ปัจจัยที่มีผลต่อการก่อหนี้ครัวเรือนในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19

ผู้แต่ง

  • กมลพรรณ โคจรตระกูล ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย
  • ศิวพงศ์ ธีรอำพน ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย

คำสำคัญ:

หนี้ครัวเรือน, หนี้คงค้างของครัวเรือน, โควิด-19

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการก่อหนี้ครัวเรือนและปัจจัยกำหนดปริมาณหนี้คงค้างของครัวเรือนในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ ครัวเรือนในทุกจังหวัดทั่วประเทศไทย จำนวน 32,688 ครัวเรือน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ ข้อมูลทุติยภูมิที่ได้จากการสํารวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนปี พ.ศ. 2564 ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การใช้แบบจำลองโลจิท เพื่อวิเคราะห์ผลการเปลี่ยนของค่าตัวแปรอิสระที่มีต่อแปรตามในการมีหนี้ ผลการวิจัยพบว่า ตัวแปรที่ส่งผลต่อการก่อหนี้ครัวเรือน ได้แก่ อายุของหัวหน้าครัวเรือน สถานภาพการสมรส ระดับการศึกษา จำนวนสมาชิก ครัวเรือนมีสิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาลจากหน่วยงานราชการ/รัฐวิสาหกิจ ครัวเรือนมีบัตรรับรองสิทธิแรงงานนอกระบบ ครัวเรือนได้รับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ครัวเรือนได้รับประโยชน์จากโครงการช่วยเหลือของรัฐ รายได้ต่อเดือน ค่าใช้จ่ายอุปโภคบริโภคต่อเดือน ค่าใช้จ่ายที่ไม่เกี่ยวกับการอุปโภคบริโภคต่อเดือน มูลค่าทรัพย์สิน มูลค่าสินทรัพย์ทางการเงิน ครัวเรือนมีปัญหาในการใช้จ่าย ความสามารถในการกู้ยืมเพื่อทำธุรกิจ และความสามารถในการกู้ยืมเพื่อใช้จ่ายฉุกเฉิน ผลการศึกษาพบว่า ตัวแปรอิสระที่มีความสัมพันธ์กับปริมาณหนี้ของครัวเรือน ได้แก่ อายุของหัวหน้าครัวเรือน สถานภาพการสมรส ระดับการศึกษา จำนวนสมาชิก ครัวเรือนมีสิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาลจากหน่วยงานราชการ/รัฐวิสาหกิจ ครัวเรือนได้รับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ รายได้ต่อเดือน ค่าใช้จ่ายอุปโภคบริโภคต่อเดือน ค่าใช้จ่ายที่ไม่เกี่ยวกับการอุปโภคบริโภคต่อเดือน มูลค่าทรัพย์สิน มูลค่าสินทรัพย์ทางการเงิน ครัวเรือนมีปัญหาการใช้จ่าย และความสามารถในการกู้ยืมเพื่อทำธุรกิจ จากผลการศึกษาพบว่า 3 ปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อหนี้ครัวเรือน คือ ครัวเรือนมีรายได้ที่ไม่แน่นอน ครัวเรือนไม่ได้รับสิทธิสวัสดิการอย่างทั่งถึง ครัวเรือนไม่ได้รับความช่วยเหลือจากภาครัฐในช่วงวิกฤตการณ์ ดังนั้น ผลการศึกษาของงานวิจัยนี้ สามารถใช้เป็นข้อเสนอแนะให้ภาครัฐหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแก้ไขปัญหาดังกล่าวเพื่อให้หนี้ครัวเรือนลดลง

References

ชุติภา คลังจตุรเวทย์. (2557). ผลกระทบของหนี้ครัวเรือนไทยในและวิกฤตเศรษฐกิจของประเทศไทย. (เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

ณรงค์ โพธิ์พฤกษานันท์. (2556). ระเบียบวิธีวิจัย หลักการและแนวคิด เทคนิคการเขียนรายงานการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: บริษัท แอคทีฟ พริ้นท์ จำกัด.

