ผลกระทบเชิงเศรษฐกิจของโรค COVID-19 ที่มีต่อธุรกิจร้านอาหารขนาดย่อย ขนาดย่อม และขนาดกลางในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ชยุตม์ วะนา สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ประเทศไทย

คำสำคัญ:

ธุรกิจร้านอาหาร, ธุรกิจขนาดย่อย ขนาดย่อม และขนาดกลาง, ตารางปัจจัยการผลิต – ผลผลิต

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาโครงสร้างต้นทุนและการกระจายผลผลิตของอุตสาหกรรมร้านอาหารขนาดย่อย ขนาดย่อม และขนาดกลาง (2) เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบของโรค COVID-19 ที่มีต่ออุตสาหกรรมร้านอาหารและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง และ (3) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารจัดการร้านอาหารในช่วงการระบาดของโรค COVID-19 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานโดยใช้ข้อมูลจากตารางปัจจัยการผลิต – ผลผลิต ด้านการท่องเที่ยว ปี 2560 จากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา มาปรับด้วยข้อมูลโครงสร้างต้นทุนที่เก็บจากกลุ่มตัวอย่างร้านอาหารขนาดย่อย ขนาดย่อม และขนาดกลางในประเทศไทยที่จดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าและมีสถานะยังดำเนินกิจการอยู่ และใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้ ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง โดยการวิเคราะห์เชิงปริมาณใช้แบบจำลองปัจจัยการผลิต – ผลผลิต ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้วิธีถอดบทสนทนาจากการสัมภาษณ์แบบคำต่อคำและใช้การวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ ผลการศึกษาพบว่า สาขาที่เป็นปัจจัยการผลิตให้กับสาขาภัตตาคารและร้านอาหารที่มีสัดส่วนสูงสุด คือ สาขาการผลิตที่เป็นวัตถุดิบสำหรับทำอาหาร สาขาด้านสาธารณูปโภคพื้นฐาน และสาขาซึ่งเป็นแหล่งทุนของภัตตาคารและร้านอาหาร ในขณะที่สาขาภัตตาคารและร้านอาหารกระจายผลผลิตส่วนใหญ่ไปที่การอุปโภคและบริโภคของครัวเรือน การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ส่งผลกระทบต่อมูลค่าการผลิตสินค้าและบริการของสาขาภัตตาคารและร้านอาหารมากที่สุด รองลงมาเป็นสาขาการผลิตต้นน้ำของสาขาภัตตาคารและร้านอาหาร และยังกระทบไปถึงสาขาการผลิตที่เป็นปัจจัยการผลิตขั้นกลางของสาขาการผลิตต้นน้ำดังกล่าวอีกที แนวทางการบริหารจัดการร้านอาหารในช่วงการระบาดของโรค COVID-19 จะเน้นไปที่กลยุทธ์ทางการตลาดออนไลน์ และการบริหารจัดการที่คำนึงถึงความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดของธุรกิจภัตตาคารและร้านอาหาร องค์ความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้นคือ การวิเคราะห์แบบดุลยภาพทั่วไปสามารถนำเสนอผลการศึกษาได้ครอบคลุมทุกสาขาการผลิตที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมร้านอาหารขนาด MSME ทำให้มองเห็นภาพรวมของโครงสร้างการผลิตและผลกระทบที่เกิดขึ้นได้

References

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2565). Data Warehouse. สืบค้น 5 สิงหาคม 2565. จาก https://datawarehouse.dbd.go.th.

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2564). สถิตินักท่องเที่ยว. สืบค้น 28 กรกฎาคม 2565. จาก https://www.mots.go.th.

ขจรศักดิ์ เทพเทียมทัศน์, อัฎศณี เพียรเจริญวงศ์, วิศิษฐ์ ฤทธิบุญไชย และ วาสนา บุตรโพธิ์. (2565). การพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาด ที่ส่งผลกระทบ และการปรับตัวของร้านอาหารในจังหวัดนครปฐม ภายใต้สถานการณ์โควิด 19. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 14 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม “วิจัยสร้าง Innovation and Technology เพื่อรองรับสังคมไทยสู่ยุค Digital World” (น. 1788–1802). นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

จตุรงค์ กอบแก้ว. (2564). ร้านอาหารยุคโควิดระลอก 3 จะเหลือรอดสักกี่ราย. สืบค้น 10 พฤษภาคม 2566. จาก https://www.salika.co/2021/05/04/restaurant-business-covid-19-crisis/.

ญาณิศา เผื่อนเพาะ. (2561). ประเภทของร้านอาหาร กับคุณลักษณะผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จ ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. Veridian E-Journal, 11(1), 303–321.

ศุภริน เจริญพานิช. (2564). บทวิเคราะห์ธุรกิจ SMEs สาขาธุรกิจร้านอาหาร. สืบค้น 17 พฤษภาคม 2566. จาก https://www.sme.go.th/upload/mod_download/download-20210909160132.pdf.

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2564). รายงานสถานการณ์ MSMEs ปี 2563. สืบค้น 31 กรกฎาคม 2565. จาก https://www.sme.go.th.

