โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ บนสื่อสังคมออนไลน์ของผู้บริโภคในเขตจังหวัดหนองบัวลำภู

ผู้แต่ง

  • ศรายุทธ อินตะนัย สาขาวิชาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจ วิทยาลัยพิชญบัณฑิต ประเทศไทย

คำสำคัญ:

โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ, การตัดสินใจซื้อสินค้า, ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์บนสื่อสังคมออนไลน์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อตรวจสอบความความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์บนสื่อสังคมออนไลน์ของผู้บริโภคในเขตจังหวัดหนองบัวลำภูที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ (2) เพื่อวิเคราะห์อิทธิพลของตัวแปรแฝงระหว่างการตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ความไว้วางใจในการซื้อสินค้าและการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์บนสื่อสังคมออนไลน์ของผู้บริโภคในเขตจังหวัดหนองบัวลำภู การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณใช้การศึกษาวิจัยเชิงสำรวจจากแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริโภคที่อาศัยอยู่ในเขตจังหวัดหนองบัวลำภู จำนวน 220 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ โมเดลสมการโครงสร้างด้วยวิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และวิธีการวิเคราะห์เส้นทาง ผลการศึกษาพบว่า โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่พัฒนาขึ้นสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยตัวแปรการตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อตัวแปรการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์บนสื่อสังคมออนไลน์ และมีอิทธิพลทางอ้อมเชิงบวกต่อตัวแปรการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์บนสื่อสังคมออนไลน์โดยมีตัวแปรความไว้วางใจในการซื้อสินค้าเป็นตัวแปรส่งผ่าน อีกทั้งตัวแปรความไว้วางใจในการซื้อสินค้ามีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อตัวแปรการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์บนสื่อสังคมออนไลน์ และตัวแปรการตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อตัวแปรความไว้วางใจในการซื้อสินค้าตัวแปรการตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ความไว้วางใจในการซื้อสินค้า สามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์บนสื่อสังคมออนไลน์ได้ร้อยละ 95

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2564). การวิเคราะห์สมการโครงสร้าง (SEM) ด้วย AMOS. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามลดา.

จังหวัดหนองบัวลำภู. (2565). แผนพัฒนาจังหวัดหนองบัวลำภูระยะ 5 ปี พ.ศ.2566-2570 ข้อมูลเพื่อการพัฒนาด้านการสื่อสาร. สืบค้น 22 มีนาคม 2566. จาก http://www.nongbualamphu.go.th/NEXT/index.php/Plan.

ณัฐฐา จินตกวีพันธ์, ธาดาธิเบศร์ ภูทอง และ ธิดาทิพย์ ปานโรจน์. (2563). แบบจำลองความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความตั้งใจในการบอกต่อและซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์มโซเชียลคอมเมิร์ซ. วารสารนิเทศศาสตร์, 38(2), 84-104.

พัชมณฑ์ เทศขยัน และ ชัยวัฒน์ อุตตมากร. (2563). ปัจจัยทางด้านความสัมพันธ์กับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีผลต่อความตั้งใจเข้าเยี่ยมชมและซื้อสินค้าผ่านช่องทางโซเชียลคอมเมิร์ซ : บทบาท ลักษณะเชิงชั่วคราวและลักษณะเชิงถาวร. วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 6(2), 164-177.

พูลพงศ์ สุขสว่าง. (2563). โมเดลสมการโครงสร้าง (Structural equation modeling). (พิมพ์ครั้งที่ 3). ชลบุรี: เอ.พี.บลู ปริ้นท์.

ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. (2565). จำนวนประชากร จังหวัดหนองบัวลำภู. สืบค้น 15 มีนาคม 2566. จาก https://stat.bora.dopa.go.th/new_stat/webPage/statByYear.php.

วรกานต์ เทพสมนึก และ ไพบูลย์ อาชารุ่งโรจน์. (2564). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านระบบ สื่อสังคมออนไลน์ (S-commerce) ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ, 12(2), 89-104.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2565). B2C E-commerce กลุ่มสินค้า ปี 65 คาดขยายตัวราว 13.5% โดยเฉพาะอาหารและของใช้ ส่วนตัว. สืบค้น 18 มีนาคม 2566. จาก https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-econ/business/Pages/B2C-E-commerce-z3309.aspx.

Aloqool A., & Alsmairat, M. A. K. (2022). The impact of social commerce on online purchase Intention: The mediation role of trust in social network sites. Journal of Data and Network Science, 6(2), 509-516.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J. & Anderson, R. E. (2010). Multivariate Data Analysis. (7th ed.). Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.

Hassan M., Iqbal Z., & Khanum B. (2018). The role of trust and social presence in social commerce purchase intention. Pakistan Journal of Commerce and Social Sciences, 12(1), 111-135.

Kim, A. J., & Ko, E. (2012). Do social media marketing activities enhance customer equity? An empirical study of luxury fashion brand. Journal of Business Research, 65(10), 1480-1486.

Kotler, P. T., & Armstrong, G. (2017). Principles of Marketing, eBook, Global Edition: Principles of Marketing. Canada: Pearson Higher Education.

Madden, T. J. & Dillon, W. R. (1982). Causal analysis and latent class models: An application to a communication hierarchy of effects model. Journal of Marketing Research, 19, 472-490.

Nunnally, J. C. (1978). Psychometric theory. New York: McGraw-Hill Book.

Stern, S. (1997). Approximate solutions to stochastic dynamic programs. UK: Cambridge University.

Workpointtoday. (2565). คนไทยครองแชมป์ ซื้อของผ่านโซเชียลคอมเมิร์ซมากที่สุดในโลก. สืบค้น 19 มีนาคม 2566. จาก https://workpointtoday.com/thai-social-commerce/.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-09-13