การศึกษาภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการพัฒนาสังคมและวัฒนธรรมท้องถิ่นของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1

ผู้แต่ง

  • จริยา อนันต์สุวรรณชัย หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยพิชญบัณฑิต ประเทศไทย

คำสำคัญ:

ผู้บริหารสถานศึกษา, ภาวะผู้นำยุคดิจิทัล, การพัฒนาสังคมและวัฒนธรรมท้องถิ่นของโรงเรียน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถาน (2) การพัฒนาสังคมและวัฒนธรรมท้องถิ่นของโรงเรียน (3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับการพัฒนาสังคมและวัฒนธรรมท้องถิ่นของโรงเรียน และ (4) ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการพัฒนาสังคมและวัฒนธรรมท้องถิ่นของโรงเรียน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1 จำนวน 306 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบมีขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาของโรงเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก การพัฒนาสังคมและวัฒนธรรมท้องถิ่นของโรงเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับการพัฒนาสังคมและวัฒนธรรมท้องถิ่นของโรงเรียน โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์กันในทางบวกอยู่ในระดับสูง (R=.744) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการพัฒนาสังคมและวัฒนธรรมท้องถิ่นของโรงเรียน ได้แก่ ด้านการเป็นพลเมืองในยุคดิจิทัล (X4) และด้านการพัฒนาระดับมืออาชีพ (X3) ได้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ .840 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีค่าสัมประสิทธิ์การทำนายหรืออำนาจพยากรณ์ ร้อยละ 70.50

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2555). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. (พิมพ์ครั้งที่ 20). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จารุนันท์ ผิวผาง, ทัศนา ประสานตรี และ สุมาลี ศรีพุทธรินทร์. (2564). ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลที่ส่งผลต่อการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการบริหารจัดการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2. วารสารรัชต์ภาคย์, 15(39), 96-108.

จิณณวัตร ปะโคทัง. (2561). ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลสำหรับผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ. อุบลราชธานี: ศิริธรรมออฟเซ็ท.

ต้องลักษณ์ บุญธรรม. (2559). การเป็นผู้นำยุคเศรษฐกิจดิจิทัลกับการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์กรทางการศึกษา. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรมพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 7(1), 217-225.

ตะวัน วรรณสินธ์. (2563). สภาพการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น สำหรับโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดอุบลราชธานี. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี).

นรรนธวรรณ หมอเก่ง. (2563). การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่นของสถานศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่. (การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยพะเยา).

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1. (2565). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. หนองบัวลำภู: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2561). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุธาสินี สุริยา. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 2. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ).

สุภวัช เชาวน์เกษม. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1. (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).

Krejcie, R.V., & D.W. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.

Likert, R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. In Reading in Fishbeic, M (Ed.), Attitude Theory and Measurement (pp. 90-95). New York: Wiley & Son.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-28