ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอนที่มีต่อทักษะการรู้เท่าทันสื่อ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

ผู้แต่ง

  • โณทัย ทองคำนุช ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประเทศไทย
  • ฉัตรวรรณ์ ลัญฉวรรธนะกร ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประเทศไทย

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน, ทักษะการรู้เท่าทันสื่อ, นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการรู้เท่าทันสื่อก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และ (2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการรู้เท่าทันสื่อของนักเรียนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมหลังการใช้การจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/1 โรงเรียนวัดบ้านสร้าง จำนวน 30 คน (กลุ่มทดลอง) และนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/2 โรงเรียนวัดบ้านสร้าง จำนวน 30 คน (กลุ่มควบคุม) โดยใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1)เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการ 5 ขั้นตอน และแผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบทักษะการรู้เท่าทันสื่อ และแบบสังเกตทักษะการรู้เท่าทันสื่อ สถิติที่ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ค่าเฉลี่ย ร้อยละ การทดสอบค่าที และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอนมีทักษะการรู้เท่าทันสื่อหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอนมีทักษะการรู้เท่าทันสื่อหลังเรียนสูงกว่านักเรียนที่เรียนด้วยวิธีปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กิตติพงษ์ แบสิ่ว. (2561). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านวิเคราะห์บทอ่านร้อยแก้ว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้กระบวนการ 5 ขั้น ร่วมกับกลวิธีแผนภูมิความหมาย. (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).

ชนิกานต์ ศรีทองสุข. (2561). การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์และมโนทัศน์ทางภูมิศาสตร์ทวีปยุโรป ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ด้วยกระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอนร่วมกับอินโฟกราฟิก. (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).

พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2556). กระบวนการสร้างระบบการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง ใน เอกสารในการอบรมและพัฒนาครูโดยใช้กระบวนการสร้างระบบ การชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง(Coaching และ Mentoring). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และ พเยาว์ ยินดีสุข. (2561). การเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลังกับ PLC เพื่อการพัฒนา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภัทริกา วงศ์อนันต์นนท์. (2557). พฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของเด็กและเยาวชน. วารสารพยาบาลทหารบก, 15(2), 173–178.

ยงยุทธ อังคสัญญลักษณ์. (2559). ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้กระบวนการ 5 ขั้น ที่มีต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์และทัศนคติการเรียนรู้เชิงรุกของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เรวณี ชัยเชาวรัตน์ และ นนทสรวง กลีบผึ้ง. (2560). โครงการพัฒนาตัวบ่งชี้การรู้เท่าทันสื่อสารสนเทศ และดิจิทัล (MIDL) ระดับบุคคลเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองในระบบประชาธปไตยในระดับประถมศึกษา (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.).

สาริศา จันทรอำพร และ มฤษฎ์ แก้วจินดา. (2559). ภาวการณ์ปัจจุบัน กับการเสริมสร้างการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ในวัยรุ่น. วารสารบัณฑิตศึกษา, 10(1), 83-93.

สำนักเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม. (2558). เด็กไทยรู้เท่าทันสื่อ ฉลาดรู้ ฉลาดเลือก. กรุงเทพฯ: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

อุลิชษา ครุฑะเสน. (2556). แนวทางการพัฒนากระบวนการเรียนรู้เท่าทันสื่อของแกนนำเยาวชน. Veridian E-Journal, 6(3), 276-285.

Sidekli, S. (2013). Media Literacy: Perspective from elementary school children s views. International Journal of Academic Research, 5(2), 201-210.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-09-23