ความพึงพอใจของประชาชนในเขตพื้นที่เทศบาลนครนนทบุรีต่อการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของจังหวัดนนทบุรีและเทศบาลนครนนทบุรี
คำสำคัญ:
ไวรัสโคโรนา 2019, มาตรการป้องกัน, ความพึงพอใจบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของประชาชนในเขตพื้นที่เทศบาลนครนนทบุรีต่อการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (2) เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของประชาชนในเขตพื้นที่เทศบาลนครนนทบุรีต่อการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ (3) เพื่อศึกษาการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนในเขตพื้นที่เทศบาลนครนนทบุรี จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการศึกษาพบว่า ความพึงพอใจของประชาชนต่อการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อยู่ในระดับมากที่สุดทุกมาตรการ ความพึงพอใจของประชาชนต่อการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 แตกต่างกัน เมื่อเพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา อาชีพ และตำบลที่อยู่อาศัยแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 มาตรการการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้แก่ มาตรการป้องกันในร้านอาหารให้มีการจัดทำฉากกั้น (Counter Shield) ระหว่างผู้รับประทานอาหารและเคาน์เตอร์กับผู้ใช้บริการ มาตรการขอความร่วมมือให้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคส่วนบุคคลและมาตรการการป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาล มาตรการป้องกันที่กำหนดให้กรณีที่ตรวจพบผู้ที่เป็นโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูง จำเป็นต้องกักตัวทันที 14 วัน มาตรการการป้องกันที่กำหนดให้โรงเรียนและสถาบันการศึกษาให้สถานศึกษาสามารถปรับการเรียนการสอนเป็นรูปแบบเรียนที่บ้าน เรียนที่สถานศึกษา หรือแบบผสมผสานและมาตรการป้องกันที่กำหนดให้ห้ามการแสดงต่อสาธารณชนที่มีการรวมกลุ่มของคนจำนวนมากทุกกรณี
References
กรมควบคุมโรค. (2564). แนวทางปฏิบัติเพื่อการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หรือโควิด 19 สำหรับประชาชนทั่วไปและกลุ่มเสี่ยง. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.
กรมควบคุมโรค. (2565). สถานการณ์ผู้ติดเชื้อรายวัน. สืบค้น 2 มีนาคม 2565. จาก https://ddc.moph.go.th/covid19-dashboard/?dashboard=province.
เกศรา โชคนำชัยสิริ, อัจฉรา โพชะโน และ กะชามาศ เซ่งเถี้ยน. (2564). ความพึงพอใจของผู้รับบริการในการรับบริการฉีดวัคซีน ป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง. กรุงเทพฯ: กลุ่มงานพัฒนาองค์กรและขับเคลื่อนกำลังคน สถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง.
คณะกรรมการบริหารจัดการความเสี่ยง. (2565). แผนบริหารจัดการความเสี่ยง. นนทบุรี: เทศบาลนครนนทบุรี.
จอมรุจจิโรจน์ เหตุเกษ. (2563). กลยุทธ์ในการจัดการสถานการณ์การแพร่ระบาดของ โควิด-19 ศึกษาเฉพาะกรณีเทศบาลตำบลบางเมือง อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ. (รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง).
จักรกฤษ เสลา, มงคล รัชชะ, อนุ สุราช, สาโรจน์ นาคจู และ สุรเดช สำราญจิตต์. (2564). วิถีชีวิตใหม่ในการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร, 24(2), 58-73.
จุฬภัทร์ จันทร์เมือง และ ภิรดา ชัยรัตน์. (2566). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่เรือนจำและทัณฑสถาน เขต 10 ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 (COVID-19). วารสารนิสิตวัง, 25(1), 1-13.
จุฬาลักษณ์ ใจแปง. (2565). การพยาบาลแบบองค์รวมเพื่อส่งเสริมสุขภาพและป้องกันการติดโรคโควิด-19 ในผู้สูงอายุ. วารสารสภาการพยาบาล, 37(4), 20-35.
แจ่มจันทร์ เทศสิงห์ และ พัชรี แวงวรรณ. (2564). บทบาทของพยาบาลในการูส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุให้ห่างไกลจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา, 7(2), 19-36.
ชัยชาญ พูลบัว และ จรัสพงศ์ คลังกรณ์. (2565). รูปแบบกระบวนการป้องกันโรค COVID-19 ที่มีสมรรถนะสูงของสถาบันบำราศนราดูร. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 7(2), 236-245.
ณัฎฐวรรณ คำแสน. (2564). ศึกษาความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมในการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ของประชาชนในเขตอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี, 4(1), 33-48.
ธนศักดิ์ ธงศรี. (2566). รูปแบบการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). โดยกลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน, 9(2), 58-71.
พรรษวรรณ สุขสมวัฒน์. (2565). ผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 และกลยุทธ์ทางรอดของธุรกิจบริการด้านอาหารและเครื่องดื่ม. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 24(1), 163-172.
พระปุญญาพัฒน์ แสงวงค์ดี. (2563). วิกฤติการณ์โลก กรณีการแพร่ระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่: บทบาทขององค์การอนามัยโลก สถานการณ์ในประเทศไทยและ New Normal. Journal of Social Synergy, 11(1), 88-108.
พิริยะ ผลพิรุฬห์. (2563). ผลกระทบทางเศรษฐศาสตร์จากไวรัสโควิด-19. กรุงเทพฯ: บริษัทบางกอกโพสต์.
เพ็ชรัตน์ ไสยสมบัติ. (2564). การศึกษาความคิดเห็นความพึงพอใจและปัญหาของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ “ชิมช้อปใช้”. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง, 10(3), 110-123.
ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์. (2563). การดำเนินงานสุขภาพจิตภายใต้วิกฤตโควิด 19 ของประเทศไทย. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย, 28(4), 280-291.
รำพึง นุ่มสารพัดนึก. (2565). ศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ของนักเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดนครนายก. สรรพสิทธิเวชสาร, 43(3), 91-110.
วิพร เกตุแก้ว. (2562). ระเบียบวิธีการวิจัย. กรุงเทพฯ: นิติธรรมการพิมพ์.
ศูนย์ปฏิบัติการเหตุการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด–19 จังหวัดนนทบุรี. (2563). ประกาศนนทบุรี เรื่อง ขอความร่วมมือในการดำเนินการตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 (COVID-19). สืบค้น 2 มีนาคม 2565. จาก http://www.nonthaburi.go.th/covid19/.
อภิวดี อินทเจริญ, คันธมาทน์ กาญจนภูมิ, กัลยา ตันสกุล และ สุวรรณา ปัตตะพัฒน์. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองคอหงส์ จังหวัดสงขลา. วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน, 3(2), 19-30.
Cronbach L. J. (1974). Essentials of Psychological testing. New York: Harper and Row.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rdEd.). New York: Harper and Row.
Zhong, B. L., Luo, W., Li, H. M., Zhang, Q. Q., Liu, X. G., Li, W. T., & Li, Y. (2020). Knowledge, attitudes, and practices towards COVID-19 among Chinese residents during the rapid rise period of the COVID-19 outbreak: A quick online cross-sectional survey. International Journal of Biological Sciences, 16(10), 1745-1752.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.