ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการทำกำไร: กรณีศึกษากลุ่มสหกรณ์ออมทรัพย์การไฟฟ้า

ผู้แต่ง

  • เรวัตร ขาวสำอางค์ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์สหกรณ์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย
  • ศศิภา พจน์วาที สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์สหกรณ์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย

คำสำคัญ:

สหกรณ์ออมทรัพย์การไฟฟ้า, อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์, กำไรสุทธิ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการทำกำไรของสหกรณ์ออมทรัพย์การไฟฟ้า ประกอบด้วย สหกรณ์ออมทรัพย์สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้านครหลวง จำกัด สหกรณ์ออมทรัพย์การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จำกัด และสหกรณ์ออมทรัพย์การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จำกัด โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากรายงานประจำปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 – 2562 การวิเคราะห์ข้อมูลภายใต้กรอบแนวคิดของ CAMELS Analysis ด้วยวิธี Multiple Linear Regression ผลการศึกษาพบว่า อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของทุนเพิ่มขึ้น ส่งผลให้กำไรสุทธิของสหกรณ์ออมทรัพย์การไฟฟ้าเพิ่มขึ้น ส่วนอัตราการหมุนของสินทรัพย์ และความสามารถในการทำกำไร (อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์) มีความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อย่างไรก็ตาม อัตราส่วนหนี้สินต่อทุนส่งผลกระทบเชิงลบต่ออัตราส่วนความสามารถในการทำกำไร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่อัตราการเติบโตของธุรกิจพบว่า ไม่มีความสัมพันธ์ต่อความสามารถในการทำกำไรของสหกรณ์ออมทรัพย์การไฟฟ้าในประเทศไทย ผลของการศึกษาในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อขบวนการสหกรณ์ โดยมุ่งเน้นกลยุทธ์ด้านการจัดการด้านสินทรัพย์และหนี้สินเป็นสำคัญ จะนำไปสู่สถานการณ์ทางการเงินที่มั่นคงของสหกรณ์ออมทรัพย์ในอนาคต

References

กนกวรรณ สุดสะอาด. (2561). การประเมินผลการดําเนินงานของสหกรณ์ออมทรัพย์ กรณีศึกษา : สหกรณ์ข้าราชการสหกรณ์ จํากัด, สหกรณ์ออมทรัพย์ข้าราชการกระทรวงศึกษาธิการ จํากัด และสหกรณ์ออมทรัพย์ครูประจวบคีรีขันธ์ จํากัด. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง).

กรมตรวจบัญชีสหกรณ์. (2548). คู่มือการปฏิบัติงานสอบบัญชีสหกรณ์. กรุงเทพฯ: กรมตรวจบัญชีสหกรณ์.

กรมส่งเสริมสหกรณ์. (2566). ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสหกรณ์. สืบค้น 19 มกราคม 2566. จาก https://cpd.go.th/knowledge/general-coop.html.

ชญานิศ กล่ำคุ้ม, พิมพ์พร โสววัฒนกุล และ ลลิตา จันทรวงศ์ไพศาล หงุ่ยตระกูล. (2566). ผลกระทบของสหกรณ์ออมทรัพย์ภายใต้หน่วยงานที่ขาดรายได้ จากสถานการณ์การระบาดของไวรัสโคโรนา 2019: กรณีศึกษากลุ่มสหกรณ์ออมทรัพย์ในอุตสาหกรรมการบิน. วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์, 5(1), 75-86.

โชษิตา เปสตันยี และ สรียา วิจิตรเสถียร. (2562). ปัจจัยของการบริหารเงินทุนหมุนเวียนที่มีผลต่อความสามารถในการทำกำไร กลุ่มอุตสาหกรรมเกษตรและอุตสาหกรรมอาหารในบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารเทคโนโลยีสุรนารี, 13(1), 89-104.

Clark, J. B. (1891). Distribution as Determined by a Law of Rent. The Quarterly Journal of Economics, 5(3), 289-318.

Pearson, K. (1920). Notes on the history of correlation. Biometrika, 13(1), 25-45.

Ross, S. A. (1977). The Determination of Financial Structure: The Incentive-Signalling Approach. The Bell Journal of Economics, 8(1), 23-40.

Solomon, E. (1963). The Theory of Financial Management. New York: Colombia University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-10