การบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตรัง กระบี่

ผู้แต่ง

  • สุธารัตน์ ชำนาญเหนาะ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์และสังคมศาสตร์ วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้ ประเทศไทย
  • บุญเลิศ ธานีรัตน์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์และสังคมศาสตร์ วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้ ประเทศไทย

คำสำคัญ:

การบริหารแบบมีส่วนร่วม, การมีส่วนร่วม, ผู้บริหารโรงเรียน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารโรงเรียน (2) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารโรงเรียน จำแนกตาม เพศ วิทยฐานะ ประสบการณ์การทำงาน ขนาดของโรงเรียน เพศของผู้บริหาร และวิทยฐานะของผู้บริหาร และ (3) เพื่อศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารโรงเรียนตามการรับรู้ของครู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ ครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตรัง กระบี่ ปีการศึกษา 2565 จำนวน 331 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิตามสัดส่วนของครูในแต่ละโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และเปรียบเทียบพหุคูณด้วยวิธี LSD ผลการวิจัยพบว่า การบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารโรงเรียน โดยภาพรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับดี ครูที่มีเพศ ประสบการณ์การทำงานต่างกัน อยู่ในสถานศึกษาที่มีขนาดต่างกัน และมีผู้บริหารที่มีเพศ วิทยฐานะต่างกัน มีการรับรู้ต่อการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารไม่แตกต่างกัน ส่วนครูที่มีวิทยฐานะต่างกัน มีการรับรู้ต่อการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ปัญหาและข้อเสนอแนะ ผู้บริหารบางส่วนไม่เปิดโอกาสให้ครูได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจแก้ปัญหาของโรงเรียนร่วมกัน และยังไม่ได้ส่งเสริมและสร้างความกระตือรือร้นให้เกิดแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ผู้บริหารควรเปิดโอกาสให้ครูได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น รับฟังข้อเสนอแนะ ให้ความช่วยเหลือ สนับสนุน ส่งเสริม และสร้างแรงจูงใจร่วมกันในการปฏิบัติงานอย่างเต็มศักยภาพ และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในเรื่องที่สำคัญ เพื่อสร้างความสำเร็จร่วมกัน

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์กรรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).

กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). แนวทางการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาให้คณะกรรมการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจบริหารและจัดการศึกษา พ.ศ. 2550. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่ง สินค้าและพัสดุภัณฑ์.

จอมพงศ์ มงคลวนิช. (2556). การบริหารองค์การและบุคลากรทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิสราพร แช่มชูงาม, นพดล เจนอักษร และ ประเสริฐ อินทร์รักษ์. (2562). การบริหารแบบมีส่วนร่วมกับคุณภาพชีวิตการทำงานของครูในสถานศึกษา สังกัดเทศบาล กลุ่มการศึกษาท้องถิ่นที่ 4. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 10(2), 347-361.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

พรเทพ เหมรานนท์. (2564). การบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1 และเขต 2. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี).

พรรณี มนพัทธ์ปริพัตร. (2560). ปัจจัยการบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้. ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏรําไพพรรณี).

เพ็ญพิศ ผาพองยุน และ ชานนท์ เศรษฐแสงศรี. (2560). การบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 11(2), 118-126.

ไพฑูรย์ หงษ์วิไล. (2561). การบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมในโรงเรียนกีฬา สังกัดสถาบันการพลศึกษา เขตภาคกลาง. (ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ).

วิบูลอร นิลพิบูลย์ และ นุชนรา รัตนศิระประภา. (2565). การบริหารแบบมีส่วนร่วมกับประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรีเขต 1. วารสารบัณฑิตศาส์น มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 20(1), 154-168.

ศรีสุดา แสงไกร, ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ และ กัลยมน อินทุสุต. (2565). ความคิดเห็นของครูที่มีต่อทักษะการบริหารจัดการของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตบางนา กรุงเทพมหานคร. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(6), 1-16.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตรัง กระบี่. (2565). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566. ตรัง: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตรัง กระบี่.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2550). แนวทางการกระจายอำนาจบริหารและการจัดการศึกษาให้คณะกรรมการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาตามกฎ กระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา พ.ศ. 2550. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). แผนการศึกษาแห่งชาติฉบับปรับปรุง (พ.ศ. 2552-2559) : ฉบับสรุป. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

อมรภัค ปิ่นกำลัง. (2564). การบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนเรียนรวม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(3), 1227-1237.

อัจฉรา จงดี. (2560). การศึกษาบทบาทการมีส่วนร่วมในการบริหารสถานศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในจังหวัดจันทบุรี ระยอง และตราด. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏรําไพพรรณี).

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Swansburg, R. C. (1996). Management and leadership for nurse managers. (2nded.). Boston: Jones & Bartlett Learning.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-21