การศึกษาระบบงบประมาณที่มีประสิทธิภาพ กรณีศึกษา บริษัทผลิตเครื่องจักรในอุตสาหกรรมก่อสร้างในจังหวัดระยอง

ผู้แต่ง

  • ธีระยุทย์ แต้มศรี สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาอุสาหกรรม คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย
  • สมบูรณ์ สาระพัด สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาอุสาหกรรม คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย

คำสำคัญ:

งบประมาณ, ปัญหาระหว่างการจัดทำงบประมาณ, ปัญหาระหว่างการใช้งบประมาณ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัญหาและอุปสรรคของการนำระบบงบประมาณมาใช้ในการบริหารงาน และ (2) ข้อเสนอแนะและแนวทางการแก้ไขและป้องกันปัญหาที่เกิดจากการใช้งบประมาณในการบริหารงานเพื่อให้การบริหารมีประสิทธิภาพ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มประชากรที่ใช้เป็นข้อมูลในการวิจัยเป็นพนักงานของบริษัทผลิตเครื่องจักรอุตสาหกรรมก่อสร้างในจังหวัดระยอง ที่มีส่วนร่วมในระบบงบประมาณ ทั้งการจัดทำงบประมาณ อนุมัติงบประมาณและใช้งบประมาณ ประกอบด้วย พนักงานระดับปฏิบัติการ ระดับหัวหน้างาน และระดับผู้จัดการ จำนวนทั้งหมด 17 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่และค่าสถิติร้อยละ ผลการศึกษาพบว่า (1) ปัญหาที่เกิดขึ้นในระหว่างขั้นตอนการจัดทำงบประมาณ ได้แก่ การใช้เวลามากในการจัดทำงบประมาณ การขาดข้อมูลที่เพียงพอในการทำงบประมาณและบุคลากรไม่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ที่เพียงพอในการจัดทำงบประมาณให้มีประสิทธิภาพ ปัญหาที่เกิดขึ้นในการใช้งบประมาณ การใช้จ่ายจริงที่เกิดขึ้นล่าช้ากว่าช่วงเวลาที่กำหนด ความไม่แน่นอนของยอดการผลิตและปัจจัยภายนอก ทำให้ไม่สามารถใช้งบประมาณได้ตามแผน (2) ข้อเสนอแนะและแนวทางการแก้ไขและป้องกันปัญหาที่เกิดจากการใช้งบประมาณในการบริหารงานโดย 1) การจัดทำแผนและกำหนดงบประมาณอย่างรัดกุม 2) นำค่าใช้จ่ายจริงในอดีตมาเป็นแนวทางในการจัดทำงบประมาณ 3) มีการติดตามการใช้งบประมาณและรายงานผลอย่างต่อเนื่อง ปรับแผนงบประมาณทุกไตรมาส และ 4) วิเคราะห์ผลการปฏิบัติงานจริงเปรียบเทียบกับเป้าหมายของงบประมาณที่กำหนดไว้ เพื่อหาแนวทางปรับปรุงให้ดีขึ้นในอนาคต

References

ญานิษา วิมลวงศ์สกุล. (2564). การจัดทำงบประมาณของธุรกิจเอเจนซี่โฆษณา : กรณีศึกษา บริษัท ABC จำกัด. (บัญชีมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

ธเนศ มหัทธนาลัญ. (2564). แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรม ปี 2564-2566: ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง. สืบค้น 5 มีนาคม 2566. จาก https://www.krungsri.com/th/research/industry/industry-outlook/Construction-Construction-Materials/Construction-Contractors/IO/io-Construction-Contractors-21.

ธันยนันทน์ รัตนประยูร. (2566). สินค้าเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ. สืบค้น 5 มีนาคม 2566. จาก https://www.ditp.go.th/post/78275.

นันทนา ศรีชัยมูล. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการงบประมาณของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา).

เบญจมาศ อภิสิทธิ์ภิญโญ. (2548). ความสำคัญของงบประมาณธนาคาร. กรุงเทพฯ: เนชั่น.

พุทธชาด สมิดเมฆ. (2545). ปัญหาและอุปสรรคในการจัดทำงบปประมาณและการการนำงบประมาณมาใช้ในบริษัทกลุ่มธุรกิจประเภทผลิตไฟฟ้า. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย).

รัตติยา สัจจภิรมย์. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารงบประมาณรายจ่ายเงินรายได้ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (รายงานวิจัย). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.

Colin Pidgeon, C. (2010). Methods of budgeting. Retrieved 2 September 2022. from http://www.niassembly.gov.uk/globalassets/documents/raise/publications/2010/finance-personnel/0610.pdf.

Gioia, D. A., Corley, K. G., & Hamilton, A. L. (2013). Seeking qualitative rigor in inductive research: Notes on the Gioia methodology. Organizational research methods, 16(1), 15-31.

Love, P. E., & Ika, L. A. (2022). Making sense of hospital project misperformance: Over budget, late, time and time again—Why? And what can be done about it?. Engineering, 12, 183-201.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28