ปัจจัยที่มีผลต่อมูลค่าการซื้ออาหารริมทาง (Street Food) ของผู้บริโภค ผ่านแอพพลิเคชันชอปปี้ฟู้ด (Shopee Food) ในกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • คุณานนท์ วรรณสาร นิสิตปริญญาโท สาขาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย
  • ชิดตะวัน ชนะกุล ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย

คำสำคัญ:

อาหารริมทาง, แอพพลิเคชัน, ชอปปี้ฟู้ด

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมและความคิดเห็นด้านปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีต่อมูลการซื้ออาหารริมทาง และ (2) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อมูลค่าการซื้ออาหารริมทาง การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามจำนวน 400 ชุด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ จำนวนความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ และ P-Value ผลการศึกษาพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีช่วงอายุอยู่ระหว่าง 15 - 32 ปี มีระดับการศึกษาปริญญาตรี ประกอบอาชีพเป็น พนักงานบริษัทเอกชน หรือรับจ้าง มีรายได้รวมต่อเดือน 2,000 - 41,300 บาท มีรายจ่ายรวมต่อเดือน 1,500 - 34,300 บาท มีหนี้สินรวม 0 - 1,000,000 บาทความถี่ในการซื้อต่อสัปดาห์อยู่ที่ระหว่าง 1 - 4 ครั้งต่อสัปดาห์ ค่าใช้จ่ายในการบริโภคต่อสัปดาห์อยู่ที่ 100 – 1,700 บาทต่อสัปดาห์ ประเภทอาหารที่ซื้อประจำเป็นอาหารคาว ส่วนใหญ่จะเข้าซื้อช่วงเวลา 12 : 00 น. - 17 : 00 น. ช่องทางการชำระเงิน เป็นการเก็บเงินปลายทาง ความถี่ในการรับประทานอาหารข้างนอกบ้าน 0 - 7 ครั้งต่อสัปดาห์ 2) ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดด้านการส่งเสริมการตลาดส่งผลต่อมูลค่าการซื้ออาหารริมทางผ่านแอพพลิเคชันชอปปี้ฟู้ด

References

นุช สิงห์แก้ว. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการสั่งอาหารผ่านสื่อออนไลน์ของผู้บริโภค ในเขตกรุงเทพมหานคร. สืบค้น 25 มีนาคม 2566. จาก https://mmm.ru.ac.th/MMM/IS/mlw12/6114961018.pdf.

สัณฑวุฒิ ตุลารักษ์. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกใช้บริการแอพพลิเคชัน สั่งและจัดส่งอาหารของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2565). สรุปผลที่สำคัญ ประชากรแฝงในประเทศไทย พ.ศ. 2564. กรุงเทพฯ: กองสถิติพยากรณ์

สุขุมาภรณ์ ปานมาก. (2560). การตัดสินใจใช้บริการอาหารแบบส่งถึงที่ของผู้บริโภคจังหวัดชลบุรี. (นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).

eukeik .ee. (2565). ตลาด Street Food ทำไมจึงมีมูลค่าตลาดสูงกว่าร้านอาหาร Full Service. สืบค้น 13 มีนาคม 2566. จาก https://marketeeronline.co/archives/247024.

Korteling. (2021). Best Bangkok Street Food | Thailand. Retrieved 13 march 2023 from https://www.cantravelwilltravel.com/street-food-bangkok-thailand/.

Kris Piroj. (2560). สูตร Taro Yamane สำหรับ คำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่าง. สืบค้น 10 เมษายน 2566. จาก https://greedisgoods.com/taro-yamane/.

Marketeer Team. (2564). เจาะอินไซด์ Food delivery มีโอกาสเติบโตมากแค่ไหน. สืบค้น 13 มีนาคม 2566. จาก https://marketeeronline.co/archives/238462.

WP. (2564). ตีแผ่สมรภูมิ “อีคอมเมิร์ซ” แข่งเดือดทะลุ 7.5 แสนล้าน “Shopee-LAZADA” วิ่งนำ สุดท้ายเหลือไม่กี่เจ้า!. สืบค้น 13 มีนาคม 2566. จาก https://www.brandbuffet.in.th/2021/08/thailand-and-asean-e-commerce-landscape-kkp-research/.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-09-24