ความเต็มใจจ่ายในการใช้บริการแพลตฟอร์มวิดีโอสตรีมมิ่ง ในช่วงหลังการแพร่ระบาดใหญ่ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
ความเต็มใจจ่าย, วิดีโอสตรีมมิ่ง, แบบจำลองทางเลือกบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาพฤติกรรมและการให้ระดับความสำคัญของปัจจัยในการเลือกใช้บริการแพลตฟอร์มวิดีโอสตรีมมิ่ง ในช่วงหลังการแพร่ระบาดใหญ่ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร และ (2) ประเมินมูลค่าความเต็มใจจ่ายในการใช้บริการแพลตฟอร์มวิดีโอสตรีมมิ่ง ในช่วงหลังการแพร่ระบาดใหญ่ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร โดยใช้วิธีแบบจำลองทางเลือก (Choice Modelling) ซึ่งได้ทำการเก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างที่ใช้บริการแพลตฟอร์มวิดีโอสตรีมมิ่ง จำนวน 406 ราย ในกรุงเทพมหานคร เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และแบบจำลอง Alternative-Specific Conditional Logit Model ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อมีผลต่อการเลือกใช้บริการแพลตฟอร์มวิดีโอสตรีมมิ่ง คือ ด้านจำนวนและความหลากหลายของเนื้อหาหรือคอนเทนต์วิดีโอ ด้านคำสั่งหรือตัวเลือกในการใช้งานเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน ด้านประเภทของบริการแพลตฟอร์มวิดีโอสตรีมมิ่ง และด้านการรองรับการใช้งานพร้อมกันหลายคนตามลำดับ โดยผู้ตอบแบบสอบถามมีความเต็มใจจ่ายในอัตราค่าบริการต่อเดือนที่เพิ่มขึ้นเพื่อการปรับปรุงคุณลักษณะต่างๆ ได้แก่ ด้านจำนวนและความหลากหลายของเนื้อหาหรือคอนเทนต์วิดีโอให้สามารถค้นเจอเนื้อหาที่ต้องการรับชมได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 80 เท่ากับ 61 บาท และค้นเจอเนื้อหาที่ต้องการรับชมได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 50 เท่ากับ 79 บาท ด้านคำสั่งหรือตัวเลือกในการใช้งานเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันให้อยู่ในระดับดีมากเท่ากับ 50 บาท ด้านประเภทบริการที่มีบริการทั้งวิดีโอออนดีมานด์และรายการสดเท่ากับ 15 บาท และด้านการรองรับการใช้งานพร้อมกันหลายคน โดยสามารถเปิดใช้งานพร้อมกันต่อ 1 บัญชี ได้มากกว่า 4 จอ เพิ่มขึ้นเท่ากับ 14 บาทต่อเดือน
References
กระทรวงสาธารณสุข. (2565). ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2565. สืบค้น 24 มิถุนายน 2566. จาก https://ddc.moph.go.th/uploads/files/15720220926033413.PDF.
กันฑ์ เลิศวุฒินันท์. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการและมูลค่าความเต็มใจจ่ายในการใช้บริการวิดีโอสตรีมมิ่ง (VDO Streaming) ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพฯ. (เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).
วรพงษ์ พลกองแก้ว. (2551). การประเมินความพึงพอใจต่อคุณภาพและความปลอดภัยของส้มเขียวหวานของผู้บริโภคในจังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้วิธีการทดลองทางเลือก. (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).
ศุภรานันท์ กาญจนกุล. (2560). พฤติกรรมและความคิดเห็นของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครต่อการรับชม Live Video Streaming. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์).
สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ. (2562). คาดการณ์จำนวนผู้ชมทีวีออนไลน์ OTTเปรียบเทียบสภาพตลาดโลกและ OTT ไทย (2562-2566). สืบค้น 20 มกราคม 2567. จาก https://broadcast.nbtc.go.th/data/academic/file/620800000002.pdf.
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์กรมหาชน) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2565). ผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2565. สืบค้น 20 มกราคม 2567. จาก https://www.etda.or.th/th/Useful-Resource/publications/Thailand-Internet-User-Behavior-2021_Slides.aspx.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2566). การสำรวจการมีการใชเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน พ.ศ. 2566 (ไตรมาส 1). สืบค้น 20 มกราคม 2567. จาก https://www.nso.go.th/nsoweb/storage/survey_detail/2023/20230913093840_23932.pdf.
อัจฉริยา ทุ่งแจ้ง. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกรับชมรายการผ่านทางสื่อออนไลน์. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).
อุษณีย์ ด่านกลาง. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้ชมวิดีโอคอนเทนต์บนสื่อสังคมออนไลน์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 2(2), 78-90.
Cochran, W.G. (1977). Sampling Techniques. (3rd Edition). New York: John Wiley & Sons.
Simon K. (2023). DIGITAL 2023: GLOBAL OVERVIEW REPORT. Retrieved 24 June 2023. from https://datareportal.com/reports/digital-2023-thailand.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.