แนวทางพัฒนาการทำงานเป็นทีมในความปกติใหม่ของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1
คำสำคัญ:
แนวทางพัฒนา, การทำงานเป็นทีม, ความปกติใหม่บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการทำงานเป็นทีมในความปกติใหม่ของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1 (2) เพื่อเปรียบเทียบสภาพการทำงานเป็นทีมในความปกติใหม่ของครูในสถานศึกษา จำแนกตามประสบการณ์และขนาดของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1 (3) เพื่อหาแนวทางพัฒนาการทำงานเป็นทีมในความปกติใหม่ของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1 ครูผู้สอนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 1,792 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยการใช้ตารางของเครชซี่และมอร์แกน ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 296 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพ ปัญหาและการเปรียบเทียบการทำงานเป็นทีมในความปกติใหม่ของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1 เทคนิคที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เนื้อหา การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการแจกแจงความถี่ ผลการศึกษาพบว่า สภาพการทำงานเป็นทีมในความปกติใหม่ของครูในสถานศึกษา มากที่สุด ได้แก่ ด้านการไว้วางใจซึ่งกันและกัน การเปรียบเทียบสภาพการทำงานเป็นทีมในความปกติใหม่ของครูในสถานศึกษา จำแนกตามประสบการณ์ ในภาพรวมและรายด้าน พบว่าไม่แตกต่างกัน และจำแนกตามขนาดสถานศึกษา ในภาพรวมและรายด้าน พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แนวทางพัฒนาการทำงานเป็นทีมในความปกติใหม่ของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1 แบ่งออกเป็น 6 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านการมีเป้าหมายของทีม 2) ด้านการติดต่อสื่อสาร 3) ด้านการมีมนุษย์ 4) ด้านการยอมรับนับถือ 5) ด้านการมีส่วนร่วม 6) ด้านการไว้วางใจซึ่งกันและกัน
References
กิตติโชติ เวียงนาค. (2558). ศึกษาวิจัยความคิดเห็นของครูที่มีต่อการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก กลุ่มโรงเรียนเวียงสา 3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 1. (การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง).
จันทร์จิรา จิตนาวสาร. (2559). การทำงานเป็นทีมของครูผู้สอนในเขตอำเภอคลองใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด. (การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).
ธร สุนทรายุทธ. (2556). ทฤษฎีองค์กรและพฤติกรรม : หลักการ ทฤษฎีการวิจัย และการปฏิบัติทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: เนิตกุลการพิมพ์.
พนิดา เกรียงทวีทรัพย์ และ สุรมงคล นิ่มจิตต์. (2561). รูปแบบการสื่อสารที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการทำงานภายในองค์กรกรณีศึกษา สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ. Veridian E-Journal,Silpakorn University, 11(3), 3374-3394.
พรรณพิตรา เสริมศรี. (2559). การศึกษาความคิดเห็นลักษณะการทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพกรณีศึกษาข้าราชการสำนักกรรมาธิการ 3 สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (รัฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).
พรสุดา ประเสริฐนู. (2564). การพัฒนาแนวทางการสร้างทีมงานสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2. (การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม).
พัชราภรณ์ ดวงชื่น. (2563). การบริหารจัดการศึกษารับความปกติใหม่หลังวิกฤตโควิด–19. วารสารศิลปะการจัดการ, 3(2), 27–54.
ไพบูลย์ วงค์เมืองคำ และ ภูมิพิพัฒน์ รักพรมงคล. (2563). แนวทางพัฒนาการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของสถานศึกษาในกลุ่มคลองน้ำไหล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชรเขต 2. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 9(2), 52-63.
ละมูล เหล่าทอง และ ภูมิพิพัฒน์ รักพรมงคล. (2563). รูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน ระดับมัธยมศึกษา ในเขตภาคเหนือตอนล่าง. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ, 10(1), 79-92.
ลําเทียน เผ้าอาจ. (2559). การทำงานเป็นทีมของข้าราชการครูในโรงเรียนขยายโอกาส อําเภอ เมืองตราด สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด. (การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2556). รายงานประจำปี 2556 สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษากับเส้นทางการพัฒนาการศึกษาไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
สิทธิศักดิ์ เพ็ชรยิ้ม. (2563). การทำงานเป็นทีมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร).
สิริชัย นนทะศรี. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารกับการทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา).
อ้อมจันทร์ ภิรมย์ราช. (2557). แนวทางพัฒนาการทำงานเป็นทีมของบุคลากรระดับท้องถิ่น ในเขตอำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา. วารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์, 6(2), 59–92.
เอมอร แสงท้าว. (2559). แนวทางพัฒนาการทำงานเป็นทีมด้านงานวิชาการระดับปฐมวัยของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพขร).
เอริค นที เลอนอบ. (2562). การศึกษาบทบาทการทำงานเป็นทีมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี).
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and psychological measurement, 30(3), 607-610.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.