การวิเคราะห์แผนการผลิตผักไฮโดรโปนิกส์ของกรณีศึกษาผู้ประกอบการในจังหวัดนนทบุรี

ผู้แต่ง

  • ภัทรรส จันทร์เพ็ญ นิสิตบัณฑิตศึกษาสาขาวิชาธุรกิจการเกษตร ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย
  • จักรกฤษณ์ พจนศิลป์ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย
  • ศานิต เก้าเอี้ยน ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย

คำสำคัญ:

ไฮโดรโปนิกส์, ต้นทุนผลตอบแทน, แผนการผลิต, แบบจำลองลิเนียร์โปรแกรมมิ่ง

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปทางการผลิตและการตลาดผักไฮโดรโปนิกส์ (2) เพื่อวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตผักไฮโดรโปนิกส์ และ (3) เพื่อวิเคราะห์หาแผนการผลิตผักไฮโดรโปนิกส์ที่เหมาะสมของฟาร์มกรณีศึกษา โดยเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกฟาร์มกรณีศึกษาในจังหวัดนนทบุรี ปีการผลิต 2565 มาวิเคราะห์ต้นทุนผลตอบแทน และใช้แบบจำลองลิเนียร์โปรแกรมมิ่งในการวิเคราะห์แผนการผลิต ผลการศึกษาพบว่า ผลตอบแทนจากการจำหน่ายผลผลิตตลอดปีการผลิต 2565 ของฟาร์มเท่ากับ 129,600.00 บาทต่อปี ทำให้มีรายได้เหนือต้นทุนเงินสดเท่ากับ 66,220.63 บาทต่อปี หรือ 39.99 บาทต่อกิโลกรัม ผลการวิเคราะห์แผนการผลิตด้วยแบบจำลองลิเนียร์โปรแกรมมิ่ง แนะนำให้ปลูกผัก 6 ชนิด คือ กรีนปัตตาเวีย บัตเตอร์เฮด กรีนคอส ฟิลเลย์ไอซ์เบิร์ก แตงกวาญี่ปุ่น และมะเขือเทศเชอรี่ โดยมีจำนวนโต๊ะปลูก คือ 7.05 3.91 10.44 7.31 39.13 และ 13.04 โต๊ะปลูกต่อปีการผลิต ตามลำดับ จำนวนรอบการผลิต คือ 2 1 2 2 7 และ 3 รอบต่อปีการผลิต ตามลำดับ จะทำให้มีรายได้รวมเท่ากับ 1,208,411.11 บาทต่อปี หรือเฉลี่ย 53.87 บาทต่อกิโลกรัม และมีกำไรรวมสูงสุดเท่ากับ 588,416.98 บาทต่อปี หรือเฉลี่ย 26.23 บาทต่อกิโลกรัม ข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้ คือ จากการวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนจะเห็นว่าฟาร์มกรณีศึกษามีรายได้เหนือต้นทุนน้อยกว่าที่ควรจะเป็น ดังนั้นควรมีการเพาะปลูกหลายรอบมากขึ้นหรือปลูกในปริมาณที่มากขึ้นในแต่ละรอบการผลิตตามผลการวิเคราะห์แผนการผลิตผักไฮโดรโปนิกส์ด้วยแบบจำลองลิเนียร์โปรแกรมมิ่ง โดยเน้นพืชที่ให้รายได้ดี ได้แก่ กรีนปัตตาเวีย บัตเตอร์เฮด กรีนคอส ฟิลเลย์ไอซ์เบิร์ก แตงกวาญี่ปุ่น และมะเขือเทศเชอรี่ รวมถึงผู้ประกอบการควรคำนึงถึงต้นทุนที่ไม่เป็นเงินสดก่อนการลงทุน

References

กรมส่งเสริมการเกษตร. (2558). การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

จักรกฤษณ์ พจนศิลป์. (2565). เอกสารคำสอนการวิจัยเชิงปฏิบัติการทางเศรษฐศาสตร์เกษตร. กรุงเทพฯ: คณะเศรษฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ธีรินมาศ บางชวด. (2544). การวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจของการปลูกผักระบบไฮโดรโพนิกส์. (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).

นิรชา โพธิ์ประสระ. (2548). การวางแผนการปลูกผักโดยวิธีไฮโดรโปนิกส์. (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).

สถานีพัฒนาที่ดินนนทบุรี. (2566). ข้อมูลพื้นฐานของจังหวัดนนทบุรี. สืบค้น 10 มิถุนายน 2566. จาก http://r01.ldd.go.th/ntb/datantb.html.

สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ. (2559). คู่มือการดำเนินงานโครงการเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ สำรหับกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง. นนทบุรี: สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ.

สุวิมล ศรีเมือง. (2554). แผนการผลิตและการตลาดของธุรกิจผักไฮโดรโพนิกส์ของบางกะจะฟาร์ม จังหวัดจันทบุรี. (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-09-23