การศึกษาความเป็นไปได้ของธุรกิจสปาไทยเพื่อรองรับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในจังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • สุประภาดา สายะพันธ์ เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ) คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย
  • สุมาลี พุ่มภิญโญ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย

คำสำคัญ:

การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ, โควิด-19, ธุรกิจสปา, ความเป็นไปได้ของธุรกิจ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ทางการเงินของธุรกิจสปาไทยเพื่อรองรับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ในจังหวัดเชียงใหม่ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน โดยได้ทำการสำรวจและเก็บแบบสอบถาม จากผู้บริโภค และผู้ประกอบการ กลุ่มตัวอย่างด้านผู้บริโภค คือ นักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติ จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่และค่าร้อยละ กลุ่มตัวอย่างด้านผู้ประกอบการ ได้จากการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการธุรกิจสปาขนาดเล็ก จำนวน 4 ราย และทำการวิเคราะห์ต้นทุน ผลประโยชน์ ระยะเวลาของโครงการ คือ 10 ปี โดยมีตัวชี้วัดความคุ้มค่าในการลงทุน คือ มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) อัตราผลตอบแทนภายใน (IRR) และ อัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุน (B/C ratio) ผลการศึกษา พบว่า นักท่องเที่ยวชาวไทยและนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่ใช้บริการสปาส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุประมาณ 25-34 ปี ความถี่ในการใช้บริการสปา 1-2 ครั้ง ต่อการเดินทาง และมีความพึงใจกับการให้บริการในธุรกิจสปาในระดับมากที่สุด และนักท่องเที่ยวที่ใช้บริการสปาในครั้งนี้มีความเห็นว่า จะเลือกกลับมาใช้บริการอีกในอนาคต ส่วนด้านผู้ประกอบการ พบว่า ธุรกิจมีศักยภาพในการรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาด โดยธุรกิจสปาเพื่อสุขภาพขนาดเล็ก มีความเหมาะสมในการลงทุน โดยมี NPV กรณีพื้นฐาน เท่ากับ 24,786,992 บาท IRR เท่ากับ ร้อยละ 82.93 และ B/C ratio เท่ากับ 2.40

References

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2562). รายงานผลการวิจัยและสำรวจข้อมูลด้านบริการสุขภาพและบริการเพื่อส่งเสริมสุขภาพของไทยประกอบการจัดทำศูนย์ข้อมูลรองรับนโยบาย Medical Hub. กรุงเทพฯ: พิมพ์ทันใจ.

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2562). สถิติจังหวัดที่มีรายได้จากการท่องเที่ยวมากที่สุด. สืบค้น 7 กรกฎาคม 2565. จาก https://www.mots.go.th/more_news_new.php?cid=411.

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2564). รายงานสภาวะเศรษฐกิจการท่องเที่ยว. สืบค้น 7 กรกฎาคม 2565. จาก https://www.mots.go.th/more_news_new.php?cid=411.

คมสิทธิ์ เกียนวัฒนา, สุจิตรา สุคนธทรัพย์ และ วิภาวดี ลี้มิ่งสวัสดิ์. (2561). สถานการณ์ ความต้องการ และแนวโน้มของรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในประเทศไทย. วารสารวิชาการ สถาบันการพลศึกษา.10(1), 167-178.

ธนาคารกรุงเทพ. (2565). ธุรกิจสปา แนวโน้มเติบโต 17% ต่อปี หลังวิกฤติโควิด-19. สืบค้น 7 กรกฎาคม 2565. จาก https://www.bangkokbiznews.com/social/983284.

นันท์นภัส แข็งขันธ์ และ วิมล ประคัลภ์พงศ์. (2550). การศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนธุรกิจสปาสไตส์ญี่ปุ่น เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี. สืบค้น 20 ธันวาคม 2565. จาก https://ba.siam.edu/wp-content/uploads/2014/10/A_Feasibility_Study_of_Japanese_Style_Spa_Business.pdf.

ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจธนาคารไทยพาณิชย์. (2561). การขยายตัวของธุรกิจสปาในประเทศไทยและต่างประเทศ. สืบค้น 19 พฤษภาคม 2565. จาก https://www.scb.co.th/content/dam/scb/scbprime/prime-update/documents/wealth-talk/090418-HOTEL-SPA.pdf?12.

สำนักงานจังหวัดเชียงใหม่. (2563). บรรยายสรุปจังหวัดเชียงใหม่. สืบค้น 7 กรกฎาคม 2565. จาก http://www.chiangmai.go.th/managing/public/D8/8D22Oct2020145452.pdf.

สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2564). รายงานภาวะเศรษฐกิจการท่องเที่ยว ปีที่ 2 ฉบับที่ 1/2564. สืบค้น 12 ธันวาคม 2565. จาก https://www.mots.go.th/download/article/article_20210521170904.pdf.

สุฎาวรรณ สุวรรณสิงห์. (2561). ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในการใช้บริการ การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ. (ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).

หอการค้าจังหวัดเชียงใหม่. (2563). หอการค้าจังหวัดเชียงใหม่แถลงเศรษฐกิจ 3 ไตรมาสปี 2563 และแนวโน้มเศรษฐกิจปี 2564. สืบค้น 20 พฤษภาคม 2566. จาก https://cmchamber.com/2020/10/หอการค้าฯ-ชม-ชี้ศก-3-ไตรมา/.

BLT Bangkok. (2560). ตลาดความงามและอันดับสปาในไทย. สืบค้น 30 พฤษภาคม 2566. จาก http://dspace.bu.ac.th/bitstream/123456789/4367/3/sudawan_suwa.pdf.

Global Wellness Institute. (2018). Global Wellness Economy Monitor. Retrieved 25 June 2022. from https://globalwellnessinstitute.org/wp-content/uploads/2019/04/GWIWellnessEconomyMonitor2018_042019.pdf

World Travel & Tourism Councill. (2019). TRAVEL & TOURISMMEDICAL TOURISM: A PRESCRIPTION FOR A HEALTHIER ECONOMY NOVEMBER 2019. Retrieved 25 June 2022. from https://wttc.org/Portals/0/Documents/Reports/2019/Medical%20Tourism-Nov%202019.pdf?ver=2021-02-25-182803-880.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28