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2565). รายงานสถานการณ์ MSMEs ปี 2564. สืบค้น 31 กรกฎาคม 2565. จาก https://www.sme.go.th.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2564). สถิติการท่องเที่ยว. สืบค้น 31 กรกฎาคม 2565. จาก http://service.nso.go.th.

เสาวณี จันทะพงษ์ และ เจริญชัย เอกมาไพศาล. (2564). ผลกระทบและการปรับตัว (Resilience) ของผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมและร้านอาหารช่วงโควิด-19: วิเคราะห์จากหลักคิด Outside-In. สืบค้น 27 เมษายน 2566. จาก https://www.bot.or.th/th/research-and-publications/.

Chen, R., Chaiboonsri, C., & Wannapan, S. (2021). The perspective of Thailand economy after the effect of Coronavirus-19 pandemics: Explication by dynamic IO models and agent-based simulations. SAGE Open, 11(2), 1–17.

De Freitas, R. S. G., & Stedefeldt, E. (2020). COVID-19 pandemic underlines the need to build resilience in commercial restaurants’ food safety. Food Research International, 136, 109472.

Dominic, G. (2009). From Marketing Mix to E-Marketing Mix: A Literature Review. International Journal of Business and Management, 9(4), 17–24.

FAO (Food and Agriculture Organization of the United Nations). (2020c). COVID-19 and the risk to food supply chains: How to respond? Retrieved 8 August 2023. from http://www.fao.org/3/ca8388en/CA8388EN.pdf.

Hair, J., Black, W., Babin, B., & Anderson, R. (2009). Multivariate data analysis. London: Prentice Hall.

Hobbs, J. E. (2020). Food supply chains during the COVID‐19 pandemic. Canadian Journal of Agricultural Economics/Revue canadienne d'agroeconomie, 68(2), 171-176.

Hubbard, G. (2009). Measuring organizational performance: beyond the triple bottom line. Business strategy and the environment, 18(3), 177-191.

Kenan Institute Asia. (2010). The ASEAN SME Regional Development Fund Conceptual Framework. Bangkok: Kenan Foundation Asia.

Kim, J., Kim, J., & Wang, Y. (2021). Uncertainty risks and strategic reaction of restaurant firms amid COVID-19: Evidence from China. International Journal of Hospitality Management, 92, 102752.

Madeira, A., Palrão, T., & Mendes, A. S. (2020). The impact of pandemic crisis on the restaurant business. Sustainability, 13(1), 40.

Malahayati, M, Masui, T., & Anggraeni, L. (2021). An assessment of the short-term impact of COVID-19 on economics and the environment: A case study of Indonesia. EconomiA, 22(3), 291–313.

Messabia, N., Fomib, P.R., & Kooli, C. (2022). Managing restaurants during the COVID-19 crisis: Innovating to survive and prosper. Journal of Innovation & Knowledge, 7(4), 1–9.

Miles, R.E., & Snow, C.C. (1978). Organizational Strategy, Structure, and Process. New York: McGraw-Hill.

Normann, R. (2001). Reframing Business: When the Map Changes the Landscape. Chichester: Wiley.

Savitz, A.W., & K. Weber (2006). How today's best-run companies are achieving economic, social, and environment success-and how you can too. San Fransisco: Jossey-Bass A Wiley Imprint.

Segschneider, K.H. (2002). Debating Limits to Sustainable Development?: A Case Study of Thailand from a Cultural Perspective on Sustainable Development in Southeast Asia. Bangkok: Heinrich Boll Foundation.

Stephens, E C, Martin, G, van Wijk, M, Timsina, J, & Snow, V. (2020). Editorial: impacts of COVID-19 on agricultural and food systems worldwide and on progress to the sustainable development goals. Agricultural Systems, 183, 102873.

Thomas, M. & Crane, E. (2022). Impact of coronavirus (COVID-19) using Input-Output Supply and Use Tables, UK: 2019 to 2020. Retrieved 20 November 2023. from https://www.ons.gov.uk/.

Toh, M. H. (1998). The RAS Approach in Updating Input–Output Matrices: An Instrumental Variable Interpretation and Analysis of Structural Change, Economic Systems Research, 10(1), 63–78.

United Nations. (2018). Handbook on Supply and Use Tables and Input-Output Tables with Extensions and Applications. Retrieved 13 August 2023. from https://unstats.un.org/unsd/nationalaccount/docs/SUT_IOT_HB_Final_Cover.pdf.

Wana, C. (2014). Impact of EU-ASEAN trade liberalisation on food security in ASEAN. (Dissertation of Doctoral of Philosophy in Economics, University of Limerick).

World Health Organization Thailand. (2023). WHO Thailand weekly situation update No. 261. Retrieved 7 July 2023. from https://cdn.who.int/media/docs/default-source/searo/thailand/2023_04_11_tha-sitrep-261-covid-19.pdf?sfvrsn=550d95e8_1.

Yudelson, J. (1999). Adapting Mccarthy’s Four P’s for the Twenty-First Century. Journal of Marketing Education, 21(1), 60-67.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-13