ความคุ้มค่าของการลงทุนเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์สถานีอัดประจุไฟฟ้าในกรุงเทพมหานคร กรณีศึกษาของสถานีบริการน้ำมันแห่งหนึ่งบนถนนสุขุมวิท
คำสำคัญ:
ยานยนต์ไฟฟ้า, สถานีอัดประจุไฟฟ้า, เครื่องอัดประจุไฟฟ้าชนิดตั้งพื้นแบบเร็วบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาความคุ้มค่าของการลงทุนเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์สถานีอัดประจุไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครกรณีศึกษาของสถานีบริการน้ำมันแห่งหนึ่งบนถนนสุขุมวิท (2) เพื่อศึกษาความอ่อนไหวของการลงทุนเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์สถานีอัดประจุไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครกรณีศึกษาของสถานีบริการน้ำมันแห่งหนึ่งบนถนนสุขุมวิท และ (3) เพื่อศึกษา จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคของการลงทุนเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์สถานีอัดประจุไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครกรณีศึกษาของสถานีบริการน้ำมันแห่งหนึ่งบนถนนสุขุมวิทเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้ข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิในการศึกษาและใช้การวิเคราะห์เชิงพรรณนาและเชิงปริมาณในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า โครงการลงทุนเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์สถานีอัดประจุไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครกรณีศึกษาของสถานีบริการน้ำมันแห่งหนึ่งบนถนนสุขุมวิทเมื่อกำหนดที่อายุโครงการ 10 ปีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ เท่ากับ 7,817,141.17 บาท อัตราผลตอบแทนภายในของโครงการเท่ากับร้อยละ 36.00 อัตราส่วนผลประโยชน์ต่อต้นทุน เท่ากับ 1.31 เท่า และมีระยะเวลาคืนทุน เท่ากับ 4.10 ปีมีผลตอบแทนโครงการสามารถลดลงได้มากสุดร้อยละ 12.20 และมีต้นทุนเงินสุทธิสามารถเพิ่มขึ้นได้มากสุดร้อยละ 16.87 ผลการวิเคราะห์การลงทุนผ่านค่าเกณฑ์ในการวัดผลทุกตัวและสามารถสรุปได้ว่ามีความคุ้มค่าแก่การลงทุนดังนั้นภาครัฐจึงควรมีนโยบายส่งเสริมการลงทุนแก่ธุรกิจสถานีอัดประจุไฟฟ้าขนาดกลางและเล็กที่มีหัวจ่ายประจุไฟฟ้าน้อยกว่า 40 หัวจ่ายเพิ่มเติมอย่างจริงจัง เพื่อให้มีสถานีอัดประจุไฟฟ้าครอบคลุมเพียงพอและสอดคล้องกับแนวโน้มการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้ารวมถึงออกมาตรการสนับสนุนอัตราค่าบริการในการชาร์จเพื่อกระตุ้นให้ผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้าออกมาใช้บริการสถานีอัดประจุไฟฟ้าแทนการชาร์จในบริเวณที่อยู่อาศัยมากยิ่งขึ้น
References
กรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม. (2565). สถิติรถจดทะเบียน. สืบค้น 10 พฤษภาคม 2565. จาก https://web.dlt.go.th/statistics/.
กรมทางหลวง. (2565). ปริมาณการเดินทางบนทางหลวงทั่วประเทศ. สืบค้น 5 มีนาคม 2565. จาก https://doh.go.th/visual/traffic.
กรมองค์การระหว่างประเทศ. (2562). ความตกลงปารีส: ก้าวสำคัญของการดำเนินการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ. สืบค้น 2 มกราคม 2566. จาก https://thai-inter-org.mfa.go.th/th.
การไฟฟ้านครหลวง. (2565). รายงานประจำปี 2564. สืบค้น 20 พฤษภาคม 2565. จาก https://www.mea.or.th/e-magazine/detail/2786/465.
คณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ. (2565). มติคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ ครั้งที่ 3/2564 และครั้งที่ 1/2565. สืบค้น 31 มกราคม 2565. จาก https://plan.prd.go.th/th/content/category/detail/id/13/iid/78711.
ณธีพัฒน์ ภูมิเดชาวัฒน์. (2562). การศึกษาความเป็นไปได้ทางเทคนิคและทางเศรษฐศาสตร์ของสถานีอัดประจุไฟฟ้าสำหรับรถยนต์โดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์. (วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).
ภูริพงษ์ รัตนสุภา. (2563). การศึกษาความคุ้มค่าของการลงทุนติดตั้งสถานีอัดประจุรถยนต์ไฟฟ้า กรณีศึกษาทางหลวงหมายเลข 7 (มอเตอร์เวย์). (เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2564). คาดการณ์ปี 2564 รถยนต์ไฟฟ้าไทยโต 69% อีก 10 ปีจะเป็นครึ่งหนึ่งของตลาด. สืบค้น 1 มิถุนายน 2564. จาก https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-social-media/Pages/xEV-FB-23-04-2021.aspx.
สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย. (2565). สถานการณ์ยานยนต์ไฟฟ้า. สืบค้น 1 กรกฎาคม 2565. จาก http://www.evat.or.th/15708256/current-status.
สำนักงานคณะกรรมการการกำกับกิจการพลังงาน. (2561). คู่มือประกอบกิจการสถานีอัดประจุไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า. สืบค้น 31 มกราคม 2565. จาก https://www.eppo.go.th/images/energyconservation/EV/EV_Manual.pdf.
สุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนงษ์. (2563). ยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าในไทยพุ่งเชื่อปีหน้าทะลุ 10,000 คัน. สืบค้น 13 กุมภาพันธ์ 2566. จาก https://www.thebangkokinsight.com/news/business/551447/.
อลงกต กันคำ และ ณัฏฐณิชา ฉายรัศมี. (2565). การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการติดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้าร่วมกับระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์. วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์, 4(4), 239-254.
อาณัติชัย คำเกษ และ พรพิพัฒน์ แก้วกล้า. (2561). การศึกษาความเป็นไปได้โครงการลงทุนการตั้งสถานีบริการชาร์จยานยนต์ไฟฟ้า : ข้อมูลเชิงเทคนิคและการเงิน. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย, 9(3), 227-235.
Autospin. (2566). ปัญหาหลักของรถยนต์ไฟฟ้าในไทย คืออะไร?. สืบค้น 1 กรกฎาคม 2566. จาก https://www.autospinn.com/2023/08/car-ev-what-is-core-problem-in-thailand-132116.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.