การตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์และการยอมรับเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อการตัดสินใจ ของนักท่องเที่ยวจีนในการท่องเที่ยวเมืองปักกิ่ง ประเทศจีน

ผู้แต่ง

  • XU XU นักศึกษาระดับปริญญาโท หลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ประเทศไทย
  • อนุรักษ์ อาทิตย์กวิน อาจารย์ประจำหลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ประเทศไทย

คำสำคัญ:

การตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์, การยอมรับเทคโนโลยี

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับความสำคัญของการตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์การยอมรับเทคโนโลยีและการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวจีนในการท่องเที่ยวเมืองปักกิ่งประเทศจีน (2) เพื่อศึกษาการตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ และ (3) เพื่อศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวจีนในการท่องเที่ยวเมืองปักกิ่งประเทศจีน การวิจัยเป็นเชิงปริมาณ โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มนักท่องเที่ยวชาวจีนที่เข้าสู่กรุงปักกิ่งประเทศจีน จำนวน 400 คน เครื่องมือ คือ แบบสอบถามแบบออนไลน์ โดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานวิเคราะห์วิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ ผลการศึกษาพบว่า ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยการตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ได้แก่ 1) ด้านการรับรู้ชนิดและความหลากหลายของสื่อ 2) ด้านการรับรู้ประโยชน์ของสื่อออนไลน์เพื่อการท่องเที่ยว 3) ด้านการรับรู้วิธีการใช้งานสื่อออนไลน์เพื่อการท่องเที่ยว 4) ด้านการรับรู้สิ่งดึงดูดใจของแหล่งท่องเที่ยว 5) ด้านการรับรู้วิธีการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว 6) ด้านการรับรู้จัดการและสิ่งอำนวยความสะดวกของแหล่งท่องเที่ยว 7) ด้านการรับรู้ข้อมูลการเตรียมการเพื่อการท่องเที่ยว และ 8) ด้านลักษณะข้อมูลการท่องเที่ยวที่ได้รับจากสื่อออนไลน์อยู่ในระดับมากที่สุด และมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการยอมรับเทคโนโลยีและการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวจีนในการท่องเที่ยวเมืองปักกิ่งประเทศจีนอยู่ในระดับมาก การตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวจีนในการท่องเที่ยวเมืองปักกิ่งประเทศจีน และการยอมรับเทคโนโลยีมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวจีนในการท่องเที่ยวเมืองปักกิ่งประเทศจีน

References

ชุติมา นุตยะสกุล. (2559). ปัจจัยการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยต่อการท่องเที่ยวตลาดน้ำวัดลำพญาจังหวัดนครปฐม. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 10(1), 132-150.

นฤมล เพิ่มชีวิต และ พัชนี เชยจรรยา. (2553). การแสวงหาข้อมูลการใช้ประโยชน์และความเชื่อถือในข้อมูล การท่องเที่ยวจากสื่อออนไลน์ที่ผู้บริโภคสร้างเองของคนวัยทำงาน. วารสารการประชาสัมพันธ์และการโฆษณา, 3(1), 99-121.

รัฐบาลประชาชนปักกิ่ง. (2562). บริบทแหล่งท่องเที่ยวกรุงปักกิ่ง. สืบค้น 11 มีนาคม 2566. จาก https://iao.bangkok.go.th/content-detail/12314.

วีรวรรณ แซ่จ๋าว. (2558). อิทธิพลของทัศนคติและความพึงพอใจในการเปิดรับข่าวสารจากสื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวผ่านสื่ออินเทอร์เน็ตที่มีต่อพฤติกรรมการตัดสินใจวางแผนการท่องเที่ยว. (ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).

สถาพร สิงหะ. (2556). การเปิดรับสื่อ การใช้ประโยชน์ และความพึงพอใจกับการตัดสินใจเลือกท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทย. (ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).

อรวรรณ วงศ์แก้วโพธิ์ทอง. (2553). Social Media เครื่องมือเพิ่มศักยภาพทางธุรกิจ. วารสารนักบริหาร มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 30(4), 63-69.

China Tourism Academy. (2023). นักท่องเที่ยวชาวจีนที่เข้าสู่กรุงปักกิ่งประเทศจีน. สืบค้น 11 มีนาคม 2566. จาก http://eng.ctaweb.org.cn/.

Davis, F. D. (1989). Perceived usefulness, perceived ease of use, and user acceptance of information technology. MIS Quarterly, 13(3), 319-340.

Kaur, K. (2016). Social media marketing: a tool to achieve competitive advantage. ACADEMICIA: An International Multidisciplinary Research Journal, 6(4), 334-344.

Ma, W. W., & Chan, A. (2014). Knowledge sharing and social media: Altruism, perceived online attachment motivation, and perceived online relationship commitment. Computers in human behavior, 39, 51-58.

Munar, A. M., & Jacobsen, J. K. S. (2014). Motivations for sharing tourism experiences through social media. Tourism management, 43, 46-54.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28