ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการออมเพื่อการเกษียณอายุของประชากรวัยแรงงาน ในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • กมลวรรณ ภู่ชิงชัย เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ) คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย
  • นนทร์ วรพาณิชช์ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย
  • ฐิติมา พุฒิทานันท์ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย

คำสำคัญ:

การออม, การเกษียณอายุ, วัยแรงงาน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาการตระหนักรู้เรื่องการวางแผนสำหรับการเกษียณอายุของประชากรวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร (2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการออมที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการเกษียณอายุของประชากรวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร และ (3) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการออมที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการเกษียณอายุของประชากรวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร ระหว่างกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มแรงงานในระบบ และกลุ่มแรงงานนอกระบบ เพื่อทราบความแตกต่างของปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการออมเพื่อการเกษียณอายุของคนทั้ง 2 กลุ่ม การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยทางสังคมศาสตร์ ผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงพรรณา เนื่องจากเป็นการใช้ข้อมูลทางคณิตศาสตร์และเครื่องมือทางสถิติมาช่วยในการเก็บข้อมูลและสรุปเป็นความคิดเห็น เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา และ สถิติเชิงปริมาณ โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เส้นทาง ผลการศึกษาพบว่า ประชากรวัยแรงงานในเขตกรุงเทพมหานครมีความตระหนักรู้ในระดับที่มาก ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการออมที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการเกษียณอายุของประชากรวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และ ความรู้ทางการเงิน ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการออมที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการเกษียณอายุของแรงงานในระบบ ได้แก่ ระดับการศึกษา สถานะ อาชีพ และ ความรู้ทางการเงิน ในขณะที่ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการออมที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการเกษียณอายุของแรงงานนอกระบบ ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา สถานะ อาชีพ และ ความรู้ทางการเงิน

References

กนกวรา พวงประยงค์. (2561). ความต้องการมีบุตรในอนาคต : หลักฐานเชิงประจักษ์จากสตรีที่สมรสในประเทศไทย. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา, 10(19), 1-19.

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2565). การรับเบี้ยผู้สูงอายุ. สืบค้น 8 มิถุนายน 2565. จาก www.dop.go.th.

กรมบัญชีกลาง. (2565). บำเหน็จบำนาญ. สืบค้น 8 มิถุนายน 2565. www.nso.go.th.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2550). สถิติสำหรับงานวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2563). รายงานผลสำรวจทักษะทางการเงินของไทย ปี 2563. สืบค้น 8 มิถุนายน 2565. จาก https://www.bot.or.th/content/dam/bot/image/research-and-publications/2563ThaiFLsurvey.pdf.

วรเวศม์ สุวรรณระดา และ วรวรรณ ชาญด้วยวิทย์. (2553). สวัสดิการยามชรา บำนาญแห่งชาติ (รายงานวิจัย). กุรงเทพฯ: บริษัท คิว พี จำกัด.

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ). (2562). การเตรียมความพร้อมด้านการเงินและสุขภาพในสังคมอายุยืน. สืบค้น 8 มิถุนายน 2565. จาก https://tdri.or.th/wp-content/uploads/2019/08/wb154.pdf.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2564). สรุปผลที่สำคัญ การสำรวจแรงงานนอกระบบ พ.ศ. 2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2565). สถิติประชากรศาสตร์ ประชากรและเคหะ. สืบค้น 8 มิถุนายน 2565. จาก http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/01.aspx.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2565). สรุปผลที่สำคัญ การทำงานของผู้สูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

Dibaba, Y. (2009). Factors influencing women's intention to limit child bearing in Oromia, Ethiopia. Ethiopian journal of health development, 23(1), 28-33.

The World Bank. 2565). Fertility rate, total (births per woman). Retrieved 8 June 2022. from https://data.worldbank.org/indicator/SP.DYN.TFRT.IN.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28