ดุลยภาพชีวิตในมิติทางพระพุทธศาสนา

ผู้แต่ง

  • พระมหาภิรัฐกรณ์ อํสุมาลี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น ประเทศไทย
  • พระมหาโยธิน โยธิโก มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น ประเทศไทย
  • พระครูวินัยธรสุวรรณ สุวณฺโณ นักวิชาการอิสระ ประเทศไทย
  • กาญจนา หาญศรีวรพงศ์ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาชุมแพ กรมสรรพากร ประเทศไทย

คำสำคัญ:

ดุลยภาพชีวิต, มิติทางพระพุทธศาสนา, พระพุทธศาสนา

บทคัดย่อ

บทความวิชาการเรื่องนี้มุ่งเสนอดุลยภาพชีวิตในมิติทางพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ สามารถปรับตัวให้อยู่ได้ในทุกสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เริ่มตั้งแต่สุขภาพกาย สุขภาพใจ ครอบครัว และชีวิตในสังคม ซึ่งความสมดุลของชีวิตนั้นมนุษย์จำเป็นต้องมีการพัฒนา โดยการที่มนุษย์สามารถปรับตัวทั้งทางร่างกายและพฤติกรรมเพื่อดำรงชีวิตที่ดีต้องได้รับการฝึกหัด ขัดเกลา พัฒนา ให้สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างถูกต้องเหมาะสม การสร้างดุลยภาพชีวิตในมิติทางพระพุทธศาสนา มีหลักธรรมคำสอนว่าด้วยหลักไตรสิกขา ได้แก่ ด้านกาย วาจา ใจ เพื่อให้มนุษย์ได้ศึกษาและนำไปประพฤติปฏิบัติได้อย่างมีความสุข การนำหลักไตรสิกขามาพัฒนาดุลยภาพชีวิตที่ดี เกิดความสมดุลในทุกมิติ ทั้งมิติทางด้านร่างกาย ด้านจิตใจและอารมณ์ ด้านเศรษฐกิจ และด้านสังคม และยังส่งเสริมให้พุทธศาสนิกชนเข้าใจในหลักธรรมคำสอนได้อย่างถูกต้อง สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน และสังคมต่อไป

References

กนิษฐา นาวารัตน์. (2540). พจนานุกรมอังกฤษไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สามัคคีสาร (ดอกหญ้า) จำกัด.

กาญจนา หาญศรีวรพงศ์. (2561). การสร้างดุลยภาพชีวิตตามหลักธรรมในพระพุทธศาสนา. (พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).

จิตรจำนงค์ สุภาพ. (2550). คัมภีร์พัฒนามนุษย์. กรุงเทพฯ: ธรรมสภา.

จุฑาทิพย์ อุมะวิชนี. (2546). ชีวิตและการรู้จักตนเอง. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เฉลียว ปิยะชน. (2552). รู้สู้โรค โมเลกุลเพื่อชีวิต ชีวิตเพื่อสุขภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 3 (ฉบับปรับปรุงเพิ่มเติม)). กรุงเทพฯ: บริษัท ตถาตา พับลิเคชั่น.

ไชย ณ พล. (2539). ปรัชญาชีวิตและการรู้แจ้ง. กรุงเทพฯ: เคล็ดไทย.

ชลูด นิ่มเสมอ. (2539). องค์ประกอบของศิลปะ. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

ดำเนิน การเด่น และ เสฐียรพงษ์ วรรณปก. (2545). พจนานุกรมไทย อังกฤษ. (พิมพ์ครั้งที่ 15). กรุงเทพฯ: บริษัท อมรินทร์ พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด.

ธนัย วงศ์กีรติวานิชย์. (2566). เรื่องของดุลยภาพ. สืบค้น 25 มีนาคม 2566. จาก http://www.jobpub.com/articles/showarticle.asp?id=1332.

ธเนศ ถวิลหวัง. (2558). การพัฒนาคุณภาพชีวิตและองค์กร. นครพนม: สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดนครพนม.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2540). ดุลยภาพ สาระแห่งสุขภาพและความสมบูรณ์. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: บริษัท สหธรรมิก จำกัด.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2547). ธรรมนูญชีวิต. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2546). พุทธธรรมฉบับปรับปรุงและขยายความ. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2552). พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระไพศาล วิสาโล. (2546). รุ่งอรุณที่สุคะโต. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: บริษัท กรีนพริ้นท์ จำกัด.

พระมหาวุฒิชัย (ว.วชิรเมธี). (2550). ธรรมะอินเทรนด์ : ของขวัญอันยั่งยืน. กรุงเทพฯ: ธรรมจักร.

พระราชวรมุนี (ป.อ. ปยุตฺโต). (2530). ทางสายกลางของการศึกษาไทย. กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตร คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พระราชวรมุนี (ป.อ. ปยุตฺโต). (2530). พัฒนาคน. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโกมลคีมทอง.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพญ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มาโนช กงกะนันทน์. (2538). ศิลปะการออกแบบ. กรุงเทพฯ: บริษัทโรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช จำกัด.

ลิขิต ธีรเวคิน. (2552). สังคมและดุลยภาพ. สืบค้น 30 มีนาคม 2566. จาก https://mgronline.com/daily/detail/9520000108035.

ลิขิต ธีรเวคิน. (2559). ความสำคัญของการรักษาดุลยภาพ. สืบค้น 30 มีนาคม 2566. จาก https://siamrath.co.th/c/2892.

วัฒนาพร เขื่อนสุวรรณ. (2566). ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสี” (เอกสารคําสอนหลักการทัศนศิลปะ). สืบค้น 30 มีนาคม 2566. จาก http://dusithost.dusit.ac.th/~chawalin_nia/site1/comgraphic/41color.pdf.

สนอง วรอุไร. (2549). ทำชีวิตให้ได้ดีและมีสุข. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: อัมรินทร์.

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฺฒนมหาเถร). (2549). หลักพระพุทธศาสนา. (พิมพ์ครั้งที่ 10). นครปฐม: โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30