พฤติกรรมและผลกระทบจากการทำงานพิเศษนอกเวลาเรียนของนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี

ผู้แต่ง

  • นิธินันท์ เทียนดี นิสิตสาขาวิชาบริหารธุรกิจ คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี ประเทศไทย
  • รณฤทธิ์ ปลื้มถนอม นิสิตสาขาวิชาบริหารธุรกิจ คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี ประเทศไทย
  • พลอยไพลิน ยอดคำ อาจารย์สาขาวิชาบริหารธุรกิจ คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี ประเทศไทย
  • พัชรี ปรีเปรมโมทย์ อาจารย์สาขาวิชาบริหารธุรกิจ คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี ประเทศไทย

คำสำคัญ:

การทำงานพิเศษนอกเวลาเรียน, พฤติกรรมการทำงานพิเศษ, ผลกระทบจากการทำงานพิเศษ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ (1) ศึกษาพฤติกรรมและลักษณะงานพิเศษนอกเวลาเรียนของนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี และ (2) ศึกษาผลกระทบของการทำงานพิเศษนอกเวลาเรียนของนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม จำนวน 356 ชุด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา พบว่า นิสิตส่วนใหญ่ทำงานในร้านอาหาร และร้านสะดวกซื้อ เป็นหลัก รองลงมา ได้แก่ การทำงานในร้านสะดวกซื้อ ร้านขนม/ คาเฟ่ และร้านทำขนม ซึ่งส่วนใหญ่ทำงานในช่วงเวลา 18.01-24.00 น. มีค่าตอบแทนที่ได้รับเฉลี่ย 44.91 บาทต่อชั่วโมง มีค่าตอบแทนต่ำสุดเท่ากับ 24 บาทต่อชั่วโมง และสูงสุดที่ 150 บาทต่อชั่วโมง โดยช่องทางหลักในการหางานพิเศษนอกเวลาเรียน คือ การแนะนำของเพื่อน รองลงมา ได้แก่ ช่องทาง Social Media การแนะนำของรุ่นพี่ และการแนะนำของอาจารย์ ตามลำดับ และบุคคลที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจทำงานพิเศษนอกเวลาเรียน คือ ตนเอง ได้แก่ ญาติ เพื่อน และผู้ที่มีประสบการณ์ ตามลำดับ ผลกระทบของการทำงานพิเศษนอกเวลาเรียน แบ่งออกเป็น 5 ด้าน ได้แก่ ด้านสุขภาพร่างกาย ด้านการศึกษา ด้านการเงิน ด้านความสัมพันธ์ ด้านอารมณ์และความรู้สึก โดยเมื่อเรียงลำดับของผลกระทบแล้ว สะท้อนว่า การทำงานพิเศษนอกเวลาเรียนส่งผลกระทบด้านการเงิน หรือทำให้รายได้เพิ่มขึ้นมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.85 รองลงมา ได้แก่ ผลกระทบด้านอารมณ์และความรู้สึก ด้านสุขภาพร่างกาย และด้านความสัมพันธ์ในกลุ่มเพื่อน ตามลำดับ โดยนิสิตเห็นว่าการทำงานพิเศษนอกเวลาเรียนสร้างผลกระทบด้านการศึกษาน้อยที่สุด

References

กมลวรรณ สุขเกษม, สุดารัตน์ โต๊ะสัน, ภาวิกา ขุนจันทร์ และ พัลลภา ศรีวิโรจน์กุล. (2565). การทำงาน Part Time ส่งผลต่อการเรียนของนักศึกษามหาวิทยาลัยภูเก็ต. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 11 และนานาชาติครั้ง ที่ 4 วิทยาการจัดการ 2022: “วิชาการก้าวหน้า เศรษฐกิจก้าวไกล ก้าวไปกับชุมชน” (น. 85-101). ลำปาง: มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.

ฐิตินันท์ ดาวศรี, พรนภา ทิพย์กองลาด, พีรพล เข็มผง, สมเชาว์ ดับโศรก, สุทธิดา เพ่งพิศ, วรวัฒน์ วิศรุตไพศาล และ จันทรัศม์ ภูติอริยวัฒน. (2564). แนวทางการจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 11(1), 59-74.

ตรีนุช ไพชยนต์วิจิตร และ สรัลชนา ธิติสวรรค์. (2565). ผลกระทบการแพร่ระบาดของโควิด-19 ต่อการศึกษา. สืบค้น 5 พฤษภาคม 2565. จาก http://www.eco.ru.ac.th/images/document/article/TreeNut/publish02-02.pdf.

นุชนาท ช่วยหวัง, จุไรรัตน์ ปนแก้ว, พรรณวดี ขำจริง, และ ลลิดา ภคเมธาวี. (2560). ปัจจัยทางเศรษฐกิจที่ส่งผลต่อการทำงาน Part Time ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 3(2), 260-270.

บุษกร ถาวรประสิทธิ์. (2563). ผลกระทบทางการศึกษาของนิสิตปริญญาตรีที่ทำงานพิเศษระหว่างเรียน: กรณีศึกษานิสิตภาคปกติ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต, 16(1), 83-101.

ภคมน โภคะธีรกุล, วิศิษฐ์ ฤทธิบุญไชย, ดารินทร์ โพธิ์ตั้งธรรม และ ญาณวุฒิ ฝูงทองเจริญ. (2563). ผลกระทบจากการทำงานพิเศษนอกเวลาเรียน ของนักศึกษามหาวิทยาลัยในจังหวัดนครปฐม. วารสารวิชาการการจัดการภาค รัฐและเอกชน, 2(3), 115-124.

มหาวิทยาลัยบูรพา. (2565). สถิตินิสิต. สืบค้น 5 พฤษภาคม 2565. จาก https://reg.buu.ac.th/registrar/home.asp.

รุ่งศิริ มีแก้ว, วรรณรักษ์ งามแม้น และ พิทักษ์ ศิริวงศ์. (2561). การให้ความหมายและกระบวนการทำงานนอกเวลาของนักศึกษา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตเพชรบุรี. วารสาร Veridian E-Journal ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 11(2), 2596-2609.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-11