ดิเรก ลิ้มมธุรสกุล. (2554). การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม Stata 10. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2565). เงินให้กู้ยืมแก่ภาคครัวเรือน. สืบค้น 30 มิถุนายน 2565. จาก https://www.bot.or.th/App/BTWS_STAT/statistics/ReportPage.aspx?reportID=775&language=th.

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2565). หนี้ครัวเรือน: ปัญหาที่ทุกคนต้องช่วยกันแก้. สืบค้น 30 มิถุนายน 2565. จาก https://www.bot.or.th/Thai/BOTMagazine/Pages/25650157TheknowledgeHouseholdDebt.aspx.

นาถระพี ฟองประไพ. (2557). ผลกระทบของปัจจัยทางเศรษฐกิจต่อหนี้ครัวเรือนในประเทศไทย. (เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง).

บุญคง หันจางสิทธิ์. (2550). เศรษฐศาสตร์มหภาค. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เบจมาภรณ์ อมรเลิศพานิช. (2551). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการก่อหนี้ของครัวเรือนในภาคเหนือของประเทศไทย. (เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

ประพันธ์ เศวตนันทน์. (2552). ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์มหภาค. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปาริชาติ สุโฆษสมิต. (2548). ปัจจัยกำหนดการเพิ่มขึ้นของหนี้ครัวเรือนไทย. (เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

ปิยะชนันท์ เมตติยงวงศ์. (2561). โครงสร้างและปัจจัยกำหนดหนี้ครัวเรือนรายจังหวัดในประเทศไทย. (เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง).

ลดาวรรณ หรพงศ์. (2552). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการก่อหนี้ครัวเรือนในเขตกรุงเทพมหานคร. (เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

วาศินี พงศ์พิศิษฎ์สกุล. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อการก่อหนี้ภาคครัวเรือน ในเขตกรุงเทพมหานคร. (เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2550). การวิเคราะห์พหุระดับ. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี. (2564). TTB Analytics ระดับหนี้ครัวเรือนไทย. สืบค้น 30 มิถุนายน 2565. จาก https://www.ttbbank.com/th/newsroom/detail/thailand-household-debt.

สุระชัย เชื้อลิ้นฟ้า. (2550). พฤติกรรมการก่อหนี้ภาคครัวเรือนก่อนและหลังวิกฤตเศรษฐกิจในประเทศไทย. (เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

อมรทิพย์ แท้เที่ยงธรรม. (2540). เศรษฐศาสตร์มหภาค. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Debelle, G. (2004). Household debt and the macroeconomy. Retrieved 30 June 2022. from https://www.bis.org/publ/qtrpdf/r_qt0403e.pdf.

International Monetary Fund. (2022). Global ecovery continues, but the momentum has weakened and uncertainty has increased. Retrieved 12 July 2022. from https://www.imf.org/en/Publications/WEO/Issues/2021/10/12/world-economic-outlook-october-2021.

Kurowski, Ł. (2021). Household’s overindebtedness during the COVID-19 crisis: The role of debt and financial literacy. Retrieved 12 July 2022. from https://www.mdpi.com/2227-9091/9/4/62.

La Cava, G., & Simon, J. (2005). Household debt and financial constraints in Australia. Australian Economic Review, 38(1), 40-60.

Thaipublica. (2022). สำรวจภาระหนี้ต่อ GDP ทั่วโลก. Retrieved 12 February 2022. from https://thaipublica.org/2022/02/government-debt-to-gdp-by-country/.

Visualcapitalist. (2022). Visualizing the State of Global Debt, by Country. Retrieved 12 February 2022. from https://www.Visualcapitalist.com/global-debt-to-gdp-ratio/.

Yilmazer, T., & DeVaney, S. A. (2005). Household debt over the life cycle. Financial Services Review, 14(4), 285-304.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-13