มูลเหตุจูงใจในการเข้าสู่วงจรยาเสพติดของผู้ต้องขังคดียาเสพติดในเรือนจำ : กรณีศึกษากลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2 และจังหวัดบึงกาฬ

ผู้แต่ง

  • กฤษฎา จุลขันธ์ สาขาวิชาการจัดภาครัฐและเอกชน คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม ประเทศไทย
  • อภิกนิษฐา นาเลาห์ สาขาวิชาการจัดภาครัฐและเอกชน คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม ประเทศไทย
  • กชกร เดชะคำภู สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม ประเทศไทย

คำสำคัญ:

มูลเหตุจูงใจ, วงจรยาเสพติด, ผู้ต้องขังคดียาเสพติด, เรือนจำ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับมูลเหตุจูงใจในการเข้าสู่วงจรยาเสพติด (2) ระดับความรู้เรื่องโทษของยาเสพติด (3) ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ที่มีความสัมพันธ์กับมูลเหตุจูงใจ และ (4) แนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเข้าสู่วงจรยาเสพติดของผู้ต้องขังคดียาเสพติดในเรือนจำ เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม ผู้ต้องขัง 381 คน แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 28 คน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐาน โดยใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า ระดับมูลเหตุจูงใจในการเข้าสู่วงจรยาเสพติด อยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ ความอยากรู้อยากลอง ครอบครัวไม่อบอุ่น การชักชวนจากเพื่อน ยาเสพติดหาได้ง่าย ความยากจน การว่างงาน การซื้อ-ขายผ่านสื่อออนไลน์สะดวกรวดเร็ว ระดับความรู้เรื่องโทษของยาเสพติด อยู่ในระดับมาก ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์มีความสัมพันธ์กับมูลเหตุจูงใจในการเข้าสู่วงจรยาเสพติด และแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเข้าสู่วงจรยาเสพติด ต้องแก้ไขตามมูลเหตุจูงใจในการเข้าสู่วงจรยาเสพติด สังคมควรให้โอกาส คนในชุมชนต้องมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหา เจ้าหน้าที่ของรัฐต้องซื่อสัตย์สุจริต ต้องเข้มงวดกวดขันทางกฎหมาย ควรนำพืชกระท่อมและกัญชากลับเข้าสู่ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ เป็นสาเหตุของการก่ออาชญากรรม

References

กนิษฐา ไทยกล้า. (2565). รายงานฉบับสมบูรณ์ ตลาดการค้ายาเสพติดในประเทศไทย. เชียงใหม่: สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

กรรณทิวา มุณีแนม. (2562). ศึกษาแนวทางแก้ไขปัญหายาเสพติดโดยผู้นำชุมชนและประชาชนในพื้นที่ตำบลบาราเฮาะ. (รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์).

กระทรวงยุติธรรม. (2564). รายงานผลการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติดประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด.

กระทรวงสาธารณสุข. (2564). แผนยุทธศาสตร์ด้านการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ป่วยยาเสพติด กระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564-2566. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

ดาวเรือง หงษา. (2564). รวมกฎหมายราชทัณฑ์และระเบียบที่เกี่ยว้ของ. สืบค้น 10 กรกฎาคม 2565. จาก http://www.correct.go.th/popmaha/image/1small%20law.pdf.

นัฐพงษ์ นาอุดม และ ศุอวัฒนากร วงศ์ธนวสุ. (2563). สาเหตุของการติดยาเสพติด กรณีศึกษา : ชุมชนคุ้มสระบัว ตำบลในเมืองอำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด. Journal of Modern Learning Development, 5(6), 102-115.

นุชสา อินทะจักร และ สมเดช พินิจสุนทร. (2560). มูลเหตุจูงใจในการใช้ยาเสพติดของผู้ที่เข้ารับการบำบัดในโรงพยาบาลธัญญารักษ์อุดรธานี. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน, 5(3), 503–522.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ปกรณ์ ลิ้มโยธิน, เจตน์สฤษฎิ์สังขพันธ์, เก็ตถวา บุญปราการ, ชิดชนก เชิงเชาว์ และ อภิรักษ์ จันทวงศ์. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยครอบครัว ปัจจัยความรู้ และปัจจัยกลุ่มเพื่อนกับพฤติกรรมเสี่ยงใช้สารเสพติดในการจำแนกกลุ่มเพศชายและเพศหญิงของเยาวชนไทยในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. ใน การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 12 (น. 542-557). สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

พิชเยศ ชูเมือง. (2563). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเสพยาเสพติดของผู้ต้องหาคดียาเสพติด : กรณีศึกษาในพื้นที่จังหวัดสงขลา. (รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์).

วศิน สุวรรณรัตน์, ธานี วรภัทร์, สุชาดา จันทร์พรหมมา และ วิเชษฐ์ สินประสิทธิ์กุล. (2564). นโยบายและมาตรการทางกฎหมายในการลดอันตรายจากการใช้ยาเสพติดในประเทศไทย. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(12), 695-710.

สถิติผู้ต้องราชทัณฑ์. (2565). ข้อมูลรายงานจำนวนผู้ต้องขัง. สืบค้น 10 กรกฎาคม 2565. จาก http://www.correct.go.th/stathomepage.

สมนึก ภัททิยธนี. (2560). การวัดการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบยาเสพติด. (2563). แผนปฏิบัติการด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. 2563-2565. สืบค้น 10 กรกฎาคม 2565. จาก http://oncb.go.th.

สุภางค์ จันทวานิช. (2553). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ.กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-02