามพิกัดศุลกากร 100850 ในการนำเข้ารายพิกัดศุลกากร. สืบค้น 30 มิถุนายน 2566. จาก http://tradereport.moc.go.th/.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2560). สำรวจพฤติกรรมมการบริโภคอาหารของประชากร พ.ศ. 2560. สืบค้น 30 มิถุนายน 2566. จาก http://www.nso.go.th.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2562). สถิติกรุงเทพมหานคร 2561. สืบค้น 11 ตุลาคม 2562. จาก https://shorturl.asia/7IHar.

อัญรินทร์ ปิยะวงศ์พรรณ. (2562). คุณลักษณะเครื่องดื่มสมุนไพรแคลอรี่ต่ำที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).

Bajaj, A. (1999). Conjoint analysis: A potential methodology for IS research analysis. Retrieved 10 September 2015. from http://www.nfp.collins.utulsa.edu/bajaja/amcis1999.doc.

Green, P. E. & V. Srinivasan. (1978). Conjoint Analysis in Consumer Research: Issue and Outlook. Journal of Consumer Research 12(6), 13-23.

Hair, J., Black, W., Babin, B., Anderson, R., & Tatham, R. (2006). Multivariate Data Analysis. (6th ed.). New Jersey: Prentice Hall.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Lancaster, K. J. (1971). Consumer demand: A new approach. New York: Columbia University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-15