การประเมินประสิทธิภาพของการอำนวยประโยชน์แก่สมาชิกของสหกรณ์ออมทรัพย์ครูในประเทศไทย โดยใช้เครื่องมือ DEA
คำสำคัญ:
ประสิทธิภาพ, การอำนวยประโยชน์, สมาชิก, สหกรณ์ออมทรัพย์ครูบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิภาพของการอำนวยประโยชน์แก่สมาชิกของสหกรณ์ออมทรัพย์ครูในประเทศไทย โดยใช้วิธีเส้นพรมแดนประสิทธิภาพ (Efficient Frontier Analysis) ที่เรียกว่า Data Envelopment Analysis หรือ DEA ของสหกรณ์ออมทรัพย์ครู จำนวน 25 สหกรณ์ ที่มีสถานะดำเนินงานและสามารถตรวจสอบบัญชีได้ใน ปี พ.ศ. 2558 - 2562 โดยกำหนดปัจจัยนำเข้า (Input) ได้แก่ สินทรัพย์รวม (Total asset) สำหรับตัวแปรผลผลิต (Output) ประกอบด้วย เงินปันผล (Dividend yield), เงินทุนสาธารณะประโยชน์ (Public benefit fund), เงินทุนอื่นๆ (Others fund) ผลการศึกษาพบว่า สหกรณ์ออมทรัพย์ครูที่มีค่าคะแนนประสิทธิภาพการอำนวยประโยชน์แก่สมาชิกสูงสุด ในปี 2558 จำนวน 4 สหกรณ์, ปี 2559 มีจำนวน 3 สหกรณ์, ปี 2560 จำนวน 2 สหกรณ์, ปี 2561 จำนวน 2 สหกรณ์ และในปี 2562 จำนวน 2 สหกรณ์ การวิเคราะห์ด้านประสิทธิภาพต่อขนาดของสหกรณ์ออมทรัพย์ครูจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 25 สหกรณ์ พบว่า ในปี 2558 และ 2561 ไม่มีสหกรณ์ใดที่มีประสิทธิภาพต่อขนาด ในขณะที่ปี 2559 2560 และ2562 มีสหกรณ์ที่มีประสิทธิภาพต่อขนาด จำนวน 1 สหกรณ์
References
กรมตรวจบัญชีสหกรณ์. (2561). รายงานผลการดำเนินงานและฐานะการเงินสหกรณ์ออมทรัพย์ ประจำปี 2561. สืบค้น 3 เมษายน 2563. จาก https://www.cad.go.th/ewtadmin/ewt/statistic/download/report_info/61/save_2_61.
กรมส่งเสริมสหกรณ์. (2556). ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสหกรณ์. สืบค้น 1 สิงหาคม 2556. สืบค้น 3 เมษายน 2563. จาก https://www.cpd.go.th/web_cpd/cpd_Allabout.html.
ณคุณ ธรณีนิติญาณ. (2563). การวัดประสิทธิภาพทางเทคนิคของสหกรณ์ออมทรัพย์ และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนในประเทศไทย. วารสารบริหารธุรกิจ, 43(168), 38-57.
ณคุณ ธรณีนิติญาณ. (2565). การวิเคราะห์ประสิทธิภาพทางเทคนิคของสหกรณ์กองทุนสวนยาง โดยใช้ Meta-Frontier Analysis. กรุงเทพฯ: ภาควิชาสหกรณ์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
นภัสนันท์ บรัศไพบูลย์ และ สุรชัย จันทร์จรัส. (2559). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิภาพการดำเนินงานของกองทุนรวมในประเทศไทยและอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยโดยเปรียบเทียบกับความเสี่ยง. วารสารการจัดการสมัยใหม่, 14(1), 41-50.
ประภัสสร วารีศรี และ สุบรรณ เอี่ยมวิจารณ์. (2561). การวิเคราะห์ประสิทธิภาพการดำเนินงานของสหกรณ์เครดิตยูเนียน ในกลุ่มจังหวัดลำดับที่ 12 ของไทย. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 10(2), 63-82.
วโรทัย โกศลพิศิษฐ์กุล. (2550). สหกรณ์ออมทรัพย์…สถาบันการออมและการลงทุนที่คนไม่ค่อยพูดถึง. สืบค้น 3 เมษายน 2563. จาก http://www2.fpo.go.th/S-I/Source/Article/Article67.htm.
หทัยชนก มากพูล และ ณคุณ ธรณีนิติญาณ. (2563). การวิเคราะห์ประสิทธิภาพทางเทคนิคของสหกรณ์ออมทรัพย์ตำรวจในประเทศไทย. วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 14(1), 219-230.
อรรถพล สืบพงศกร. (2555). ระเบียบวิธีการของ Data Envelopment Analysis (DEA) และการวัดประสิทธิภาพเชิงเทคนิค. วารสารเศรษฐกิจมหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 16(1), 50-88.
อรรถพล สืบพงศกร. (2564). การตรวจสอบประสิทธิภาพธุรกิจโรงแรมในประเทศไทยในช่วงเวลา COVID – 19. กรุงเทพฯ: ภาควิชาสหกรณ์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
CORALINE. (2560). สถิติเบื้องต้นง่ายๆ ที่จะทำให้คุณเข้าใจการวิเคราะห์มากขึ้น (ตอนที่ 2). สืบค้น 20 สิงหาคม 2560. จาก https://medium.com/@info_46914/.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.