ผลของมาตรการทางภาษีต่ออุปสงค์ยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ธัญลักษณ์ ศิลาขาว นิสิตปริญญาโท สาขาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย
  • มานะ ลักษมีอรุโณทัย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำภาควิชาเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย

คำสำคัญ:

มาตรการทางภาษี, ยานยนต์ไฟฟ้า, อุปสงค์ยานยนต์ไฟฟ้า

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาผลของมาตรการทางภาษีต่ออุปสงค์ยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย และ (2) เพื่อศึกษาปัจจัยอื่นๆ ที่มีผลต่ออุปสงค์ยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย โดยมีวิธีการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ การวิจัยเชิงปริมาณ และการศึกษาเชิงคุณภาพ ซึ่งการวิจัยเชิงปริมาณศึกษาโดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิ ประเภทอนุกรมเวลาตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 พ.ศ.2558 – ไตรมาสที่ 4 พ.ศ.2565 รวมระยะเวลาทั้งสิ้น 32 ไตรมาส จึงต้องทดสอบความนิ่งของข้อมูลเพื่อความน่าเชื่อถือ โดยวิธี Unit Root Test แล้วจึงวิเคราะห์ผลด้วยวิธีการถดถอยพหุคูณ สำหรับการศึกษาเชิงคุณภาพ ศึกษาด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกโดยใช้เครื่องมือการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง จากหน่วยงานของภาครัฐ และภาคเอกชน จำนวน 4 ราย เพื่อให้ได้ข้อมูลโดยตรงซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการศึกษาครั้งนี้ ผลจากการศึกษาพบว่า ผลของมาตรการทางภาษีต่ออุปสงค์ยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย แบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้ 1. ผลการศึกษาจากการวิจัยเชิงปริมาณด้านปัจจัยที่มีอิทธิพลต่ออุปสงค์ยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย โดยแบ่งประเภทของยานยนต์ไฟฟ้า ดังนี้ 1) รถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คนแบบพลังงานไฟฟ้า พบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่ออุปสงค์ ได้แก่ อัตราภาษีสรรพสามิต ราคารถยนต์นั่งไฟฟ้า อัตราดอกเบี้ยนโยบาย ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ และเงินอุดหนุนของรัฐ 2) รถยนต์กระบะแบบพลังงานไฟฟ้า พบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่ออุปสงค์ ได้แก่ อัตราดอกเบี้ยนโยบาย อัตราภาษีสรรพสามิต และอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ 3) รถจักรยานยนต์แบบพลังงานไฟฟ้า พบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่ออุปสงค์ ได้แก่ เงินอุดหนุนของรัฐ อัตราภาษีศุลกากร ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ อัตราภาษีสรรพสามิต และราคารถจักรยานยนต์สันดาป 2. ผลจากการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก พบว่า ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเห็นว่ามาตรการลดอัตราภาษีและให้เงินอุดหนุนยานยนต์ไฟฟ้าเป็นมาตรการที่สำคัญที่จะช่วยกระตุ้นอุปสงค์ยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย

References

กรมศุลกากร. (2565). พระราชบัญญัติพิกัดอัตราภาษีศุลกากร. สืบค้น 25 พฤศจิกายน 2565. จาก https://www.customs.go.th/data_files/ac2f4e7826e2254f0ee6087d224fa8e4.pdf.

กรมสรรพสามิต. (2565). พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560. สืบค้น 25 พฤศจิกายน 2565. จาก https://www.excise.go.th/cs/groups/public/documents/document/dwnt/ndcw/~edisp/uatucm470076.pdf.

กัลยา วานิชย์บัญชา และ ฐิตา วานิชย์บัญชา. (2564). การใช้ SPSS for Windows : ในการวิเคราะห์ข้อมูล. (พิมพ์ครั้งที่ 33). กรุงเทพฯ: สามลดา.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2566-2570). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13. สืบค้น 25 พฤศจิกายน 2565. จาก https://www.nesdc.go.th/main.php?filename=plan13.

อัครพงศ์ อั้นทอง. (2546). คู่มือการใช้โปรแกรม EViews. เชียงใหม่: สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

เอกลักษณ์ วิลัยหงส์. (2558). มาตรการทางกฎหมายสรรพสามิตและภาษีศุลกากรเพื่อส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้าของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

Engle, R. F., & Granger, C. W. (1987). Co-integration and error correction: representation, estimation, and testing. Econometrica: journal of the Econometric Society, 55(2), 251-276.

Kim, S., Choi, J., Yi, Y., & Kim, H. (2022). Analysis of influencing factors in purchasing electric vehicles using a structural equation model: focused on Suwon city. Sustainability, 14(8), 4744.

Slowik, P., & Lutsey, N. (2018). The continued transition to electric vehicles in US cities. Retrieved 2 November 2022. from https://theicct.org/wp-content/uploads/2021/06/Transition_EV_US_Cities_20180724.pdf.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-11-09