ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารจัดการด้านการเงินของประชาชนในจังหวัดอุดรธานี ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019

ผู้แต่ง

  • กัลยารัตน์ หัสโรค์ หมวดศึกษาทั่วไป คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต ประเทศไทย

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการด้านการเงิน, โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019, การบริหารการเงินบุคคล

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาศึกษาระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารการเงินบุคคลและการบริหารจัดการด้านการเงิน (2) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารจัดการด้านการเงิน จำแนกตามปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ และ (3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารการเงินบุคคลที่มีอิทธิพลต่อการบริหารจัดการด้านการเงินของประชากรจังหวัดอุดรธานี ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 เป็นรูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ประชาชนที่มีงานทำในจังหวัดอุดรธานี จำนวน 400 คน โดยการคำนวณสูตรทาโร ยามาเน่ และการสุ่มตัวอย่างแบบไม่อาศัยความน่าจะเป็น ด้วยวิธีแบบบังเอิญ เครื่องมือการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถาม และสถิติที่ใช้สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์สมการการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการศึกษาพบว่า ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารการเงินบุคคล โดยรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย=3.79) และระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านการเงิน โดยรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย=3.98) ประชาชนในจังหวัดอุดรธานี ที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน แตกต่างกัน มีการบริหารจัดการด้านการเงินภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 แตกต่างกัน และปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารการเงินบุคคลที่มีอิทธิพลต่อการบริหารจัดการด้านการเงินของประชาชนจังหวัดอุดรธานี ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ได้แก่ ทัศนคติต่อการบริหารการเงิน ความรับผิดชอบด้านการเงินในครอบครัว อิทธิพลภายนอก และมาตรการเยียวยาด้านการเงินจากภาครัฐ ทั้ง 4 ด้านเป็นปัจจัยที่มีผลทางบวก ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05

References

กนกวรรณ วัฒนาทัศนีย์, ซามีนะ วชิรญา, อรนุช สว่างเจริญกุล และ อังคณา ตาเสนา. (2565). การวางแผนทางการเงินในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ของประชาชนในอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก. วารสารวิทยาการจัดการและการสื่อสาร, 1(2), 19-38.

กอบชัย นิกรพิทยา และ วุฒิพล ฉัตรจรัสกุล. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการ ปรับตัวด้านการเงินของภาคครัวเรือนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 6(1), 39-52.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2559). การวิเคราะห์สถิติ: สถิติสำหรับบริหารและวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 16). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชนิกานต์ ภูกัณหา. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปรับตัวด้านการเงินของบุคลากรสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน. (บริหารธุรกิจมหาบัณทิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง).

ธนภรณ์ ดีธนกิจชัยกุล. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการวางแผนทางการเงินส่วนบุคคลของคนวัยทำงานในสถานการณ์ COVID-19. (บริหารธุรกิจมหาบัณทิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง).

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุริยาสาส์น.

ปฐมพงค์ กุดแก้ว และ พิธาน แสนภักดี. (2565). การปรับตัวด้านการเงินของประชาชนในจังหวัดสุพรรณบุรี ภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 9(3), 205-216.

ปฐมพงค์ กุดแก้ว. (2565). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปรับตัวด้านการเงินของประชาชนจังหวัดสุพรรณบุรี ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (รายงานวิจัย). สุพรรณบุรี: คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.

ปรีญานุช บุตรน้ำเพชร. (2565). ปัจจัยที่มีผลต่อสถานะทางการเงินส่วนบุคคลในช่วงสถานการณ์ COVID-19 ของประชากรในกรุงเทพมหานคร. (บริหารธุรกิจมหาบัณทิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง).

ยุพิน ปิ่นทอง. (2562). การวางแผนทางการเงินส่วนบุคคลของประชาชนจังหวัดปทุมธานี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณทิต สาขาวิชาการจัดการการเงินและการธนาคาร, มหาวิทยาลัยรามคำแหง).

วรรณวิภา ไตลังคะ และกัมปนาท วงษ์วัฒนาพงษ์. (2565). รอยแผลทางเศรษฐกิจและสังคม: กรณีโควิด-19. วารสารมนุษย์ ฉบับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 11(2), 1-11.

วันชัย อนุตรชัชวาล. (24 พฤษภาคม 2664). หอการค้าอุดรตั้ง 7 ทีมฟื้นฟูธุรกิจ โควิดระลอก 3 เดือนเดียวสูญกว่าพันล้าน. สืบค้น 1 มีนาคม 2565. จาก https://www.prachachat.net/local-economy/news-674041.

วิรไท สันติประภพ. (2563). ปลูกภูมิคุ้มกันเศรษฐกิจไทย ก้าวข้ามวิกฤติโควิค 19. สืบค้น 1 มีนาคม 2565. จาก https://www.thansettakij.com/finance/431432.

สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์ และ ปรรณ เก้าเอี้ยน. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการการเงินส่วนบุคคลของข้าราชการตำรวจภูธร จังหวัดชุมพร. วารสารวิทยาการจัดการ, 32(2), 29-57.

สมบูรณ์ สารพัด, ศิรินุช อินละคร และ ชไมพร ชินโชติ. (2564). การวางแผนการเงินส่วนบุคคลของประชากรวันทำงานในจังหวัดชลบุรี. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(3), 218-234.

สยานนท์ สหุนันต์. (2561). พฤติกรรมการบริหารจัดการเงินส่วนบุคคลของนักศึกษาวิทยาลัยดุสิตธานี พัทยา. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 12(2), 369-383.

สำนักงานแรงงานจังหวัดอุดรธานี. (2565). รายงานสถานการณ์และดัชนีชี้วัดภาวะแรงงานจังหวัดอุดรธานีรายปี 2565. อุดรธานี: สำนักงานแรงงานจังหวัดอุดรธานี.

สุทธิดา เลขานุกิจ. (2563). การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการการเงินส่วนบุคคลของบุคลากรทางการบินเชิงพาณิชย์ในสถานการณ์ COVID-19. (บริหารธุรกิจมหาบัณทิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง).

สุนันทา สังขทัศน์. (2565). ความคาดหวังของประชาชนที่มีต่อการวางแผนทางการเงินภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ในเขตพื้นที่จังหวัดนนทบุรี. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา, 1(2), 73-89.

อุบล ไม้พุ่ม. (2565). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการวางแผนทางการเงินส่วนบุคคลในช่วงโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19). วารสารไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยสาสตร์และสังคมศาสตร์), 12(2), 28-45.

Althnian, A. (2021). Design of a rule-based personal finance management system based on financial well-being. International Journal of Advanced Computer Science and Applications, 12(1), 182-187.

Ameliawati, M., & Setiyani, R. (2018). The influence of financial attitude, financial socialization, and financial experience to financial management behavior with financial literacy as the mediation variable. in International Conference on Economics, Business and Economic Education 2018, KnE Social Sciences (pp.811–832). Central Java Province, Indonesia: Universitas Negeri Semarang.

Kaneda, M., Kubota, S., & Tanaka, S. (2021). Who spent their COVID-19 stimulus payment? Evidence from personal finance software in Japan. The Japanese Economic Review, 72(3), 409-437.

Siswanti, I., & Halida, A. M. (2020). Financial knowledge, financial attitude, and financial management behavior: Self–control as mediating. The International Journal of Accounting and Business Society, 28(1), 105-132.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd ed.) New York: Harper and Row Publications.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-09-21