ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการสั่งอาหารออนไลน์ผ่านช่องทางแอปพลิเคชันของผู้บริโภคกลุ่มมิลเลนเนียลในกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ณัฏฐนันธ์ จีรังวานิชชัย นิสิตปริญญาโท สาขาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย
  • มานะ ลักษมีอรุโณทัย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำภาควิชาเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทย

คำสำคัญ:

แอปพลิชันสั่งอาหารออนไลน์, ผู้บริโภคกลุ่มมิลเลนเนียล, ส่วนประสมทางการตลาด, มุมมองของผู้บริโภค

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในมุมมองของผู้บริโภค และปัจจัยด้านการยอมรับเทคโนโลยี ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการสั่งอาหารออนไลน์ผ่านช่องทางแอปพลิเคชันของผู้บริโภคกลุ่มมิลเลนเนียลในกรุงเทพมหานคร โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้การสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบโควต้า (Quota Sampling) และเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามออนไลน์ โดยผู้วิจัยจะเก็บข้อมูลจากกลุ่มคนที่เคยใช้แอปพลิชันสั่งอาหารออนไลน์ ทั้งหมดจำนวน 400 ตัวอย่าง โดยแบ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างที่สนใจใช้แอปพลิเคชันต่อ จำนวน 320 คน และไม่สนใจใช้ต่อ จำนวน 80 คน และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ ค่าสถิติ Independent T-test และค่าสถิติ F-test หรือแบบการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way Analysis of Variance) รวมถึงการใช้การวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติกแบบทวิ (Binary Logistic Regression Analysis) ผลการศึกษาจากการการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติกแบบทวิ พบว่า ปัจจัยมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการสั่งอาหารออนไลน์ผ่านช่องทางแอปพลิเคชันของผู้บริโภคกลุ่มมิลเลนเนียลในกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยยะสำคัญ ได้แก่ ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ ประกอบด้วย เพศ และอาชีพ ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในมุมมองของผู้บริโภค ได้แก่ คุณค่าที่ลูกค้าจะได้รับ (Customer Value) ต้นทุน (Cost to Customer) ความสบาย (Comfort) การดูแลเอาใจใส่ (Caring) และความสำเร็จในการตอบสนองความต้องการ (Completion) และปัจจัยด้านการยอมรับเทคโนโลยี ประกอบด้วย การรับรู้ถึงประโยชน์ (Perceived Usefulness) ความง่ายในการใช้งาน (Perceived Ease of Use) ทัศนคติที่มีต่อการใช้ (Attitude toward Using) และการนำมาใช้งานจริง (Actual Use) ที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเลือกใช้บริการสั่งอาหารออนไลน์ผ่านช่องทางแอปพลิเคชันของผู้บริโภคกลุ่มมิลเลนเนียลในกรุงเทพมหานคร

References

แกร็บฟู้ด. (2563). GrabFood –พฤติกรรมแบบใหม่ในการส่งสินค้าใหม่ยังคงอยู่ต่อไป. สืบค้น 28 ธันวาคม 2565. จาก https://www.grab.com/th/merchant/food-and-grocery-trends-report-2022/.

แกร็บฟู้ด. (2565). GrabFood – บริการสั่งอาหารเดลิเวอรี. สืบค้น 10 กุมภาพันธ์ 2565. จาก https://food.grab.com/th/en/.

จินณวัฒน์ อัศวเรืองชัย, ศักดา นาควัชระ, ทวินานันญ์ พุ่มพิพัฒน์, กันตินันท์ กิจจาการ และ เปียทิพย์ กิติราช. (2565). ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภคในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ในช่วงการระบาดของไวรัสโควิค-19. วารสารรัชตภาคย์, 16(46), 389-404.

จุฑามาศ ศรีรัตนา. (2564). พฤติกรรมการเลือกใช้บริการแอปพลิเคชันสั่งอาหารออนไลน์ของผู้บริโภคในช่วงการระบาดของไวรัสโควิด-19. วารสารเครือข่ายส่งเสริมการวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(3), 118-128.

