การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารงานงบประมาณ โดยใช้คู่มือเบิกจ่ายเงินอิเล็กทรอนิกส์ของโรงเรียนพนมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร

ผู้แต่ง

  • เบญจวรรณ ทองเสน สาขาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ประเทศไทย
  • มัทนียา พงศ์สุวรรณ สาขาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ประเทศไทย
  • จิรศักดิ์ แซ่โค้ว สาขาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ประเทศไทย

คำสำคัญ:

การเบิกจ่ายเงิน, การบริหารงานงบประมาณ, คู่มืออิเล็กทรอนิกส์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาปัญหาการเบิกจ่ายเงินและความต้องการรายละเอียดของคู่มือเบิกจ่ายเงินอิเล็กทรอนิกส์ของโรงเรียนพนมศึกษา (2) เพื่อสร้างและพัฒนาคู่มือเบิกจ่ายเงินอิเล็กทรอนิกส์ของโรงเรียนพนมศึกษา และ (3) เพื่อประเมินประสิทธิภาพการใช้คู่มือเบิกจ่ายเงินอิเล็กทรอนิกส์ของโรงเรียนพนมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร ใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนา ประชากรที่ใช้ ได้แก่ ผู้บริหาร ครู และบุคลากรของโรงเรียนพนมศึกษา จำนวน 50 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร ครู และบุคลากรของโรงเรียนพนมศึกษา จำนวน 12 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง โดยใช้เกณฑ์ประสบการณ์ทำงานในสถานศึกษาแห่งนี้ตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไปเครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับปัญหาและความต้องการรายละเอียดคู่มือ คู่มือเบิกจ่ายเงินอิเล็กทรอนิกส์ของโรงเรียนพนมศึกษา แบบสอบถามประเมินความพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า ด้านที่มีปัญหามากที่สุด คือ การเบิกค่าใช้จ่ายเดินทางไปราชการ รองลงมาคือ การเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล ค่าศึกษาบุตร และค่าสาธารณูปโภค ส่วนความต้องการรายละเอียดของคู่มือเบิกจ่ายเงินอิเล็กทรอนิกส์ พบว่า การเบิกค่าใช้จ่ายเดินทางไปราชการ มีความต้องการมากที่สุด รองลงมาคือ การเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล ค่าสาธารณูปโภค และค่าศึกษาบุตร ผลการพัฒนาคู่มือเบิกจ่ายเงินอิเล็กทรอนิกส์ ประกอบด้วย การเบิกค่าใช้จ่ายเดินทางไปราชการ ค่าสาธารณูปโภค ค่ารักษาพยาบาล ค่าศึกษาบุตร ผลการตรวจสอบคู่มือโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน พบว่า มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ระหว่าง 0.80 -1.00 และ ประสิทธิภาพการใช้คู่มือการเบิกจ่ายเงินอิเล็กทรอนิกส์ ด้านความถูกต้องในการเบิกจ่ายเงิน พบว่า การเบิกค่าสาธารณูปโภค มีความถูกต้องมากที่สุด รองลงมาคือการเบิกค่าใช้จ่ายเดินทางไปราชการ ค่ารักษาพยาบาล และค่าการศึกษาบุตร ส่วนความพึงพอใจที่มีต่อคู่มือเบิกจ่ายเงินอิเล็กทรอนิกส์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับจากมากไปน้อย คือ ด้านรูปแบบ ด้านการนำไปใช้ และด้านเนื้อหา

References

กรมบัญชีกลาง. (2557). คู่มือการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร. กรุงเทพฯ: คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.

จันทร์จิรา โชติพิบูลย์ และ สุรางคนา มัณยานนท์. (2565). การบริหารงานด้านงบประมาณโรงเรียนในสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 2(1), 17-30.

จารุวรรณ มาแต้ม. (2561). การบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1. (การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).

ณฐพัฒน์ ถุงพลอย. (2563). การพัฒนาคู่มือการบริหารกิจการนักเรียนของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11 ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี).

ตุลยภาค ตุยาสัย และ พัชรีวรรณ กิจมี. (2561). การบริหารงบประมาณแบบมุงเนนผลงานของโรงเรียนประถมศึกษา : แนวทางสําหรับการบริหารงานงบประมาณของโรงเรียนประถมศึกษา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, 12(Supplemen), 98-112.

ถิรฉัตร คงจันทร์. (2562). การพัฒนาคู่มือการเบิกค่าใช้จ่าย ในการเดินทางไปราชการภายในประเทศ. ภูเก็ต: กลุ่มบริหารงบประมาณโรงเรียนสตรีภูเก็ต สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 14.

ปิยะวรรณ เวชสุวรรณ. (2563). การพัฒนาคู่มือการใช้งานโปรแกรมการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการบริหารของโรงเรียนสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี).

พระราชกฤษฎีกาสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. 2553 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2.(2553, 2 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 127 (ตอนที่ 23 ก), 2-5.

พัชรินทร์ จันทร์แจ้ง. (2560). การพัฒนาคู่มือการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการจัดโครงการบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. Mahidol R2R e-Journal, 4(1), 114-123.

เพชรรัตน์ บัวอินทร์. (2563). การพัฒนาคู่มือครูนิเทศในสถานประกอบการ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จังหวัดชุมพร. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี).

เพ็ญพรรณ บางอร. (2562). แนวทางการบริหารจัดการระบบบริหารงานงบประมาณของโรงเรียนสบเมยวิทยาคม อำเภอสบเมยจังหวัดแม่ฮ่องสอน. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่).

โรงเรียนพนมศึกษา. (2564). รายงานประจำปี ปีการศึกษา 2564. สุราษฎร์ธานี: โรงเรียนพนมศึกษา.

วรปภา อารีราษฎร์. (2558). การพัฒนานวัตกรรมระบบการจัดกลุ่มสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการเรียนรู้. (ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร).

สถาบันดำรงราชานุภาพ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย. (2559). ปัญหาที่พบบ่อยในการตรวจสอบการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ. กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์ จำกัด.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). คู่มือการใช้เงินอุดหนุนของสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2556). คู่มือการบริหารโรงเรียนในโครงการพัฒนาการบริหารรูปแบบนิติบุคคล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานปีงบประมาณ พ.ศ. 2562. สืบค้น 20 มีนาคม 2565. จาก https://www.obec. go.th/archives/12738.

สุเทพ ไชยวุฒิ. (2560). การพัฒนาคู่มือการบริหารจัดการงานวิชาการของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่).

สุภาพร มนคล้ำ. (2560). การพัฒนาคู่มือการเบิกจ่ายใบสั่งซื้อ/สั่งจ้าง กรณีซื้อด้วยวิธีตกลงราคาและเบิกจ่ายจากงบประมาณแผ่นดิน ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (ระบบ e-GP). Mahidol R2R e-Journal, 4(1), 259-267.

แสงเทียน จิตรโชติ. (2562). แนวทางการบริหารงบประมาณตามหลักธรรมาภิบาลสำหรับสถานศึกษาขยายโอกาส ในเขตอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ฯ, 6(1), 81-93.

Chukwu, J., Ezepue, E., Ogunji, C. V., Igba, D., & Ngozi, N. S. (2019). Impact of Budget Preparation and Implemenation on Secondary School Administration in South-East States, Nigeria. International Journal of Applied Environmental Sciences, 14(4), 367–382.

Maisaroh, S., Ph, S., & Hadi, S. (2019). The Budget Planning Determinant Factors at State Primary Schools in Yogyakarta Province. International Journal of Instruction, 12(2), 353–368.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28