ผลของการใช้แนวคิดชุมชนแห่งการสืบเสาะทางปรัชญาร่วมกับวิธีสอนแบบอภิปราย เพื่อส่งเสริมความตระหนักรู้เรื่องความเป็นพลเมืองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
คำสำคัญ:
แนวคิดชุมชนแห่งการสืบเสาะทางปรัชญา, ความตระหนักรู้ความเป็นพลเมือง, นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อเปรียบเทียบความตระหนักรู้เรื่องความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยของนักเรียนก่อนและหลังจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยแนวคิดชุมชนแห่งการสืบเสาะทางปรัชญาร่วมกับวิธีสอนแบบอภิปราย และ (2) เพื่อเปรียบเทียบความตระหนักรู้เรื่องความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยของนักเรียนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม หลังจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยแนวคิดชุมชนแห่งการสืบเสาะทางปรัชญาร่วมกับวิธีสอนแบบอภิปราย กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนวัดบางเดื่อ จำนวน 26 คน (กลุ่มทดลอง) และนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/2 โรงเรียนวัดบางเดื่อ จำนวน 26 คน (กลุ่มควบคุม) โดยใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เนื่องจากกลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 ห้องไม่แตกต่างกัน มีการคละความสามารถกันอยู่แล้ว เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยแนวคิดชุมชนแห่งการสืบเสาะทางปรัชญาร่วมกับวิธีสอนแบบอภิปราย 2) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ 3) แบบทดสอบวัดความตระหนักรู้เรื่องความเป็นพลเมือง เป็นข้อคำถามแบบอัตนัย และกำหนดเกณฑ์การให้คะแนน 4) แบบสัมภาษณ์ความตระหนักรู้เรื่องความเป็นพลเมือง เป็นข้อคำถามแบบปลายเปิด 5) แบบสอบถามความตระหนักรู้เรื่องความเป็นพลเมือง เป็นข้อคำถามแบบปลายปิด และเป็นมาตราส่วนประมาณค่าระดับคะแนนการปฏิบัติ 5 ระดับ สถิติและเทคนิคที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า หลังการเรียนรู้ด้วยแนวคิดชุมชนแห่งการสืบเสาะทางปรัชญาร่วมกับวิธีสอนแบบอภิปรายของนักเรียนกลุ่มทดลอง นักเรียนมีความตระหนักรู้เรื่องความเป็นพลเมืองสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และหลังการจัดกิจกรรมเรียนรู้นักเรียนกลุ่มทดลองมีความตระหนักรู้เรื่องความเป็นพลเมืองสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
ดรุณศักดิ์ ตติยะลาภะ, ภิศักดิ์ กัลยาณมิตร และ เอก ศรีเชลียง. (2560). การศึกษาสร้างตัวแบบสภาพลเมืองจังหวัดปทุมธานีสู่ความเข้มแข็งประชาธิปไตยไทย. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 12(1), 231-245.
ทิศนา แขมมณี. (2564). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประพล มิลินทจินดา. (2542). ความตระหนักในปัญหาสิ่งแวดล้อมของสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดเพชรบุรี. (ศิปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).
ปัทมศิริ ธีรานุรักษ์. (2544). ผลของการใช้กระบวนการเรียนการสอนตามแนวการสอนแบบชุมชนแห่งการสืบสอบเชิงปรัชญาที่มีต่อทักษะการคิดของเด็กชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. (ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์. (2562). ครูไทยต้องเปลี่ยนจุดเน้น จากเนื้อหาวิชา สู่ทักษะ “การคิด” สิ่งสำคัญของการสอนในศตวรรษที่ 21. สืบค้น 2 มิถุนายน 2563. จาก https://educathai.com/knowledge/articles/65.
สถาบันนโยบายการศึกษา. (2551). รายงานการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง วัฒนธรรมพลเมือง. สืบค้น 15 มกราคม 2563. จาก http://www.fpps.or.th/news.php?detail=n1227937604.news.
สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน. (2563). เปิด6อุปสรรคการทำงานของครูไทย. สืบค้น 2 มิถุนายน 2563. จาก https://www.isranews.org/component/content/article/18823-เปิด6อุปสรรคการทำงานของครูไทย.html.
สิริเพ็ญ พิริยจิตรกรกิจ. (2562). Philosophy For Children เด็กคิดไม่ได้หรือผู้ใหญ่ไม่ยอมให้คิด. สืบค้น 30 พฤษภาคม 2563. จาก https://prachatai.com/journal/2019/08/84021.
Alivernini, F., & Manganelli, S. (2011). Is there a relationship between openness in classroom discussion and students’ knowledge in civic and citizenship education?. Procedia-Social and Behavioral Sciences, 15, 3441-3445.
Lipman, M. (2003). Thinking in education. Cambridge: Cambridge university press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.