ชเนศ ลักษณ์พันธุ์ภักดี. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการสั่งอาหารแบบเดลิเวอรี่ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

โชติมา ชูกุล. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกใช้บริการแอปพลิเคชันเรียกรถยนต์โดยสารของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

ณัฏฐนันท์ พิธิวัตโชติกุล. (2560). การยอมรับเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือ การตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ และพฤติกรรมผู้บริโภคออนไลน์ที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).

ธัญญวรัตน์ นวลอินทร์. (2565). ปัจจัยทางด้านการตลาดและการยอมรับเทคโนโลยีที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อออนไลน์ อาหารสำเร็จรูปสัญชาติเกาหลีของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง).

นรารัตน์ ขนอม. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการซื้ออาหารออนไลน์. (เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).

นฤมล ยีมะลี. (2560). การรับรู้ความง่ายต่อการใช้งาน การรับรู้ประโยชน์ และการสื่อสารแบบปากต่อปากผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ (E-word of Mouth) ที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจใช้บริการแอปพลิเคชันชมภาพยนตร์ และซีรีส์ของผู้บริโภคกลุ่ม Gen Y ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).

นุช สิงห์แก้ว. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการสั่งอาหารผ่านสื่อออนไลน์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. (การบัญชีมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง).

แบรนด์นาวเอเชีย. (2564). สรุปเทรนด์พฤติกรรมผู้บริโภค Gen Y และ Gen Z ที่แบรนด์ต้องรู้. สืบค้น 13 ตุลาคม 2565. จาก https://www.brandbuffet.in.th/2018/10/thai-millennial-behavior-fleishman-hillard/.

แบรนด์บุฟเฟต์. (2561). ทำความเข้าใจพฤติกรรม “มิลเลนเนียลไทย” กลุ่มเป้าหมายแห่งอนาคตที่มาพร้อมความย้อนแย้งในตัวเอง. สืบค้น 13 ตุลาคม 2564. จาก https://www.brandbuffet.in.th/2018/10/thai-millennialbehavior-fleishman-hillard/.

เปรมปวีณ์ ทรัพย์มา. (2565). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงมาใช้บริการสั่งอาหารออนไลน์ ผ่านแอปพลิเคชันโรบินฮู้ด. (การจัดการมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล).

พรรณทิมา วรรณสุทธิ์. (2565). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการใช้บริการสั่งอาหารแบบเดลิเวอรี่ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในเขตภาคเหนือตอนล่าง. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา, 16(3), 401-414.

พิมพุมผกา บุญธนาพีรัชต์. (2560). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการ Food Delivery ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)

พิรพัฒน์ เทวกุล. (2564). การตัดสินใจสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชัน Grab Food ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคําแหง)

ฟู้ดแพนด้า. (2563). สั่งอาหารเดลิเวอรี่ออนไลน์จากร้านอาหารทั่วไทย. สืบค้น 10 กุมภาพันธ์ 2565. จาก https://www.foodpanda.co.th/th/.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2565). Food Delivery ปี 2565 ขยายตัวต่อเนื่อง. สืบค้น 8 ธันวาคม 2564. จาก https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-econ/business/Pages/Food-Delivery-z3289.aspx.

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2563). ETDA เผย คน Gen -Y สั่งอาหารออนไลน์มากสุด และกว่า 40% สั่งเพราะหวั่นโควิด-19. สืบค้น 27 เมษายน 2564 จาก https://www.etda.or.th/content/online-food-delivery-survey-during-the-prevention-of-covid-19.html.

สุจิตรา ใจเอื้อ. (2562). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (7C’s) ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการใน Application Foodpanda ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).

สุทิพย์ ประทุม. (2565). การยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศในยุควิถีชีวิตใหม่. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์).

สุธาสินี ตุลานนท์. (2562). การยอมรับเทคโนโลยีที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้สูงอายุ. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร).

TechTarget Contributor. (2021). Millennials (Generation Y). Retrieved 25 November 2021. from https://www.techtarget.com/whatis/definition/millennials-millennial-generation.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-09-21