ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าร่วมมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกรผู้ปลูกลำไย กรณีศึกษาลำไย จังหวัดลำพูน
คำสำคัญ:
เกษตรกร, การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี, การปลูกลำไยบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อโอกาสการตัดสินใจของเกษตรกรผู้ปลูกลำไยภายใต้การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี ในจังหวัดลำพูน โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นเกษตรกรผู้ปลูกลำไย ในพื้นที่จังหวัดลำพูน จำนวน 400 ราย โดยใช้สถิติพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย t-test, F-test และการวิเคราะห์แบบจำลองโลจีสติก ผลการศึกษาพบว่า เพศ ระดับการศึกษา รายได้ครัวเรือนต่อเดือน และโรคประจำตัวของเกษตรกรที่แตกต่างกันมีผลต่อการตัดสินใจเข้าร่วมการปฏิบัติการทางการเกษตรที่ดี (GAP) แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนการวิเคราะห์แบบจำลองโลจีสติก พบว่า ปริมาณผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ และโรคประจำตัวไม่ปรากฏนัยสำคัญทางสถิติในระดับที่ยอมรับได้ ในขณะที่อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์การปลูกลำไย และพื้นที่ในการปลูกลำไย มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้าร่วม GAP โดยค่าผลกระทบส่วนเพิ่มเป็นลบ สะท้อนได้ว่า หากเกษตรกรมีอายุที่มากขึ้น ระดับการศึกษาสูงขึ้น มีประสบการณ์ในการปลูกลำไยมากขึ้น และมีพื้นที่ในการปลูกลำไยเพิ่มมากขึ้น โอกาสที่เกษตรจะตัดสินใจเข้าร่วม GAP จะลดลง ดังนั้นหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องต้องแสดงให้เห็นถึงประโยชน์ของ GAP ต่อเกษตรแปลงใหญ่ หรือกลุ่มคนผู้สูงอายุมากยิ่งขึ้น เช่น การทำเทคโนโลยีมาทุ่นแรงของผู้สูงอายุ หรือการใช้สารเคมีที่ปลอดภัยกับสุขภาพ
References
กรมเจรจาธุรกิจการค้า. (2564). ลำไย และผลิตภัณฑ์ 2564. สืบค้น 22 พฤษภาคม 2566. จาก https://api.dtn.go.th/files/v3/614426c0ef4140f58030092f/download.
กรมวิชาการเกษตร. (2562). ระบบควบคุมการส่งออกลำไยสดไปสาธารณรัฐประชาชนจีน 2562. สืบค้น 22 พฤษภาคม 2566. จาก http://www.doa.go.th/psco/.
จิราวรรณ เลิศคุณลักษณ์, ปัญญา หมั่นเก็บ และ ธำรง เมฆโหรา. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้าร่วมโครงการผลิตมะม่วงตามแนวทางการเกษตรดีที่เหมาะสมของเกษตรกรในพื้นที่อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า, 30(3), 13-21.
นฤมล แน่นหนา. (2559). ความต้องการความรู้การผลิตข้าวหอมมะลิตามมาตรฐาน GAP ของเกษตรกรพื้นที่ทุ่งสัมฤทธิ์ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า, 34(2), 59-66.
ปยุดา สลับศรี. (2559). การทดสอบประสิทธิภาพของระบบ GAP เพื่อจัดการศัตรูพืชในแปลงผลิตถั่วฝักยาวจังหวัดราชบุรี. ใน การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 54: สาขาพืช, สาขาสัตว์, สาขาสัตวแพทยศาสตร์, สาขาประมง, สาขาส่งเสริมการเกษตรและคหกรรมศาสตร์ (น. 124-130). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
โพสต์ทูเดย์. (2558). หวั่นจีนแบนลำไยยาว. สืบค้น 24 มีนาคม 2566. จาก https://www.posttoday.com/economy/377577.
วุฒินันท์ ไตรยางค์, สินีนุช ครุฑเมืองแสนเสริม, สุนันท์ สีสังข์, ลัดดาวรรณ กรรณนุช และ สมจิต โยธะคง. (2558). การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการผลิตข้าวคุณภาพดี ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน. แก่นเกษตร, 43(2), 365-378.
สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า. (2565). วิเคราะห์สถานการณ์สินค้าภูมิภาค ประจำเดือนกรกฎาคม 2565. สืบค้น 22 พฤษภาคม 2566. จาก https://shorturl.asia/p5Hb9.
สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ. (2558). ส่งออกลำไยแนวโน้มสดใส. สืบค้น 13 กุมภาพันธ์ 2566. จาก http://www.acfs.go.th/read_news.php?id=7783&ntype=09.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2566). ดัชนีรายได้ ดัชนีราคา และดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตร ประจำเดือนเมษายน 2566. สืบค้น 22 พฤษภาคม 2566. จาก https://www.oae.go.th/view/1/ดัชนีราคาและผลผลิต/TH-TH.
Pongvinyoo, P., Yamao, M., & Hosono, K. (2014). Factors affecting the implementation of good agricultural practices (GAP) among coffee farmers in Chumphon Province, Thailand. American journal of rural development, 2(2), 34-39.
Sangren S. (1999). A simple solution to nagging questions about survey, sample size and validity. Retrieved 13 February 2023. from http://www.quirks.com/articles/a1999/19990101.aspx.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.