การวิเคราะห์คุณลักษณะของผลิตภัณฑ์ชาเบลนด์ที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้บริโภค

ผู้แต่ง

  • ภาวินา จิตราภิรมย์ นิสิตบัณฑิตศึกษาสาขาวิชาธุรกิจการเกษตร ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย
  • จักรกฤษณ์ พจนศิลป์ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย
  • ศานิต เก้าเอี้ยน ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย

คำสำคัญ:

ชาทั่วไป, ชาเบลนด์, ชาสมุนไพร, การแบ่งกลุ่ม, การวิเคราะห์องค์ประกอบร่วม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาลักษณะและพฤติกรรมของกลุ่มผู้บริโภค และ (2) เพื่อวิเคราะห์คุณลักษณะของผลิตภัณฑ์ชาเบลนด์ที่มีผลต่อความพึงพอใจแต่ละกลุ่มผู้บริโภค การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นการเก็บข้อมมูลโดยการใช้แบบสอบถามจากกลุ่มผู้บริโภคที่มีพฤติกรรมดื่มและซื้อชามาเพื่อบริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร และวิเคราะห์ข้อมูลการแบ่งกลุ่มผู้บริโภคด้วยเทคนิค Cluster Analysis และวิเคราะห์ความพึงพอใจด้วยเทคนิค Conjoint Analysis ผลการศึกษาพบว่า สามารถแบ่งกลุ่มผู้บริโภคได้เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้บริโภคกลุ่มที่ 1 จำนวน 159 ราย ประกอบด้วยเพศหญิงมากกว่าเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 38 ปี รายได้เฉลี่ย 47,100 บาทต่อเดือน การศึกษาสูงสุดอยู่ในระดับปริญญาตรีและประกอบอาชีพเป็นข้าราชการ/เจ้าหน้าที่/ลูกจ้างของรัฐเป็นหลัก สำหรับด้านพฤติกรรมการบริโภคจะมีความถี่ในการบริโภคอยู่ที่ 3 ครั้งต่อสัปดาห์และความถี่ในการซื้ออยู่ที่ 2 ครั้งต่อเดือน ซึ่งในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาผู้บริโภคกลุ่มนี้ส่วนใหญ่นิยมดื่มชาเบลนด์มากที่สุด โดยวัตถุประสงค์ที่เลือกดื่มชาส่วนใหญ่จะดื่มเพื่อบำรุงสุขภาพ กลุ่มผู้บริโภคกลุ่มที่ 2 จำนวน 259 ราย ประกอบด้วยเพศหญิงมากกว่าเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 29 ปี รายได้เฉลี่ย 19,652 บาทต่อเดือน และมีการศึกษาสูงสุดอยู่ในระดับปริญญาตรีและประกอบอาชีพเป็นพนักงานบริษัท/ลูกจ้างเอกชนเป็นหลัก สำหรับด้านพฤติกรรมการบริโภคจะมีความถี่ในการบริโภคอยู่ที่ 3 ครั้งต่อสัปดาห์และความถี่ในการซื้อเพื่อมาบริโภคเฉลี่ยอยู่ที่ 1 ครั้งต่อเดือน ซึ่งในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาผู้บริโภคกลุ่มนี้ส่วนใหญ่นิยมดื่มชาทั่วไป โดยวัตถุประสงค์ที่เลือกดื่มชาส่วนใหญ่จะดื่มเพราะชื่นชอบในรสชาติ สำหรับการพิจารณาค่าความพึงพอใจของแต่ละชุดคุณลักษณะพบว่า ผู้บริโภคกลุ่มที่ 1 และผู้บริโภคกลุ่มที่ 2 มีความพึงพอใจในชุดคุณลักษณะที่ 2 มากที่สุด (ประกอบไปด้วยรูปทรงบรรจุภัณฑ์แบบกล่องกระดาษ สูตรชาเบลนด์แบบชา + ดอกไม้อบแห้ง การบรรจุแบบบรรจุในซองชาสำเร็จรูปพร้อมชง และราคา 200 บาท/ 100 กรัม)

References

กัญจนา กุศลชู. (2551). ทัศนคติของผู้บริโภคที่มีต่อชาสมุนไพรเจียวกู่หลานในอำเภอเชียงใหม่. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2548). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

กุลฑลี รื่นรมย์. (2551). การวิจัยการตลาด. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

ธีรศักดิ์ เจริญวุฒิวนพันธ์. (2552). พฤติกรรมผู้บริโภคชาพร้อมดื่มในเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).

ภัทราวดี ศรีปัญญา, กาญจนา สุรยนต์, โกวิท ยอดมงคล และ ดำรงศักดิ์ ฤทธิ์งาม. (2557). พฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์ชาและการยอมรับต่อผลิตภัณฑ์ชาเขียวหมู่บ้านนาจอก. วารสารแก่นเกษตร, 42(1), 562-565.

ศิริลักษณ์ วิกยานนท์. (2545). การศึกษาพฤติกรรมการบริโภคและปัจจัยทางการตลาดที่ผู้บริโภคใช้ประกอบในการพิจารณาเลือกซื้อเครื่องดื่มชาสมุนไพร. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยหอการค้า).

สำนักการค้าสินค้า กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ. (2565). สินค้าชา. สืบค้น 15 มกราคม 2566. จาก https://api.dtn.go.th/files/v3/620db003ef414007971fa9e2/download.

อาชิรญา บุญเพิ่ม. (2564). พฤติกรรมผู้บริโภคและกลยุทธ์ทางการตลาดของผลิตภัณฑ์ชาในประเทศไทย. (การจัดการมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล).

Food Intelligence Center. (2559). ส่วนแบ่งตลาดชาปี 2558. สืบค้น 15 มกราคม 2566. จาก http://fic.nfi.or.th/FoodMarketShareInThailandDetail.php?id=244.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-14