ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกซื้ออัลบั้มเพลงเกาหลีทางออนไลน์

ผู้แต่ง

  • ศุภวรรณ มั่งมี เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ) คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย
  • อรุณี ปัญญสวัสดิ์สุทธิ์ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย

คำสำคัญ:

ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด, อัลบั้มเพลงเกาหลี, ออนไลน์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเลือกซื้ออัลบั้มเพลงของกลุ่มแฟนคลับศิลปินเกาหลีใต้ผ่านช่องทางออนไลน์ และ (2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกซื้ออัลบั้มเพลงของกลุ่มแฟนคลับศิลปินเกาหลีใต้ผ่านช่องทางออนไลน์ โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้เครื่องมือแบบสอบถามออนไลน์จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 ชุด โดยกลุ่มตัวอย่าง คือ บุคคลที่ซื้ออัลบั้มแบบ physical album ของศิลปินเกาหลีใต้และมีอายุ 14 ปีขึ้นไป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา ด้วยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 26 – 31 ปี ระดับการศึกษาระดับปริญญาตรี อาชีพพนักงานบริษัทเอกชน มีรายได้เฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ระหว่าง 180,000 – 300,000 บาท ช่องทางที่ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ใช้ในการสั่งซื้ออัลบั้มเพลงเกาหลี คือ ช่องทาง Twitter และทำการสั่งซื้ออัลบั้มเพลงเกาหลีแบบพรีออเดอร์ โดยส่วนใหญ่ได้ทำการสั่งซื้อภายในสัปดาห์แรกที่อัลบั้มได้ถูกวางขายเพื่อต้องการเพิ่มยอดขายอัลบั้มให้กับศิลปิน นอกจากนี้ยังพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อจำนวนอัลบั้มเพลงเกาหลีที่ซื้อต่อปี ได้แก่ อายุ อาชีพเจ้าของกิจการ และรายได้ อีกทั้งรายได้ยังส่งผลต่อค่าใช้จ่ายที่ซื้ออัลบั้มต่อปี ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อจำนวนอัลบั้มเพลงเกาหลีที่ซื้อต่อปีของกลุ่มแฟนคลับศิลปินเกาหลีใต้ผ่านช่องทางออนไลน์ ได้แก่ ปัจจัยด้านพนักงานผู้ให้บริการ และปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาด ในขณะที่ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อค่าใช้จ่ายที่ซื้ออัลบั้มผ่านช่องทางออนไลน์ของกลุ่มแฟนคลับศิลปินเกาหลีใต้ต่อปี ได้แก่ ปัจจัยด้านราคาและปัจจัยด้านการจัดจำหน่าย

References

จุฑามาศ แก้วแดง. (2558). ส่วนประสมทางการตลาดในการเลือกซื้ออัลบั้มเพลงนำเข้าจากประเทศเกาหลีใต้ของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์).

พีรพล เจนทรัพย์สิน. (2562). 18 คอนเสิร์ตเกาหลีในไทย 2019 ที่ไม่ควรพลาด. สืบค้น 7 สิงหาคม 2565. จาก https://promotions.co.th/tickets/18-คอนเสิร์ตเกาหลีในไทย-2019-ท.html.

วรนุช ตันติวิทิตพงศ์. (2551). พฤติกรรมความคลั่งไคล้ศิลปินนักร้องเกาหลีของวัยรุ่นไทย. (นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

ศิณัฐ สงวนสินวัฒนา. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าที่ระลึกที่เกี่ยวข้องกับศิลปินดาราและนักร้องเกาหลี. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด).

Cochran, W. G. (1977). Sampling Techniques. (3rd ed.). New York: John Wiley & Sons.

Kusumawati, R. D., Oswari, T., & Yusnitasari, T. (2013). The influence of e-commerce on music product in Indonesia. International Journal of Innovation, Management and Technology, 4(5), 490-493.

Oswari, T., Kusumawati, R. D., Yusnitasari, T., & Shukla, V. K. (2019). Effect of marketing mix and national culture on consumer buying intention for music products: A case study of indonesian and indian consumers. ASEAN Marketing Journal, 11(1), 43-51.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-14