ปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำธุรกรรมทางการเงินผ่าน ShopeePay

ผู้แต่ง

  • นิจิตตา วัฒนวินิจฉัย นิสิตปริญญาโท สาขาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย
  • วรดี จงอัศญากุล ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย

คำสำคัญ:

สังคมไร้เงินสด, การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์, กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการทำธุรกรรมทางการเงินผ่าน ShopeePay (2) เพื่อประเมินความพึงพอใจในส่วนประสมทางการตลาด (7Ps) ของการทำธุรกรรมทางการเงินผ่าน ShopeePay และ (3) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำธุรกรรมทางการเงินผ่าน ShopeePay โดยใช้ข้อมูลจากแบบสอบถามผู้ใช้บริการ ShopeePay ในรอบระยะเวลา 1 เดือน จำนวน 400 คน เพื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการศึกษา พบว่า ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่เรียนรู้การใช้งานแอปพลิเคชันด้วยตนเอง นิยมทำธุรกรรมทางการเงินผ่าน ShopeePay คือ ชำระค่าสินค้าผ่านแอปพลิเคชัน ShopeePay หรือชำระหน้าร้าน เนื่องจากใช้งานง่าย สะดวก รวดเร็ว มีความถี่ในการใช้งานเฉลี่ย 2 ครั้งต่อเดือน ช่วงเวลาที่ทำธุรกรรมมากที่สุด คือ 18.01 น. - 00.00 น. จำนวนเติมเงินเฉลี่ย 500 บาทต่อครั้ง โดยจะเติมเงินเมื่อต้องการซื้อสินค้าและบริการ สำหรับผลการประเมินความพึงพอใจในส่วนประสมทางการตลาด พบว่า ผู้ใช้บริการมีคะแนนความพึงพอใจด้านช่องทางการจัดจำหน่ายเป็นอันดับที่หนึ่ง รองลงมา ได้แก่ ด้านลักษณะทางกายภาพ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านกระบวนการ ด้านการส่งเสริมทางการตลาด ด้านบุคคล และด้านราคา ตามลำดับ สำหรับการวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำธุรกรรมทางการเงินผ่าน ShopeePay พบว่า คะแนนความพึงพอใจด้านกระบวนการและจำนวนรูปแบบการทำธุรกรรมทางการเงินผ่าน ShopeePay มีความสัมพันธ์ทางบวกต่อความถี่ในการใช้บริการ ShopeePay รายเดือน ดังนั้น ในการเพิ่มคะแนนความพึงพอใจด้านกระบวนการและจำนวนรูปแบบการทำธุรกรรมทางการเงินผ่าน ShopeePay ให้หลากหลายควรปรับปรุงขั้นตอนการสมัครใช้งานให้ง่ายขึ้นและเพิ่มปุ่มเมนูลัดสำหรับการทำธุรกรรมประเภทต่างๆ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการใช้บริการ ShopeePay รายเดือนที่มากขึ้น

References

เจษฎา ศรีเพ็ชร และ มนตรี โสคติยานุรักษ์. (2564). สังคมไร้เงินสดจากเศรษฐกิจแบบใช้เงินสดสู่เศรษฐกิจแบบไร้เงินสดในประเทศไทย. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(7), 84-98.

ชาณคริต จรูญเกียรติ และ จักรีรัตน์ แสงวารี. (2564). พฤติกรรมการใช้ทัศนคติและการยอมรับการใช้บริการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภคในวัยทำงานต่อการใช้บริการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ผ่านแอปพลิเคชันไลน์เพย์ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์, 24(1), 133-145.

ทัชชกร สัมมะสุต และ งามสิริ วิฑูรย์พันธุ์. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ TrueMoney Wallet ในเขตเมืองพัทยา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 12(2), 297-307.

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน). (2562). ทำความรู้จักธุรกรรมทางการเงินออนไลน์. สืบค้น 24 พฤษภาคม 2565. จาก https://www.scb.co.th/th/personal-banking/stories/are-you-ready-with-virtual-money.html.

ธนาคารอาคารสงเคราะห์. (2562). ทำความรู้จักธุรกรรมทางการเงินออนไลน์. สืบค้น 24 พฤษภาคม 2565. จาก https://blog.ghbank.co.th/online-banking-security/.

นฤมล จิตรเอื้อ. (2562). พฤติกรรมการใช้บริการธุรกรรมทางการเงินผ่านระบบพร้อมเพย์ในเขตกรุงเทพมหานคร. Humanities, Social Sciences and arts, 12(2), 775-802.

บริษัท ฟิลกู้ด เทคโนโลยี จำกัด. (2564). อัปเดตช่องทางซื้อ - ขายสินค้าออนไลน์ ปี 2021 ที่แม่ค้าออนไลน์ต้องรู้. สืบค้น 24 พฤศจิกายน 2565. จาก https://www.fillgoods.co/online-biz/no-shop-update-buying-channel-merchant-must-know.

ประอรพิต กัษฐ์วัฒนา. (2564). เช็คลิสต์ ประเทศไทยพร้อมโกออนกับ สังคมไร้เงินสด เต็มขั้นหรือยัง?. สืบค้น 24 พฤศจิกายน 2565. จาก https://www.salika.co/2021/09/21/check-list-thailand-ready-for-cashless-society-or-not/.

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2544). พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544. สืบค้น 24 พฤศจิกายน 2565. จาก https://www.etda.or.th/th/Useful-Resource/กฏหมาย-HTML/พระราชบญญตวาดวยธรกรรมทางอเลกทรอนกส/พระราชบญญตวาดวยธรกรรมทางอเลกทรอนกส-พ-ศ-2544.aspx.

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2564). รายงานผลสํารวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยปี 2564. สืบค้น 24 พฤศจิกายน 2565. จาก https://www.etda.or.th/getattachment/a3ad051d-e372-48f6-9fbe-9a22de75666c/IUB2021_Slides-V5.pdf.aspx.

อรสุภา จันทร์วงษ์. (2562). อิทธิพลของความไว้วางใจและประสบการณ์ของการใช้บริการธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ที่ขยายความสัมพันธ์ระหว่างอิทธิพลตนรอบข้าง. วารสารวิชาการการบริหารธุรกิจ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, 8(2), 47-68.

Cochran, W.G. (1953). Sampling Techniques. New York: John Wiley & Sons.

Karim, W., Haque, A., Ulfy, M.A., Hossain, A., & Anis, Z. (2020). Factors Influencing the Use of E-wallet as a Payment Method among Malaysian Young Adults. Journal of International Business and Management, 3(2), 1-12.

Laksmia, A. A. (2018). Behavior Users of E-Money for Payment in E-Toll Based on Assessment Technology Acceptences Model. (Bachelor Degree of Economics, University of Brawijaya).

Sunarjo, W.A., Nurhayati, S. & Muhardono, A. (2021). Consumer Behavior Toward Adoption of Mobile Payment: A Case Study in Indonesia During the COVID-19 Pandemic. Journal of Asian Finance,Economics and Business, 8(4), 0581-0590.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-08