แนวทางการจัดการชั้นเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนดงกลางพัฒนศึกษา อำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • ฉัตริน บุญบรรจง นักศึกษาปริญญาโท สาขาบริหารธุรกิจ วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประเทศไทย
  • รุจิรัตน์ พัฒนถาบุตร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประเทศไทย

คำสำคัญ:

แนวทางการจัดการชั้นเรียน, กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม, โรงเรียนดงกลางพัฒนศึกษา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษา นิยาม และให้ความหมายองค์ประกอบของการจัดการชั้นเรียนระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนดงกลางพัฒนศึกษา อำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์ และ (2) เพื่อเสนอแนวทางการจัดการชั้นเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนดงกลางพัฒนศึกษา อำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยเป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธี (Mixed Methods Research) ด้วยการวิจัยเอกสาร การสำรวจความคิดเห็น การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ และการการระดมสมอง ซึ่งมีกลุ่มประชากรที่ศึกษา 3 กลุ่ม คือ นักเรียนโรงเรียนดงกลางพัฒนศึกษา 149 คน ผู้ปกครองนักเรียน 149 คน บุคลากรโรงเรียนดงกลางพัฒนศึกษา 16 คน รวมทั้งสิ้น 314 คน ผลการศึกษาพบว่า ตัวแปรสังเกตได้ของการจัดการชั้นเรียนระดับมัธยมศึกษาที่พบบ่อยมีทั้งสิ้น 35 ตัวแปร สามารถจัดกลุ่มองค์ประกอบใหม่ได้ 8 กลุ่ม ซึ่งสามารถนิยามและให้ความหมายองค์ประกอบใหม่ได้ ดังนี้ ระบบการเรียนรู้, สิ่งอำนวยความสะดวกการเรียนรู้, การสนับสนุนการเรียนรู้, ความร่วมมือเพื่อการเรียนรู้, นักเรียนพร้อมเรียนรู้, ความสามารถในการเรียนรู้, ความสัมพันธ์ทางสังคมเพื่อการเรียนรู้ และชุมชนสังคมการเรียนรู้ กลุ่มองค์ประกอบใหม่ทั้ง 8 กลุ่ม สามารถนำมาพัฒนาเป็นแนวทางการจัดการชั้นเรียนที่เหมาะสมกับบริบทและเป็นเอกลักษณ์ของโรงเรียนดงกลางพัฒนศึกษาได้ในชื่อว่า “SRC-CLASS” ระบบการจัดการชั้นเรียน ที่ช่วยให้นักเรียนฉลาดรู้ เหมาะสมคู่สังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งสามารถอธิบายการจัดการชั้นเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนดงกลางพัฒนศึกษา อำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้ร้อยละ 60.743

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดฯ ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

การศึกษาไทยและครูชั้นวิชาชีพในสังคมไทย. (2559). วิวัฒนาการของการศึกษาโลกและการศึกษาไทย. สืบค้น 16 สิงหาคม 2566. จาก https://tanissara.wordpress.com.

กีรติ คุวสานนท์ และ ภาวิณี โสธายะเพ็ชร. (2566). ที่ศึกษาการส่งเสริมองค์ประกอบตามแนวคิดผู้เรียนเป็นสําคัญเพื่อการพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 21(1), 11-20.

คุณาธิป จำปานิล. (2560). ปัจจัยพหุระดับด้านนวัตกรรมที่ส่งผลต่อสมรรถนะของครูในการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 11(3), 25-35.

จิรกานต์ สุภสร. (2562). ตัวบ่งชี้การบริหารห้องเรียนคุณภาพเพื่อการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษา. Veridian E-Journal มหาวิทยาลัยศิลปากร, 12(3), 199-216.

ชนันภรณ์ อารีกุล. (2562). องค์ประกอบความเป็นครูในศตวรรษที่ ๒๑ บนพื้นฐานของจรรยาบรรณวิชาชีพเชิงพุทธบูรณาการ. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์, 15(2), 153-164.

ทีดีอาร์ไอ. (2558). แนวทางแก้ไขปัญหาโรงเรียนขนาดเล็ก. สืบค้น 25 พฤศจิกายน 2566. จาก http://tdri.or.th/publications/wb113/.

พระครูสิริธรรมนิเทศ, พระครูวิภัชธรรมวิจิตร และ จักรี บางประเสริฐ. (2563). การจัดการชั้นเรียนในยุคการศึกษาเปลี่ยนแปลง. วารสารสิรินธรปริทรรศน์, 21(2), 369-376.

พระมหาประยุทธ์ ปยุตฺโต (ยาวิชัย), พระครูศรีสุธรรมนิวิฐ และวรกฤต เถื่อนช้าง. (2564). การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการในชั้นเรียน. Journal of Roi Kaensarn Academi, 6(12), 229-341.

ภานุมาศ หมอสินธ์, ณัฐวุฒิ ขาวสะอาด, สุวิมล อิสริยานนท์, อินทิรา มุงเมือง และ กานดา สุขทุม. (2564). พระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์กับการผลิตสื่อการสอนออนไลน์. วารสารวิชาการสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิกสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(2), 464-473.

โรงเรียนดงกลางพัฒนศึกษา. (2565). ข้อมูลทั่วไปและประวัติ โรงเรียนดงกลางพัฒนศึกษา. สืบค้น 13 สิงหาคม 2566. จาก https://data.bopp-obec.info.

ศิวนิต อรรถวุฒิกุล, ประกอบ กรณีกิจ และ ศยามน อินสะอาด. (2558). พฤติกรรมและปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของครูในภูมิภาคตะวันตก. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 35(3), 1-21.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสาระภูมิศาสตร์ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สุวดี อุปปินใจ และ พูนชัย ยาวิราช. (2562). การจัดการชั้นเรียนยุคดิจิทัล. วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย, 1(4), 51-65.

อดุลย์ วังศรีคูณ. (2557). การศึกษาไทยในศตวรรษที่ 21: ผลผลิตและแนวทางการพัฒนา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 8(1), 1-17.

อุไร จุ้ยกำจร. (2557). การประเมินการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิชาชีพตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

เอกชัย อุทรักษ์. (2561). ปัจจัยพหุระดับที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการจัดการเรียนการสอนของครูในโรงเรียนสังกัดสํานักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 12(3), 11-23.

Comrey, A. L., & Lee, H. B. (1992). A First Course in Factor Analysis. (2nd ed.). New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates.

Likert, S. (1961). New patterns of management. New York: McGraw-Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-28