การศึกษาความเป็นไปได้โครงการสถานีอัดประจุไฟฟ้าโดยใช้พลังงานไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ แบบมีแบตเตอรี่กักเก็บพลังงาน
คำสำคัญ:
สถานีอัดประจุไฟฟ้า, ระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์, แบตเตอรี่กักเก็บพลังงาน, ยานยนต์ไฟฟ้า, ความอ่อนไหวบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ด้านการตลาด และความเป็นไปได้ด้านเทคนิคของโครงการสถานีอัดประจุไฟฟ้าโดยใช้ไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ แบบมีแบตเตอรี่กักเก็บพลังงานบนพื้นที่จังหวัดระยอง และ (2) เพื่อวิเคราะห์ความเป็นไปได้เชิงการเงิน และวิเคราะห์ความอ่อนไหวของโครงการสถานีอัดประจุไฟฟ้าโดยใช้ไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ แบบมีแบตเตอรี่กักเก็บพลังงาน บนพื้นที่จังหวัดระยอง กำหนดให้มีจำนวนเครื่องอัดประจุ 2 เครื่อง แบบ DC Charger ขนาด 120 KW ขนาดกำลังไฟฟ้าที่เพียงพอในการผลิตประมาณ 500 KW และมีแบตเตอรี่กักเก็บพลังงาน ขนาด 5 MW โดยข้อมูลสำหรับการประมาณการกระแสเงินรวบรวมจากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ และเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า กรณีผู้ใช้บริการสถานีที่เต็มประสิทธิภาพ หรือปี พ.ศ. 2572 ที่อายุโครงการ 10 ปี มูลค่าปัจจุบันสุทธิเท่ากับ -39,150,812.26 บาท อัตราผลตอบแทนภายในจากการลงทุนเท่ากับ ร้อยละ -15.30 ระยะเวลาคืนทุนเท่ากับ 17.63 ปีซึ่งมากกว่าอายุโครงการ และอัตราส่วนผลประโยชน์ต่อต้นทุนค่อนข้างต่ำมากเท่ากับ 0.43 เท่า สะท้อนได้ว่าโครงการลงทุนนี้ไม่มีความเหมาะสม นอกจากนั้นแล้วการวิเคราะห์ความอ่อนไหวของโครงการ 2 กรณี คือ ต้นทุนของแบตเตอรี่และอุปกรณ์ผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ปรับลดลงร้อยละ 35 และรายได้จากการให้บริการเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 ผลการวิเคราะห์ความเป็นไปก็ยังไม่มีความคุ้มค่าในการลงทุนแม้ในกรณีที่ต้นทุนลดลงหรือรายได้เพิ่มขึ้น ดังนั้น การส่งเสริมพลังงานไฟฟ้าทางเลือกสำหรับสถานีบริการอัดประจุไฟฟ้าให้รถยนต์ไฟฟ้าจึงมีความจำเป็นที่ต้องได้รับการขับเคลื่อนผ่านการอุดหนุนทางเงินของหน่วยงานรัฐ
References
กนกวรรณ จันทร์เจริญชัย. (2562). หลักการวิเคราะห์ความเป็นไปได้เชิงเศรษฐศาสตร์และธุรกิจ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน. (2560). ฐานข้อมูลความเข้มรังสีแสงอาทิตย์ ระดับตำบล ปี 2560. สืบค้น 20 พฤศจิกายน 2565. จาก https://www.dede.go.th/more_news.php?cid=547&filename=index.
กองถ่ายทอดและเผยแพร่เทคโนโลยี กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน. (2562). การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานและอาทิตย์. สืบค้น 25 กันยายน 2565. จาก https://webkc.dede.go.th/testmax/sites/ default/files/คู่มือการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ BLN_0.pdf.
คณะทํางานศึกษาและจัดทําแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านไฟฟ้าเพื่อรองรับยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศไทย. (2559). รายงานแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านไฟฟ้าเพื่อรองรับยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศไทย. สืบค้น 22 กันยายน 2565. จาก https://www.pea.co.th/Portals/0/Document/attachment/EV-EGATPEAMEA2560.pdf.
ฉัตรวดี อินนะลา. (2562). ปัจจัยอิทธิพลที่มีต่อการสร้างโอกาสในการซื้อยานยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร. (เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).
ณธีพัฒน์ ภูมิเดชาวัฒน์. (2563). การศึกษาความเป็นไปได้ทางเทคนิคและทางเศรษฐศาสตร์ของสถานีอัดประจุไฟฟ้า. (วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).
ธนาคารไทยพาณิชย์. (2565). อัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อหรือเงินให้กู้ยืม. สืบค้น 10 มกราคม 2566. จาก https://www.scb.co.th/content/dam/scb/personal-banking/rates-fees/loans/2022/loans65-06.pdf.
ศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐ. (2563). ปริมาณการเดินทางบนทางหลวง ปี 2562. สืบค้น 10 ธันวาคม 2565. จาก https://data.go.th/dataset/highwaystravel2562.
สำนักงานคณะกรรมการการกำกับกิจการพลังงาน. (2565). คู่มือประกอบกิจการสถานีอัดประจุไฟฟ้า สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า. สืบค้น 22 กันยายน 2565. จาก https://www.erc.or.th/web-upload/200xf869baf82be74c18cc110e974eea8d5c/filecenter/PDF/manual-ev.pdf.
กรมขนส่งทางบก. (2565). สถิติรถจดทะเบียน (สะสม). สืบค้น 10 ธันวาคม 2565. จาก https://web.dlt.go.th/statistics/.
AUTOLIFETHAILAND. (2565). ยอดจดทะเบียน รถไฟฟ้า 100% ในไทย เดือน กันยายน 2022. สืบค้น 1 พฤศจิกายน 2565. จาก https://autolifethailand.tv/register-ev-bev-thailand-sep-2022/.
Car2Day. (2565). คิดค่าบริการ สถานีชาร์จรถไฟฟ้า EV Station PluZ ของ OR. สืบค้น 15 ธันวาคม 2565. จาก https://car2day.com/ev-station-pluz-ptt-news-2022/.
Economic Intelligence Center. (2566). ราคาพลังงานโลกปี 2023 ท่ามกลางความเปราะบางของ Supply. สืบค้น 28 เมษายน 2566. จาก https://www.scbeic.com/th/detail/file/product/8972/gkgdzfejsp/Industry-Insight_Energy_20230428.pdf.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.