การเปรียบเทียบต้นทุนและผลตอบแทนของการเพาะปลูกอ้อยระหว่างการใช้ปุ๋ยควบคุมการปลดปล่อยกับปุ๋ยทั่วไป
คำสำคัญ:
ปุ๋ยควบคุมการปลดปล่อย, เกษตรกรผู้ปลูกอ้อย, ต้นทุนและผลตอบแทนบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของเกษตรกรตัวอย่างในจังหวัดสุพรรณบุรี และ (2) เพื่อเปรียบเทียบต้นทุนและผลตอบแทนของการใช้และไม่ใช้ปุ๋ยควบคุมการปลดปล่อยในจังหวัดสุพรรณบุรี ตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงจากเกษตรกรที่ใช้และไม่ใช้ปุ๋ยควบคุมการปลดปล่อยในรายเดียวกันจำนวน 25 ราย ผู้วิจัยใช้สถิติเชิงพรรณนา ค่าความถี่ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย รวมถึงใช้สถิติเชิงอนุมาน (T-test) เพื่อทดสอบสมมติฐาน ผลการศึกษาพบว่า แปลงที่ใช้ปุ๋ยควบคุมการปลดปล่อยมีต้นทุนทั้งหมด ต้นทุนค่าปุ๋ยเคมี และต้นทุนค่าแรงงานใส่ปุ๋ยต่ำกว่าแปลงที่ไม่ใช้ปุ๋ยควบคุมการปลดปล่อยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 99 นอกจากนี้แปลงที่ใช้ปุ๋ยควบคุมการปลดปล่อยยังใช้ผลผลิตเฉลี่ยอ้อยต่อไร่สูงกว่าแปลงที่ไม่ใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 99 เช่นกัน โดยมีความแตกต่างถึง 2.14 ตันต่อไร่ ในภาพรวมจะเห็นว่าการผลิตอ้อยในแปลงที่ใช้ปุ๋ยควบคุมการปลดปล่อยเกษตรกรจะมีรายได้เหนือต้นทุนทั้งหมด 7,516.27 บาทต่อไร่ ในขณะที่การผลิตอ้อยในแปลงที่ไม่ใช้ปุ๋ยควบคุมการปลดปล่อยเกษตรกรจะได้รายได้เหนือต้นทุนทั้งหมดเพียง 3,745.41 บาทต่อไร่ จึงสรุปได้ว่าการใช้ปุ๋ยควบคุมการปลดปล่อยทำให้เกษตรกรได้กำไรเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น ควรมีการส่งเสริมการใช้ปุ๋ยควบคุมการปลดปล่อยในวงกว้าง
References
กรมส่งเสริมการเกษตร. (2551). อ้อย: คู่มือนักส่งเสริมการเกษตร. กรุงเทพฯ: สำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร.
จักรกฤษณ์ พจนศิลป์. (2563). การวิเคราะห์ผลกระทบการผลิตอ้อยจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายและสภาพแวดล้อมการผลิต (รายงานฉบับสมบูรณ์). กรุงเทพฯ: คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ธนาภรณ์ อธิปัญญากุล, จักรกฤษณ์ พจนศิลป์ และ นภสม สินเพิ่มสุขสกุล. (2563). แผนงานวิจัยการผลิตอ้อยอย่างยั่งยืนภายใต้ความเสี่ยงและความไม่แน่นอน (รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์). กรุงเทพฯ: คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
นาวา ทวิชาโรดม, ปิยะ ดวงพัตรา, ปิติ กันตังกุล และ จุฑามาศ ร่มแก้ว. (2562). ประสิทธิผลทางการเกษตรและความคุ้มค่าในทางเศรษฐกิจของปุ๋ยเคมีเคลือบด้วยวัสดุนาโนที่ควบคุมการปลดปล่อยในอ้อย. แก่นเกษตร, 47(2), 259-270.
นิษฐา คูหะธรรมคุณ และ สายันต์ แสงสุวรรณ. (2560). ปุ๋ยควบคุมการปลดปล่อยยูเรียเพื่อประยุกต์ใช้ในทางเกษตรกรรม. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 19(3), 32-44.
ยงยุทธ โอสถสภา, อรรถศิษฐ์ วงศ์มณีโรจน์ และ ชวลิต ฮงประยูร. (2551). ปุ๋ยเพื่อการเกษตรยั่งยืน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สมชาย วรกิจเกษมสกุล. (2554). ระเบียบวิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคม. อุดรธานี: อักษรศิลป์การพิมพ์.
สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย. (2558). โครงการจัดทำต้นทุนผลผลิตและถ่ายทอดความรู้ เพื่อลดต้นทุนการผลิตอ้อยของเกษตรกร ในปีเพาะปลูก 2557/58 (รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย.
สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย. (2565). ต้นทุนการผลิตอ้อย ปีการผลิต 2564/65. สืบค้น 15 มีนาคม 2566. จาก http://www.ocsb.go.th/th/home/index.php.
Nicol, R.M., Ortmann, G., & Ferrer, S.R. (2007). Perceptions of key business and financial risks by large-scale sugarcane farmers in KwaZulu-Natal in a dynamic socio-political environment. Agrekon, 46, 351-370.
Zhi-hon, X. (2015). Demonstration Test of Sugarcane Controlled-release BB Fertilizer. Guangxi: Sugar Crops of China.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.