การบูรณาการสหวิชาชีพชุมชนกับการกำหนดสร้างแนวทางการคุ้มครองเด็กเชิงพื้นที่ ตำบลปลักแรด อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก

ผู้แต่ง

  • พัฒนภานุ ทูลธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ประเทศไทย
  • ชัยพร อุโฆษจันทร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประเทศไทย

คำสำคัญ:

สิทธิเด็ก, การคุ้มครองเด็ก, สหวิชาชีพ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการทำงานของทีมสหวิชาชีพ อุปสรรค และแนวทางการเสริมสร้างระบบการคุ้มครองเด็กในพื้นที่ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ปฏิบัติงานด้านคุ้มครองเด็กในพื้นที่ประกอบด้วย นักสังคมสงเคราะห์ พยาบาล นักจิตวิทยา อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน สภาเด็กและเยาวชน ผู้ปฏิบัติงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.) ผลการศึกษาพบว่า ปัจจุบันในพื้นที่มีกลไกการทำงานคุ้มครองเด็กจากหน่วยงานที่หลากหลาย โดยมีบ้านพักเด็กและครอบครัวเป็นแกนหลักในการทำงานร่วมกับท้องถิ่น และหน่วยงานอื่นๆ จากแต่เดิมที่เป็นการทำงานที่แยกส่วนกัน ทั้งนี้ปัญหาและอุปสรรคที่พบที่น่าสนใจคือ ผู้ปฏิบัติงานมีมุมมองด้านสิทธิเด็กและหลักของจรรยาบรรณในการปฏิบัติงานที่แตกต่างกัน ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องมีการกำหนดหลักการปฏิบัติงานคุ้มครองเด็กร่วมกันระหว่างผู้ปฏิบัติงานที่มีพื้นฐานความคิดต่างกัน นอกจากนั้นยังมีอุปสรรคในระดับโครงสร้างที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงกล่าวคือคนรุ่นพ่อแม่ของเด็กถูกดึงดูดเข้าสู่เมืองและทิ้งเด็กจำนวนมากให้อยู่กับรุ่นปู่ย่าตายายซึ่งหลายครอบครัวขาดความรู้เรื่องพัฒนาการเด็กและความสำคัญของการศึกษา ดังนั้นจึงจำเป็นต้องถ่ายทอดความคิดเรื่องเด็กไม่ได้เป็นสมบัติของครอบครัว แต่ว่าเป็นพลเมืองอันมีค่าของประเทศชาติและเด็กเป็นเจ้าของชีวิตตนเองให้กับคนในพื้นที่มากขึ้นร่วมกับสร้างทรัพยากรเพื่อสนับสนุนการดูแลเด็กของครอบครัวมากขึ้น

References

กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2558). รายงานข้อมูลสถานการณ์ด้านความรุนแรงในครอบครัวสำหรับการรายงานตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวพ.ศ. 2550 ประจำปี 2558 (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.

ข้อบังคับสภาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ว่าด้วยจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ พ.ศ. 2562. (19 มีนาคม 2562). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136. ตอนที่ 67ง. หน้า 31-33.

จุฑา ญาณทัสนะสกุล. (2559). ความรู้ความเข้าใจของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดลำปางตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546. (สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

ณิชชา บูรณสิงห์. (2558). เด็กถูกทอดทิ้ง: ปัญหาที่สังคมต้องเยียวยา. สืบค้น 16 กรกฎาคม 2564. จาก https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/ewt_dl_link.php?nid=28661.

ทิตยากรณ์ ดีแก้ว. (2559). การศึกษาประสิทธิภาพกลไกการคุ้มครองเด็กของพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 ภายใต้การปฏิบัติงานของบ้านพักเด็กและครอบครัว: กรณีศึกษาพื้นที่จังหวัดน่าน. (สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537. (26 พฤศจิกายน 2537). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 111 ตอนที่ 53ก. หน้า 11-17.

พิทักษ์ ศิริวงศ์ และ นิรศรา แก้วทิพย์. (2560). สภาพการณ์และแนวทางการปรับตัวของผู้สูงอายุที่เบี้ยงหลานในเจนเนอร์เรชั่น ซี ในอำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี. ใน การประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ครั้งที่ 9 “ราชมงคลสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ยั่งยืนสู่ประเทศไทย 4.0. (น.1590-1597). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

มูลนิธิเด็กโสสะแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์. (2565). สิทธิเด็ก เรื่องของเด็กและเยาวชนที่ผู้ใหญ่ไม่ควรมองข้าม. สืบค้น 5 มกราคม 2565. จาก https://www.sosthailand.org/about-us/advocacy/child-rights-adults-should-not-overlook.

ยงยุทธ แสนประสิทธิ์. (2554). รูปแบบการป้องกันปัญหาความรุนแรงในครอบครัวโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน:กรณีศึกษาชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัดปทุมธานี. (วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

วรรณา (นามสมมุติ). (2564). นักสังคมสงเคราะห์. สัมภาษณ์. 2 กุมภาพันธ์ 2564.

ศักดา สถิตเรืองชัย. (2550). การรักษาความลับผู้ของผู้ป่วย. เวชบันทึกศิริราช, 2(2), 78-83.

สุภรณ์ วัฒนจัง. (2556). การดำเนินงานคุ้มครองเด็กในชุมชนตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 ของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. (สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

สุรีย์ ธรรมิกบวร. (2558). สิทธิผู้ป่วยและจรรยาบรรณวิชาชีพ. สืบค้น 20 มิถุนายน 2564. จาก http://www.nurse.ubu.ac.th/sub/knowledgedetail/03022015.pdf.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-09-13