ปัจจัยที่ส่งผลต่อระยะเวลาการผิดนัดชำระหนี้ของผู้กู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ของผู้กู้ยืมที่เข้าร่วมโครงการไกล่เกลี่ยหนี้สินครัวเรือน

ผู้แต่ง

  • ธนัชชา แก้วสลับศรี นิสิตปริญญาโท สาขาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย
  • ชิดตะวัน ชนะกุล ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย
  • มานะ ลักษมีอรุโณทัย ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย

คำสำคัญ:

กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา, โครงการไกล่เกลี่ยหนี้สินครัวเรือน, ระยะเวลาผิดนัดชำระหนี้

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาภาพรวมการผิดนัดชำระหนี้ของผู้กู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา และ (2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อระยะเวลาการผิดนัดชำระหนี้ของผู้กู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามจำนวน 400 ชุด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ จำนวนความถี่ ร้อยละ และวิเคราะห์สมการการถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 30 - 33 ปี มีระดับการศึกษาสูงสุดคือปริญญาตรี มีหนี้สินอื่นๆ น้อยกว่า 50,000 บาท ส่วนใหญ่มีสินทรัพย์ถือครอง ไม่มีเงินออม และรายได้ที่ได้รับเฉลี่ยต่อเดือนคือ 20,001 – 35,000 บาท ส่วนใหญ่มีจำนวนเงินที่กู้จากกองทุนฯ อยู่ระหว่าง 100,001 – 200,000 บาท ระยะเวลาในการผิดนัดชำระหนี้อยู่ระหว่าง 4 – 8 ปี มีเงินกู้กองทุนฯ ค้างชำระทั้งหมดอยู่ระหว่าง 100,001 – 200,000 บาท จำนวนงวดที่ต้องชำระคงเหลืออยู่ระหว่าง 7 – 9 งวด มีสัดส่วนการผ่อนชำระต่อรายได้ส่วนใหญ่ น้อยกว่าร้อยละ 20 แรงจูงใจในการชำระเงินคือ เบี้ยปรับ ช่องทางการชำระเงินส่วนใหญ่จะเลือกชำระที่ธนาคารกรุงไทย/ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ความเข้าใจต่อการชำระหนี้คืนกองทุนฯ คือคิดว่าการชำระหนี้ กยศ. มีระยะเวลานาน จะชำระตอนไหนก็ได้ และมีปัญหารายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย จำนวนเงินกู้จากกองทุนฯ ทั้งหมด ส่งผลเชิงบวก จำนวนงวดที่ต้องชำระคงเหลือส่งผลเชิงลบ และแรงจูงใจในการชำระเงินจากเบี้ยปรับ ส่งผลเชิงลบ ต่อระยะเวลาการผิดนัดชำระหนี้ของผู้กู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ของผู้กู้ยืมที่เข้าร่วมโครงการไกล่เกลี่ยหนี้สินครัวเรือนอย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95

References

กรมประชาสัมพันธ์. (2565). รุกแก้ไขปัญหาลูกหนี้ กยศ. ดึงผู้กู้กลุ่มผิดนัดชำระและถูกบอกเลิกสัญญา 170,000 คน เข้าไกล่เกลี่ยหนี้ก่อนฟ้องในงานสัญจรทั่วประเทศอีก 9 ครั้ง. สืบค้น 25 มิถุนายน 2565. จาก https://www.prd.go.th/th/content/category/detail/id/33/iid/84921.

กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อศึกษา. (2565). งานโครงการไกล่เกลี่ยหนี้สินครัวเรือน (ต่างจังหวัด). สืบค้น 25 มิถุนายน 2565. จาก https://www.studentloan.or.th/th/news/1644394080.

กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อศึกษา. (2565). สถิติข้อมูล กยศ. ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2565. สืบค้น 25 มิถุนายน 2565. จาก https://www.studentloan.or.th/th/statistics/1540900492.

กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อศึกษา. (2565). กยศ. เชิญชวนผู้กู้ยืมไกล่เกลี่ยหนี้ก่อนฟ้อง ผู้เข้าร่วมโครงการจะไม่ถูกฟ้อง ขยายเวลาชำระหนี้ และได้รับส่วนลดเบี้ยปรับ. สืบค้น 25 มิถุนายน 2565. จาก https://www.studentloan.or.th/th/news/1645438958.

กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อศึกษา. (2565). กยศ. ชี้แจงหากยกเลิกหนี้จะทำให้คนรุ่นใหม่ไม่ได้รับโอกาสทางการศึกษา. สืบค้น 15 กันยายน 2565. จาก https://www.studentloan.or.th/th/news/1660894560.

กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา. (2564). 8 เดือนที่สูญหาย จากใจเด็กที่หลุดจากรั้วโรงเรียนด้วยผลกระทบจากโควิด-19. สืบค้น 27 ตุลาคม 2565. https://www.eef.or.th/article-8-lost-months-071221/.

กิตธนา พวงไม้มิ่ง. (2560). พฤติกรรมของลูกหนี้ในการชำระหนี้คืนกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ของบมจ.ธนาคารกรุงไทย สังกัด สำนักงานเขตเชียงใหม่ 3 จังหวัดเชียงใหม่. (เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

ไทยพับลิก้า. (2564). 4 คำถาม ทำไมคนกู้กยศ.หลายล้านไม่จ่ายหนี้. สืบค้น 5 พฤศจิกายน 2565. จาก https://thaipublica.org/2021/07/why-million-of-thais-unable-to-repay-student-loan/.

ปณิธาน แสงโชติ. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการผิดนัดชำระเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ของลูกค้าธนาคารออมสิน ในกรุงเทพมหานคร. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง).

วรรณี สมตัว. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดหนี้ค้างชำระ สินเชื้อนโยบายรัฐ ของธนาคารออมสิน สาขาจะนะ จังหวัดสงขลา. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์).

สถาบันนโยบายการศึกษา. (2562). การลดความยากจนและความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา. สืบค้น 30 สิงหาคม 2565. จาก https://www.fpps.or.th/news.php?detail=n1606779289.news.

สำนักงานงบประมาณของรัฐสภา. (2558). กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา. สืบค้น 16 กรกฎาคม 2565. จาก https://dl.parliament.go.th/handle/lirt/444771.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2563). สถิติรายได้และรายจ่ายของครัวเรือน. สืบค้น 20 ตุลาคม 2565. จาก http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/08.aspx.

อาริษา โพชนุกูล. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการผิดนัดชำระหนี้บัตรสินเชื่อเกษตรกร ธ.ก.ส. สาขาระโนด จังหวัดสงขลา. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-28