การศึกษาความเป็นไปได้ในธุรกิจรับซื้อเศษอาหาร เพื่อนำมาแปรรูปเป็นปุ๋ยหมักในพื้นที่เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
เศษอาหาร, ปุ๋ยหมัก, ประเมินโครงการลงทุนบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนของธุรกิจรับซื้อเศษอาหารเพื่อนำมาแปรรูปเป็นปุ๋ยหมักในพื้นที่เขตหลักสี่ในด้านการเงินและด้านการตลาด โดยทำการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจในอุตสาหกรรมปุ๋ยอินทรีย์จำนวน 3 ราย เพื่อนำมาเป็นคู่เทียบในการดำเนินธุรกิจ ในการประเมินความเป็นไปได้ของธุรกิจนั้นใช้รูปแบบดำเนินกิจการในอุตสาหกรรมขนาดกลาง ทำการรับซื้อเศษอาหารจากห้างร้าน สถานที่ราชการ และสถานศึกษาในพื้นที่เขตหลักสี่ สำหรับผลการศึกษาทางด้านการเงินพบว่า ธุรกิจมีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) เท่ากับ 744,356.68 บาท อัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุน (BCR) มีค่าเท่ากับ 1.02 อัตราผลตอบแทนภายในของโครงการ (IRR) มีค่าเท่ากับร้อยละ 12.40 และมีระยะเวลาคืนทุน (PB) เท่ากับ 7 ปี 5 เดือน 27 วัน หากพิจารณาเพียงตัวเลขทางการเงินพบว่า ธุรกิจนั้นน่าลงทุน แต่เมื่อพิจารณาถึงความเสี่ยงทางการเงินจากการวิเคราะห์ความอ่อนไหวและการทดสอบค่าความแปรเปลี่ยน พบว่าธุรกิจมีความอ่อนไหวมากต่อสถานการณ์ที่คาดไม่ถึง ดังนั้นในการประเมินความเป็นไปได้ทางด้านการเงินพบว่า ธุรกิจไม่น่าลงทุน สำหรับผลการศึกษาทางด้านการตลาด ผ่านการประเมินศักยภาพในการแข่งขันในแต่ละตัวชี้วัด โดยธุรกิจได้คะแนนภาพรวมเท่ากับ 78.67 คะแนน จาก 115 คะแนน หรือคิดเป็นร้อยละ 68.41 แสดงถึงศักยภาพในการแข่งขันของธุรกิจอยู่ในระดับค่อนข้างสูงจากกระแสความนิยมในการรักษาสุขภาพและสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภค ทั้งนี้หากพิจารณาถึงความเป็นไปได้ทางด้านการเงินและด้านการตลาด อาจกล่าวได้ว่าธุรกิจรับซื้อเศษอาหารเพื่อนำมาแปรรูปเป็นปุ๋ยหมักในพื้นที่เขตหลักสี่นั้น มีความน่าลงทุน แต่ต้องมีการปรับกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจเพื่อให้สอดคล้องต่อกระแสนิยมและมีศักยภาพในการแข่งขันได้อย่างยั่งยืน
References
กรมควบคุมมลพิษ. (2563). ข้อมูลสถานการณ์ขยะมูลฝอยของประเทศ. สืบค้น 24 กันยายน 2565. จาก https://thaimsw.pcd.go.th/report1.php?year=2563.
นรินทร์ ตันไพบูลย์. (2563). แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรม ปี 2563-2565: อุตสาหกรรมปุ๋ยเคมี. สืบค้น 3 พฤศจิกายน 2565. จาก https://www.krungsri.com/th/research/industry/industry-outlook/chemicals/chemical-fertilizers/io/io-chemical-fertilizers-20.
นายูฮา สือแม็ง. (2552). กลยุทธ์ในการขยายตลาดปุ๋ยอินทรีย์ : กรณีศึกษาบริษัท แด๊กซิน (ประเทศไทย) จำกัด. (ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์)
บัญชา รัตนีทู. (2552). ปุ๋ยอินทรีย์ฟื้นฟูสภาพดิน. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 1(2), 1-16.
ผู้จัดการออนไลน์. (2562). 'เจียไต๋-ไทยเบฟ' ครองตลาดปุ๋ยเคมี ชี้เทรนด์ใหม่ 'ปุ๋ยชีวภาพ' มาแรง!. สืบค้น 5 ตุลาคม 2565. จาก https://mgronline.com/specialscoop/detail/9620000075758.
เพียงจันทร์ เกตุศรีพงษ์ และ ไชยพศ แจ่มใส. (2551). การศึกษาปัญหาและกำหนดกลยุทธ์ด้านการตลาดเพื่อเพิ่มความสามารถทางการแข่งขันของ บริษัทเกษตรไทยค้าปุ๋ย จำกัด. ใน Proceedings of the 3rd UTCC Graduate Research Conference 2008: “Multi-disciplinary Research Papers” 17-18 May 2008, University of the Thai Chamber of Commerce, Building 5, Floor 2-6 Bangkok, Thailand. (น. 577-585). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
ภัสสร สวาทะสุข. (2545). การจัดการมูลฝอยประเภทเศษอาหารของโรงแรมและห้างสรรพสินค้าในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์).
ลักขณา เบ็ญจวรรณ์. (2557). เครื่องผลิตปุ๋ยหมัก 3 โมเดล ทางออกของขยะมูลฝอย. เกษตรอภิรมย์, 1(1), 48-50.
วิภารัตน์ เครือแปง. (2553). ต้นทุนและผลตอบแทนในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพอัดเม็ด: กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพอัดเม็ดตำบลบ้านกลางอำเภอเมืองพิษณุโลก. (บัญชีมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.). (2563). แผนปฏิบัติการด้านการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG พ.ศ. 2564-2570. สืบค้น 10 ตุลาคม 2565. จาก https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/bcg/bcg-in-action-circular-economy-01.pdf.
สำนักสิ่งแวดล้อม. (2564). สถิติปริมาณมูลฝอย ประจำปีงบประมาณ 2564. สืบค้น 10 ตุลาคม 2565. จาก https://webportal.bangkok.go.th/public/user_files_editor/231/WasteData/2564/12.September2021.pdf.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.