พฤติกรรมการชำระค่าสินค้าและบริการผ่านระบบคิวอาร์โค้ด (QR Code)

ผู้แต่ง

  • ธัญญกาญจน์ เชิดชูพงษ์ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย
  • วรดี จงอัศญากุล สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย

คำสำคัญ:

พฤติกรรม, ความพึงพอใจ, คิวอาร์โค้ด

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคของระบบคิวอาร์โค้ด (2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการชำระค่าสินค้าและบริการผ่านระบบคิวอาร์โค้ด ของผู้บริโภค และ (3) เพื่อศึกษาความแตกต่างของปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อความพึงพอใจในการชำระค่าสินค้าและบริการผ่านระบบคิวอาร์โค้ดของผู้บริโภค โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิและข้อมูลปฐมภูมิ ทั้งในส่วนของร้านค้าจำนวน 10 ตัวอย่าง และในส่วนของผู้บริโภคจำนวน 400 ตัวอย่าง ผลการศึกษาพบว่า ระบบการชำระค่าสินค้าและบริการผ่านระบบคิวอาร์โค้ด มีจุดแข็ง ได้แก่ ความสะดวกในการใช้งานและความหลากหลายในการใช้งาน มีจุดอ่อน ได้แก่ การปิดปรับปรุงระบบที่บ่อยและใช้เวลานาน และไม่สามารถทำธุรกรรมระหว่างประเทศได้ ในด้านโอกาส ได้แก่ ความนิยมในธุรกิจออนไลน์ รวมถึงพฤติกรรมลดการสัมผัสในการทำธุรกรรมของประชาชน ด้านอุปสรรค ได้แก่ปัญหาทางเทคโนโลยีและความกังวลในความปลอดภัยของระบบ โดยผู้ใช้บริการส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมีช่วงอายุ 31-40 ปี มีการศึกษาระดับต่ำกว่าหรือเทียบเท่าปริญญาตรี เป็นพนักงานบริษัทเอกชน มีรายได้เฉลี่ย 30,001-60,000 บาทต่อเดือน ส่วนใหญ่ใช้บริการการชำระค่าสินค้าและบริการผ่านระบบคิวอาร์โค้ดวันละ 1 ครั้ง เป็นค่าอาหารและเครื่องดื่ม ผ่านธนาคารกสิกรไทยมากที่สุด นอกจากนี้ ยังพบความแตกต่างด้านช่วงอายุ อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และสถานภาพส่งผลต่อความพึงพอใจทั้งด้านการรับรู้ถึงประโยชน์และด้านการรับรู้ความง่ายต่อการใช้งาน ในขณะที่ระดับการศึกษาที่แตกต่างกันส่งผลต่อความพึงพอใจในด้านการรับรู้ความง่ายต่อการใช้งานเท่านั้น ทั้งนี้ ภาครัฐจึงควรส่งเสริมการทำธุรกรรมการเงินผ่านระบบคิวอาร์โค้ด โดยการสร้างความน่าเชื่อถือและความรู้ความเข้าใจในการใช้งานระบบคิวอาร์โค้ด รวมทั้งร่วมมือกับผู้ให้บริการในการพัฒนาความสามารถของระบบและสิ่งแวดล้อมให้ดียิ่งขึ้น

References

จิรวัฒน์ วงศ์ธงชัย และ กาญจนา สุคัณธสิริกุล. (2557). ปัจจัยด้านการรับรู้ที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีบาร์โค้ดสองมิติของผู้ใช้งานกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย. วารสารเทคโนโลยีสุรนารี, 8(1), 37-54.

ธัญญลักษณ์ พลวัน, สุพรรษา กุลแก้ว และ ณัฐสิทธิ์ เกิดศรี. (2557). พฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีและปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยี QR Code ของกลุ่มประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร. วิศวกรรมสาร มก., 88(27), 29-40.

ภูริทัต สุนทรห้าว และธีรารัตน์ วรพิเชฐ. (2564). อิทธิพลของการรับรู้ความเสี่ยงการทำธุรกรรมทางการเงินผ่าน QR Code ของพร้อมเพย์ที่ส่งผลต่อกระบวนการยอมรับเทคโนโลยีของผู้ใช้งานในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 17(3), 165-182.

Fillgoods Technology. (2021). QR code คืออะไร พร้อมวิธีใช้แบบถูกต้อง. สืบค้น 11 กรกฏาคม 2565. จาก https://www.fillgoods.co/online-biz/no-shop-qr-code-to-use-correct.

Kennard Derian, Jeannifer Marciella and Minsani Mariani. (2019). Customer Acceptance of QR Technology Used in Mobile Payment: A Study of Three Generation Cohorts in Jakarta. International Journal of Social Relevance & Concern, 7(1), 47-52.

Nguyen Nhan, Mai Nhu & Tuan Anh Le. (2019). Research Factors Affecting to Decide to use the QR Code Service in Payment of Individual Customers at Commercial Banks: Experimental Survey on Da Nang City. International Journal of Innovative Science and Research Technology, 4(4), 861-868.

QRTIGER. (2022). QR Code สำหรับการชำระเงิน: ถนนสู่สังคมไร้เงินสด. สืบค้น 11 กรกฏาคม 2565. จาก https://www.qrcode-tiger.com/th/qr-code-for-payment.

Yadav, R., Chauhan, V., & Pathak, G. S. (2015). Intention to adopt internet banking in an emerging economy: a perspective of Indian youth. International Journal of Bank Marketing, 33(4), 530-544.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-09-22