ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารร่วมกับการสอนโดยใช้เกม วิชาภาษาจีน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

ผู้แต่ง

  • มานิตา วอนเมือง นิสิตโครงการการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ประเทศไทย
  • สิราวรรณ จรัสรวีวัฒน์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ประเทศไทย
  • ภัทรมนัส ศรีตระกูล คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ประเทศไทย

คำสำคัญ:

การสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร, การสอนโดยใช้เกม, ทักษะความเข้าใจต่างวัฒนธรรมไทย-จีน, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาจีน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาจีนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารร่วมกับการสอนโดยใช้เกม วิชาภาษาจีน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (2) เพื่อศึกษาทักษะความเข้าใจต่างวัฒนธรรมไทย-จีน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารร่วมกับการสอนโดยใช้เกม วิชาภาษาจีน และ (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารร่วมกับการสอนโดยใช้เกมวิชาภาษาจีนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนห้วยใหญ่ จังหวัดชลบุรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 24 คน ได้มาจากวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาจีน 3) แบบประเมินทักษะความเข้าใจต่างวัฒนธรรมไทย-จีน 4) แบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าทดสอบที ผลการศึกษาพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาจีนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารร่วมกับการสอนโดยใช้เกมวิชาภาษาจีน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทักษะความเข้าใจต่างวัฒนธรรมไทย-จีน ของนักเรียนที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารร่วมกับการสอนโดยใช้เกม วิชาภาษาจีน อยู่ในระดับคุณภาพดี ความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารร่วมกับการสอนโดยใช้เกม วิชาภาษาจีน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 อยู่ในระดับมากที่สุด

References

กมลวรรณ สาตศิลป์. (2561). ผลการพัฒนาทักษะการอ่านสัทอักษรพินอินในภาษาจีนโดยใช้เกมสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนอุดมดรุณี. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร).

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ทิศนา แขมมณี. (2560). ศาสตร์การสอน:องค์ความรู้เพื่อการจัดการกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 21). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปรวิศา นำบุญจิตร์. (2556). ผลของการใช้เกมประกอบการสอนคำศัพท์ภาษาอังกฤษที่มีต่อความสามารถในการเรียนรู้คำศัพท์ความคงทนในการเรียนรู้คำศัพท์และความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่).

มัญชรี โชติรสฐิติ. (2556). การปรับตัวข้ามวัฒนธรรมของนักเรียนไทยในต่างประเทศ. (ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรังสิต)

โรงเรียนห้วยใหญ่. (2564). รายงานการทดสอบวัดความรู้พื้นฐานภาษาจีนของนักเรียนโรงเรียนห้วยใหญ่. ชลบุรี: โรงเรียนห้วยใหญ่.

ศิริรัตน์ แอดสกุล. (2556). ความรู้เบื้องต้นทางสังคมวิทยา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพฯ: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สุมิตรา อังวัฒนกุล. (2549). วิธีการสอนภาษาอังกฤษ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวิทย์ มูลคำ และ อรทัย มูลคำ. (2552). วิธีการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

หมิงหยู เปา. (2560). ผลการพัฒนาความสามารถในการอ่านออกเสียงภาษาจีนด้วยวิธีสอนโดยใช้เกมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).

อัญชลีภรณ์ วงษ์คำ. (2550). ความพึงพอใจที่มีต่อคุณลักษณะพึงประสงค์ผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนีย์บัตรวิชาชีพขั้นสูง (ปวส.) ของผู้บริหารสถานประกอบการในจังหวัดสิงห์บุรี. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี).

Ford, D. Y., & Whiting, G. W. (2008). Cultural competence: Preparing gifted students for a diverse society. Roeper Review, 30(2), 104-110.

Jia, F., & Rutherford, C. (2010). Mitigation of supply chain relational risk caused by cultural differences between China and the West. The International Journal of Logistics Management, 21(2), 251-270.

Madoc Jones, I., & Parrott, L. (2005). Virtual social work education-theory and experience. Social Work Education, 24(7), 755-768.

McAllister, G., & Irvine, J. J. (2000). Cross cultural competency and multicultural teacher education. Review of educational research, 70(1), 3-24.

Nuansri, A. (2015). The communicative approach for learning Chinese with the total physical response (TPR) method for the Grade 4 students of way Khu-yang, Kampheng Phet Primary education area office 1. Panyapiwat Journal, 7(1), 149-159.

Smith, C. A. (Ed.). (2013). Encyclopedia of parenting: theory and research. England: Routledge.

Suh, E. E. (2004). The model of cultural competence through an evolutionary concept analysis. Journal of transcultural nursing, 15(2), 93-102.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-09-14