การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อกำไรสุทธิของสหกรณ์ออมทรัพย์ กรณีให้สิทธิและไม่ให้สิทธิสมาชิกสหกรณ์ถอนหุ้นคืนบางส่วน

ผู้แต่ง

  • ฐิติพร เพิ่มสมบูรณ์ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์สหกรณ์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย
  • ศศิภา พจน์วาที สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์สหกรณ์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย
  • ประไพพิมพ์ สุธีวสินนนท์ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์สหกรณ์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย

คำสำคัญ:

กำไรสุทธิ, ทุนเรือนหุ้นสมาชิกสหกรณ์, ถอนหุ้นคืน, สหกรณ์ออมทรัพย์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อกำไรสุทธิของสหกรณ์ออมทรัพย์ กรณีให้สิทธิ และไม่ให้สิทธิสมาชิกสหกรณ์ถอนหุ้นคืนบางส่วน โดยเก็บรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิจากรายงานประจำปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 - 2564 กลุ่มตัวอย่าง คือ สหกรณ์ออมทรัพย์ขนาดใหญ่ที่มีทุนเรือนหุ้นสูงสุดของแต่ละสายอาชีพ จำนวน 9 สหกรณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ Panel Data Regression ด้วยวิธีกำลังสองน้อยที่สุดทั่วไป (Estimated Generalized Least Square: EGLS) ผลการศึกษาพบว่า เงินปันผลจ่าย ดอกเบี้ยรับและผลตอบแทนจากการลงทุน มีผลกระทบเชิงบวกต่อกำไรสุทธิของสหกรณ์ออมทรัพย์ กรณีให้สิทธิ และไม่ให้สิทธิสมาชิกสหกรณ์ถอนหุ้นคืนบางส่วน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่ปัจจัยด้านทุนเรือนหุ้นของสมาชิก ส่งผลกระทบต่อกำไรสุทธิของสหกรณ์ออมทรัพย์ ในทิศทางตรงกันข้ามอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทั้งสองกรณี กรณีให้สิทธิสมาชิกสหกรณ์ถอนหุ้นคืนบางส่วน พบว่ากำไรสุทธิของสหกรณ์ออมทรัพย์ ได้รับอิทธิพลในเชิงบวกจากสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน ในขณะที่กรณีไม่ให้สิทธิสมาชิกสหกรณ์ถอนหุ้นคืนบางส่วน พบว่าสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน ไม่มีผลต่อกำไรสุทธิของสหกรณ์ออมทรัพย์ เมื่อเปรียบเทียบระดับความสำคัญของปัจจัยในแต่ละกรณี พบว่า ปัจจัยที่ทำการศึกษามีผลกระทบต่อกำไรสุทธิของสหกรณ์ออมทรัพย์ กรณีให้สิทธิสมาชิกสหกรณ์ถอนหุ้นคืนบางส่วน มากกว่ากรณีไม่ให้สิทธิสมาชิกสหกรณ์ถอนหุ้นคืนบางส่วน

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2565). สถิติผู้สูงอายุในไทย ปี 2565. กรุงเทพฯ: กรมกิจการผู้สูงอายุ.

กรมตรวจบัญชีสหกรณ์. (2565). สารสนเทศน่ารู้ทางการเงินของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ปี 2565. กรุงเทพฯ: กรมตรวจบัญชีสหกรณ์.

กรมส่งเสริมสหกรณ์. (2566). คลินิกกฎหมาย. สืบค้น 28 เมษายน 2566. จาก http://e-service.cpd.go.th/elib/list_g1.asp.

กฤศณัฏฐ์ วิรัตน์วรกร และ กนกศักดิ์ สุขวัฒนาสินิทธิ์. (2564). ศักยภาพในการเติบโตของธุรกิจที่ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการทำกำไรและผลตอบแทนหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนกลุ่ม SET 100 ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 8(2), 365-380.

จุฑามาศ หนูห่วง และ อภิชาติ พงศ์สุพัฒน์. (2564). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อโครงสร้างเงินทุนของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ดัชนี SET 100. Journal of Buddhist Education and Research, 7(3), 16-29.

ชญานิศ กล่ำคุ้ม, พิมพ์พร โสววัฒนกุล และ ลลิตา จันทรวงศ์ไพศาล หงุ่ยตระกูล. (2566). ผลกระทบของสหกรณ์ออมทรัพย์ภายใต้หน่วยงานที่ขาดรายได้ จากสถานการณ์การระบาดของไวรัสโคโรนา 2019: กรณีศึกษากลุ่มสหกรณ์ออมทรัพย์ในอุตสาหกรรมการบิน. วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์, 5(1), 75-86.

ชูศักดิ์ จรูญสวัสดิ์. (2563). การวิเคราะห์ข้อมูลและการใช้สถิติในงานวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). ปทุมธานี: คิสุกะ (ประเทศไทย).

ติณณ์ จงเจริญในธรรม. (2562). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อกำไรของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนไทย. ใน การประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 3 “GRADUATE SCHOOL CONFERENCE 2019” 15 พฤศจิกายน 2562 (น.557-564). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

ทัตชญา วัชระเดชาภัทร. (2551). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อกำไรสุทธิของสหกรณ์ออมทรัพย์ไทย. (ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2565). รายงานการประเมินเสถียรภาพระบบการเงินไทย รายไตรมาสที่ 2 ปี 2565. กรุงเทพฯ: ธนาคารแห่งประเทศไทย.

พีรญา ศรีประเสริฐ และ อัครนันท์ คิดสม. (2561). ปัจจัยด้านสินเชื่อที่มีผลต่อการทำกำไรของธนาคารพาณิชย์ กรณีศึกษาธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน). ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิชาการระดับชาติ UTCC Acdemic Day ครั้งที่2 8 มิถุนายน 2561 (น.976-992). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

ไพฑูรย์ ไกรพรศักดิ์. (2559). เศรษฐมิติ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Breusch, T., & Pagan, A. (1979). A simple test for heteroskedasticity and random coefficient variation. Econometrica, 47, 1278-1294.

Durbin, J., & Watson, G. s. (1951). Testing for serial correlation in least squares regression II. Biometrika, 38(1/2), 159-177.

Hausman, J. A. (1978). Specification tests in econometrics. Econometrica, 46(6), 1251-1271.

Matendechere, E. A. (2015). The relationship between dividend payout and performance of Savings and Credit Cooperative Societies in Nairobi County. (Master's thesis, University of Nairobi).

Moulton, B. R., & Randolph, W. C. (1989). Alternative test of the error components model. Econometrica, 57(3), 685-693.

Pearson, K. (1920). Notes on the history of correlation. Biometrika, 13(1), 25-45.

Spence, M. (1973). Job market signaling. The quarterly journal of Economics, 87(3), 355-374.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-09-20